ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zillv (คุย | ส่วนร่วม)
Zillv (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21:
== ประวัติศาสตร์  ==
 
==== ก่อนสมัย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] ====
  ท้องที่อำเภอสวีนี้ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำนานเก่าของวัดพระธาตุกาวี ที่รับรู้ต่อกันมา ในพื้นบ้านพื้นเมืองอันเป็นที่รู้จักกันทั่ว ๆไปว่า เมื่อครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์หนึ่งกับพระมเหษีพากองทัพไพร่พลกลับจากการทำสงคราม มาหยุดพักแรกที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างปรักหักพัง มีอยู่แต่กองอิฐดินเผาเกลื่อนกลาดทับถมกันอยู่ ในระหว่างที่เหล่าทหารบางคนจัดสร้างที่พัก บางคนจัดการหุงหาอาหารกันตามหน้าที่ ก็มีกาฝูงหนึ่งพากันบินมาจับกลุ่มที่ซากอิฐดินเผาซึ่งเหลืออยู่จากการหักพังทำลายแล้วพากันวีปีกและส่งเสียงร้องขึ้นพร้อม ๆ กัน ราวกับเป็นการนัดหมายกันมาเสียงฉู่ฉาวเจี๊ยวจ๊าวลั่นไปหมด และเมื่อทหารไล่มันไปมันก็พากันบินหนีไป แต่ไม่นานมันก็กลับมาที่เก่าอีก แล้วพวกมันก็พากันร้องวีปีกเช่นเดิม พวกทหารไล่มันอีก มันก็หนีไปอีก แล้วมันก็กลับมาใหม่ กระทำเหมือนที่แล้วหลายครั้งหลายหน ไม่ยอมแพ้ต่อการขับไล่ของทหาร ความทราบถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราชกับพระมเหสี เป็นเรื่องหนึ่งที่ให้เกิดความสนพระทัยขึ้น จึงเสด็จไปทอดพระเนตร แล้วทรงรับสั่งให้ทหารรื้ออิฐปูนที่ปรักหักพังออก ก็พบองค์พระเจดีย์ใหญ่ยังเหลืออยู่ท่อนหนึ่ง และเมื่อทหารทำการรื้อต่อไป ก็ได้พบผอบทองสีสุกใสอยู่ในพระเจดีย์ร้างนั้นจึงนำถวายท้าวเธอทรงเปิดผอบดูพบพระธาตุสถิตอยู่ในผอบนั้น จึงรับสั่งให้นายทัพนายกองทำการซ่อมสร้างสถาปนาพระเจดีย์องค์นั้นขึ้นใหม่จนสำเร็จ แล้วท้าวเธอนำเอาพระบรมธาตุในผอบทองนั้นเข้าบรรจุประดิษฐานไว้เช่นเดิม แล้วจัดให้มีการมหรสพสมโภชทำบุญเป็นการใหญ่ฉลอง ๗ วัน ๗ คืน แล้วพระราชทานชื่อว่า พระบรมธาตุกาวีปีก ต่อมาคำว่าปีกหายไป คงเหลือแต่พระบรมธาตุกาวี ต่อมาบัดนี้เรียกกันว่า พระธาตุสวี เรื่องนี้ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ยกทัพมารบกับท้าวพิชัยเทพเชียงราชา (หรือท้าวอู่ทอง) แล้วตกลงประนีประนอมยอมแบ่งปันเขตแดนกันในเขตท้องที่เมืองบางตะพาน เมื่อเสร็จศึกแล้ว พระเจ้าศรีธรรมโศกราชก็ยกทัพกลับไปนครศรีธรรมราช ปรากฏว่า ในระหว่างทางได้ตั้งพระอารามก่อพระเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิ์รายทางมาจนถึงนครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่า พระบรมธาตุกาวีปีก พระเจ้าศรีธรรมโศกราช คงทรงซ่อมสร้างขึ้นในครั้งเดินทัพกลับในครั้งนั้นเอง 
 
 ในท้องที่อำเภอสวีนี้ มีบ้าน ๆ หนึ่งเรียกว่า บ้านแพรก ตั้งอยู่ริมคลองสวี ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอลงไปทางปากน้ำ ที่บ้านแพรกนี้ มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า ในสมัยโบราณก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เคยเป็นที่ตั้งเมืองมาแล้วหนหนึ่งชื่อว่า เมืองแพรก คนจีนเรียกว่าเมืองยะสิ่ว และว่าเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว มีการไถและขุดพบกระเบื้องดินเผาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังอยู่ในดิน จึงเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองในตำนาน เมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่าเมืองแพรก กล่าวคือตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า ในศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักร อโยธยาส่งพระพนมทะเลศรีสวัสดิ์ ฯ ออกมาคุมเชิงเฝ้าดูทางฝ่ายอาณาจักรนครศรีธรรมราช โดยมอบกำลังทหารให้เจ้าศรีราชาเข้าโจมตีเมืองชุมพรได้ แล้วผ่านไปตั้งเมืองที่เมืองแพรก (ท้องที่อำเภอสวี) เพื่อทำการต่อไป แล้วให้พระพนมวัง นางสะเคียงทอง พร้อมด้วยเจ้าศรีราชานำกำลังทัพเข้าตีเมืองกาญจนดิษฐ์ได้อีก จึงจัดตั้งเมืองนครดอนพระขึ้นใหม่ เพื่อทำการรบกับฝ่ายอาณาจักรนครศรีธรรมราชและทำการรบกันอยู่นาน จึงยุติไม่แพ้ไม่ชนะกัน แต่ฝ่ายอาณาจักรนครศรีธรรมราชต้องเสียเมืองชุมพร เมืองสะอุเลา เมืองกาญจนดิษฐ์แก่ฝ่ายอาณาจักรอโยธยาไป 
 
====  สมัย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] ====
  ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ มีปรากฏตามคำให้การชาวกรุงเก่า หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ตามบัญชีรายชื่อ หัวเมืองปักษ์ใต้ซึ่งขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาลำดับที่ ๔๘ และว่าที่คลองสวี มีพลอยต่าง ๆ เมือง สวี มีหน้าที่ส่งส่วยพลอยต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ตัวเมืองสวีในสมัยนั้นจะตั้งศาลาว่าการเมือง ณ ที่ใดไม่ปรากฏ 
 
==== สมัย[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)|กรุงรัตนโกสินทร์]] ====
  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย|รัชกาลที่ ๒]] จัดส่งคณะทูตไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศลังกาโดยทางเรือ บังเกิดอุบัติเหตุเรือแตก คณะทูตจึงเดินทางผ่านเมืองสวี และเมืองสวีเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นต่อเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นตรี
 
  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ทางราชการจัดระบบการปกครองเป็นมณฑล โดยมีข้าหลวงสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชา ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ ๕]] โปรดเกล้า ฯ ให้ยุบเมืองสวีลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองหลังสวนแล้วให้รวมหัวเมืองคือ ๑ [[จังหวัดชุมพร|เมืองชุมพร]] ๒ เมืองหลังสวน ๓ [[อำเภอไชยา|เมืองไชยา]] ๔ [[เมืองกาญจนดิษฐ์]] รวม ๔ เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลเรียกชื่อว่า มณฑลชุมพร ตั้งที่ทำการศาลาว่าการมณฑลชุมพร ณ ที่ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง เมืองชุมพร แต่งตั้งพระยารัตนเศรษฐี (ตอซิมกอง) ผู้ว่าราชการเมืองระนองมาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร
 
     ต่อมาในปีพ.ศ.2450 (ร.ศ.116) เพิ่งจะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า เมื่อได้จัดการปกครองหัวเมืองใหม่ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 แล้ว เมืองสวีได้จัดระเบียบใหม่ และมีชื่อว่า “อำเภอสวี” เมื่อตั้งเป็นอำเภอสวีแล้ว ในชั้นแรกได้ใช้บ้านพักของนายรื่น ทองคำ ซึ่งเรียกว่า “ท่านรักษาเมือง” ตั้งอยู่ริมคลองสวี ในหมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว ได้เปิดที่ทำการเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2440 มีนายแดง ธนะไชย (หลวงเสวีวรราช) เป็นนายอำเภอคนแรก ตั้งที่ทำการอยู่ที่นั่นได้ครึ่งปีจึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลปากแพรก ใช้บ้านพักของนายทองชุ่ม กำนันตำบลปากแพรกเป็นที่ว่าการอำเภอ อยู่ได้ประมาณปีเศษจึงได้ทำการปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอสวีขึ้นที่ริมแม่น้ำสวี ในตำบลสวี จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.2462 ที่ว่าการชำรุดหักพังจนถึงทำงานไม่ได้ จึงได้ขอบ้านพักนายฮก บุญยสมบัติ คหบดี เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว นายแถว สมิโตบล (หลวงรักษ์นรกิจ) ซึ่งเป็นนายอำเภออยู่ในขณะนั้น ได้จัดสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ในหมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ ได้ทำพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2462 จนกระทั่งถึงวันที่ 24 มกราคม 2511 ที่ว่าการอำเภอได้ถูกเพลิงไหม้ กรมการปกครองจึงได้อนุมัติงบประมาณพิเศษให้ก่อสร้างใหม่และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2512 ใช้ปฏิบัติราชการจนถึงถึง พ.ศ. 2544 เป็นระยะเวลา 32 ปี อาคารที่ว่าการอำเภอสวีก็ได้ชำรุดทรุดโทรมตามสภาพการใช้งาน กรมการปกครอง ได้อนุมิติงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ หลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยได้ย้ายที่ว่าการอำเภอสวีมาปฎิบัติงานที่ว่าการอำเภอ สวี (หลังใหม่) ตั้งอยู่ที่บ้านดอนรักษ์ หมู่ที่ 4 ตำบลสวี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน