ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธชินสีห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 24:
พุทธศักราช ๒๔๐๙ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในชื่อ "ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา" ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิงจึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และมีการระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปีพุทธศักราช ๑๔๙๘ และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปีพุทธศักราช ๑๕๐๐ (หย่อนอยู่ ๗ วัน)
 
พุทธศักราช ๒๔๒๓ ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์]] ได้ทรงแต่งตำนานการสร้างพระพุทธชินราชขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง ชื่อ "พงษาวดารเหนือ : เป็น[[ลิลิต]]เรื่องนิทานพระร่วง แลนิทานพระเจ้าธรรมไตรปิฎก นิทานพระชินศรี พระชินราช พระศาสดา" ซึงมีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระพุทธชินราชเข้าไปด้วย
 
[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้มีพระดำริเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์จากหลักฐานทางพุทธศิลป์นำมาเปรียบเทียบกับพงศาวดารเหนือว่าพระพุทธชินสีห์ ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลป์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยระคนกับพุทธศิลป์เชียงแสนแต่มีพัฒนาการไปกว่าพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม และช่างผู้สร้างพระพุทธชินสีห์กับพระพุทธชินราชนั้นเป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่นจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ที่ปรากฏ แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง ๓ องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการสร้างแล้วทรงคาดว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์น่าจะสร้างในรัชสมัย[[พระมหาธรรมราชาที่ 1|พระมหาธรรมราชาที่ ๑]] ในปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ มิใช่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยประทานเหตุผลว่า ''"พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏพระเกียรติในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแต่พระองค์เดียวคือพระมหาธรรมราชาลิไทย...พระมหาธรรมราชานี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก"''
 
[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ได้ประทานความเห็นไว้ว่าพระพุทธชินสีห์น่าจะสร้างขึ้นหลังจากหล่อพระพุทธชินราชสำเร็จลงแล้ว เนื่องจากข้อบกพร่องต่างๆ ที่พระพุทธชินราชมีนั้น ถูกแก้ไขและเพิ่มเติมความปราณีตในพระพุทธชินสีห์ทั้งสิ้น
บรรทัด 33:
 
=== การเคลื่อนย้ายที่ประดิษฐาน ===
หลังจากสงคราม[[อะแซหวุ่นกี้]]ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๘ เมืองพิษณุโลกถูกเผาทำลายโดยเฉพาะ[[พระราชวังจันทน์]]และ[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ]]ซึ่งได้รับความเสียหายเป็นอันมาก รวมถึงพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ที่แม้ไม่ได้ถูกเผาไปด้วยแต่ก็ชำรุดทรุดโทรมลงเนื่องจากขาดการ[[บูรณะ]][[ปฏิสังขรณ์]]
 
 
บรรทัด 55:
 
 
พุทธศักราช ๒๔๐๙ ทรงสมโภชอีอีกครั้งและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย
 
== ตำนาน ==