ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เน่ย์เก๋อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
นับแต่รัชกาล[[จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ]] (宣德帝) เป็นต้นมา สภาในเริ่มมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ในช่วงนี้ ฎีกาทั้งหลายที่กระทรวงทบวงกรมถวายต่อพระมหากษัตริย์จะต้องผ่านสภาในก่อน เมื่อได้ฎีกาแล้ว สภาในจะกลั่นกรอง แล้วลงมติตามสมควร ก่อนจะร่างมติติดปกหน้าฎีกา แล้วถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการนี้เรียกว่า "[[เพี่ยวหนี่]]" (票擬; ร่างบัตร) ซึ่งทำให้สภาในกลายเป็นสถาบันชั้นสูงสุดในการจัดทำนโยบายเหนือกระทรวงทั้งหกไปโดยปริยาย ทั้งส่งผลให้สมาชิกอาวุโสของสภา ที่เรียก "นายกผู้ช่วย" มีอำนาจเสมอเหมือนอัครมหาเสนาบดีแต่เก่าก่อน<ref>Li, 108-109.</ref>
 
==ตำแหน่ง==
 
ในราชวงศ์หมิง ข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็นเก้าชั้น แต่ชั้นแบ่งเป็นสองขั้น ชั้นแรก คือ ชั้น 1 ชั้นสุดท้าย คือ ชั้น 9<ref>Hucker, 11.</ref> เช่น ขุนนางในกลุ่ม[[สามพระยา]] (三公) อยู่ชั้น 1 ขั้น 1<ref>Hucker, p. 17.</ref> ซึ่งเท่าเทียมกับอัครมหาเสนาบดี<ref>Hucker, p. 32.</ref>
 
ตามระบบนี้ สมาชิกสภาในอยู่เพียงชั้น 5 ขั้น 1 ซึ่งนับว่าด้อยกว่าเสนาบดีที่ภายหลังยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแล้วมียศอยู่ตั้งแต่ชั้น 3 ขั้น 1 ไปจนถึงชั้น 2 ขั้น 1 ทว่า สมาชิกสภาในมักควบตำแหน่งสูงอย่างอื่นด้วย เช่น เป็นเสนาบดีหรือรองเสนาบดีในกลุ่ม[[เก้าขุนนาง]] (九卿) หรือแม้กระทั่งเป็น[[ราชครู]] (太師) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามพระยา<ref name="H30">Hucker, 30.</ref> เพราะฉะนั้น ตลอดสมัยราชวงศ์หมิง สมาชิกสภาในจึงมักมีอาวุโสยิ่งกว่าข้าราชการพลเรือนอื่นทั้งสิ้นทั้งปวง<ref name="H30"/>
 
==อ้างอิง==