ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7287392 สร้างโดย 182.232.55.101 (พูดคุย)
บรรทัด 2:
{{ใช้ปีคศ}}
[[ไฟล์:Milky Way 2005.jpg|thumb|250px|ดาราจักร[[ทางช้างเผือก]]]]
'''ดาราศาสตร์''' คือวิชา[[วิทยาศาสตร์]]ที่ศึกษา[[วัตถุท้องฟ้า]] (อาทิ [[ดาวฤกษ์]] [[ดาวเคราะห์]] [[ดาวหาง]] และ[[ดาราจักร]]) รวมทั้ง[[ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ]]ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอก[[ชั้นบรรยากาศ]]ของ[[โลก]] โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทาง[[กายภาพ]] ทาง[[เคมี]] ทาง[[อุตุนิยมวิทยา]] และ[[การเคลื่อนที่]]ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึง[[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ|การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ]]<ref>[http://www.answers.com/topic/astronomy?cat=technology Definition at Answer.com]</ref><ref>[http://www.merriam-webster.com/dictionary/astronomy Definition at Merriam-Webster.com]</ref><ref>[http://www.brainyquote.com/words/as/astronomy133158.html Definition at BrainyQuote.com]</ref>
 
ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม [[กล้องโทรทรรศน์]]เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น [[การวัดตำแหน่งดาว]] [[การเดินเรือดาราศาสตร์]] [[ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์]] การสร้าง[[ปฏิทิน]] และรวมทั้ง[[โหราศาสตร์]] แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับ[[ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]] ตั้งแต่[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]] เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนา[[คอมพิวเตอร์]]หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี