ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาเฟอีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
โอเค
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7263834 สร้างโดย 223.24.137.193 (พูดคุย)
บรรทัด 42:
'''กาเฟอีน'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน. '''พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔.''' กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 113.</ref> ({{lang-fr|caféine}}) เป็นสารแซนทีน[[อัลคาลอยด์]] ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ด[[กาแฟ]], [[ชา]], โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็น[[ยากำจัดศัตรูพืช]]โดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้[[อัมพาต]] และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลด[[ความง่วง]]ได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นใน[[กาแฟ]] [[น้ำชา]] [[น้ำอัดลม]] รวมทั้ง[[เครื่องดื่มชูกำลัง]] ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
 
== แหล่งของกาเฟอีน ==
ไม่มี
เมล็ด[[กาแฟ]]จัดเป็นพืชที่เป็นแหล่งของกาเฟอีนที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณกาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสองประการ คือชนิดของเมล็ด[[กาแฟ]]ที่เป็นแหล่งผลิต และกรรมวิธีในการเตรียม[[กาแฟ]] เช่น เมล็ด[[กาแฟ]]ที่คั่วจนเป็นสีเข้มจะมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่าเมล็ดที่คั่วไม่นาน เนื่องจากกาเฟอีนสามารถสลายตัวไปได้ระหว่างการคั่ว และ[[กาแฟ]]พันธุ์[[อาราบิกา]]จะมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่า[[กาแฟ]]พันธุ์[[โรบัสตา]] เป็นต้น โดยทั่วไปกาแฟ[[เอสเปรสโซ]]จากเมล็ด[[กาแฟ]]พันธุ์[[อาราบิกา]]จะมีกาเฟอีนประมาณ 40 มิลลิกรัม นอกจากนี้ในเมล็ด[[กาแฟ]]ยังพบอนุพันธุ์ของกาเฟอีน คือ[[ธีโอฟิลลีน]] (Theophyllin) ในปริมาณเล็กน้อยอีกด้วย
 
ใบ[[ชา]]ยังเป็นแหล่งของกาเฟอีนที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง พบว่าจะมีกาเฟอีนมากกว่า[[กาแฟ]]ในปริมาณเดียวกัน แต่วิธีชงดื่มของชานั้น ทำให้ปริมาณกาเฟอีนลดลงไปมาก แต่ชาจะมีปริมาณของ[[ธีโอฟิลลีน]]อยู่มาก และพบอนุพันธุ์อีกชนิดของกาเฟอีน คือ[[ธีโอโบรมีน]] (Theobromine) อยู่เล็กน้อยด้วย ชนิดของใบ[[ชา]]และกระบวนวิธีการเตรียมก็เป็นปัจจัยสำคัญของกาเฟอีนในน้ำ[[ชา]]เช่นเดียวกับใน[[กาแฟ]] เช่นใน[[ชาดำ]]และ[[ชาอูหลง]]จะมีกาเฟอีนมากกว่าในชาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สีของน้ำชาไม่ได้เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงปริมาณกาเฟอีนในน้ำชา เช่นใน[[ชาเขียว]][[ญี่ปุ่น]]ซึ่งจะมีปริมาณกาเฟอีนสูงกว่า[[ชาดำ]]บางชนิด
 
[[ช็อคโกแลต]]ซึ่งผลิตมาจากเมล็ด[[โกโก้]]ก็เป็นแหล่งของกาเฟอีนเช่นเดียวกัน แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าเมล็ดกาแฟและใบชา แต่เนื่องจากในเมล็ด[[โกโก้]]มีสาร[[ธีโอฟิลลีน]]และ[[ธีโอโบรมีน]]อยู่มาก จึงมีฤทธิ์อ่อนๆในการกระตุ้นประสาท อย่างไรก็ตาม ปริมาณของสารดังกล่าวนี้ก็ยังน้อยเกินไปที่จะให้เกิดผลกระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับ[[กาแฟ]]ในปริมาณที่เท่ากัน
 
[[น้ำอัดลม]]และ[[เครื่องดื่มชูกำลัง]]เป็นเครื่องดื่มที่พบกาเฟอีนได้มากเช่นเดียวกัน [[น้ำอัดลม]]ทั่วไปจะมีกาเฟอีนประมาณ 10-50 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่[[เครื่องดื่มชูกำลัง]] เช่น[[กระทิงแดง]] จะมีกาเฟอีนอยู่มากถึง 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค กาเฟอีนที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้อาจมาจากพืชที่เป็นแหล่งผลิต แต่ส่วนใหญ่จะได้จากกาเฟอีนที่สกัดออกระหว่างการผลิต[[กาแฟพร่องกาเฟอีน]] (decaffeinated coffee)
 
== สถานะทางเคมี ==