ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอบราแฮม ลิงคอล์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 64:
สงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองกำลังของนายพลโบริการ์ด แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐเปิดการยิงโจมตี[[ยุทธการที่ฟอร์ตซัมเทอร์|ฟอร์ตซัมเทอร์]] รัฐฝ่ายเหนือให้การตอบรับการเรียกระดมพลของทางสหภาพอย่างแข็งขัน ลินคอล์นดำเนินกลยุทธการเมืองอย่างชาญฉลาด และเขายังเป็นนักปราศัยที่มีทักษะในการพูดที่ทรงพลัง สมารถโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้<ref>Randall (1947), pp. 65–87.</ref> [[สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์ก]]ของเขาใน ค.ศ. 1863 เป็นสุนทรพจน์ที่มีการยกคำพูดไปอ้างอิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา<ref name="Bulla">Bulla (2010), p. 222.</ref> และเป็นคำนิยมอันอุโฆษต่ออุดมคติแห่งหลักการชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม สิทธิเท่าเทียม เสรีภาพ และประชาธิปไตย
 
ลินคอล์นให้ความสนใจต่อมิติการทหาร และกิจการในยามสงครามอย่างใกล้ชิด เป้าหมายของเขาคือการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว เมื่อทางใต้อยู่ในสถานะก่อการกบฏ ลินคอล์นจึงใช้อำนาจของตนยับยั้งการใช้ ''[[เฮบีอัส คอร์ปัส]]'' (habeas corpus) หรือ หมายสั่งเรียกไต่สวนเหตุผลในการคุมขัง ในสถานการณ์นั้น ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนหลายพันคนโดยไม่มีการไต่สวน นอกจากนี้ลินคอล์นยังหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการทหารกับอังกฤษ โดยจัดการกับ[[กรณีเรือเทรนต์|กรณีเรือ ''เทรนต์'']] (''Trent'' affair) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1861 ไดอย่างเฉียบขาด ลินคอล์นบริหารการสงครามด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง รวมทั้งการเลือก [[ยูลิสซิส เอส. แกรนท์]] เข้ามาเป็นผู้บัญชาการสั่งการกองทัพแทนที่ นายพล [[จอร์จ มี้ด]] ซึ่งทำให้กองทัพฝ่ายสหภาพสามารถทำสงครามได้หลายภูมิภาคการรบ (theater) พร้อมๆกัน<ref>Nevins, ''Ordeal of the Union'' (Vol. IV), pp. 6–17.</ref> ลินคอล์นให้การสนับสนุนแกรนต์ทำสงครามที่ทั้งนองเลือดและเบ็ดเสร็จ ฝ่ายสมาพันธรัฐแม้จะได้เปรียบจากการเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ การโจมตีของฝ่ายสหภาพไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบนสนามรบ แต่ยังรวมถึงการปิดกั้น และทำลายทางคมนาคนขนส่ง ทั้งทางแม่น้ำและทางรถไฟ รวมไปถึงฐานทางเศรษฐกิจของฝ่ายสมาพันธรัฐ จนในที่สุดแกรนต์สามารถเข้ายึดริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐได้ ในเดือนเมษายน ปี 1865
 
ลินคอล์นไม่เพียงแต่ใช้สงครามเพื่อนำไปสู่การเลิกทาส เขายังดำเนินกิจกรรมทางนโยบายอื่นๆ เช่น การออก[[การประกาศเลิกทาส]]ใน ค.ศ. 1863, การเกลี้ยกล่อมให้รัฐชายแดนประกาศให้สถาบันทาสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย, การออกกฎหมาย Confiscation Act เพื่อยึดและปลดปล่อยทาสจากผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าให้การสนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐ<ref>Donald (1996), p. 314</ref><ref>Carwardine (2003), p. 178.</ref> และช่วยผลักดัน[[การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาครั้งที่สิบสาม]]จนผ่านสภาคองเกรส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 ซึ่งห้ามการมีและซื้อขายทาสตลอดไปในทุกๆพื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา
บรรทัด 104:
| image1 = StephenADouglas.png
| width1 = 130
| caption1 = สว.[[สตีเฟ่น เอ. ดักลาสดักลัส]] จากอิลินอยส์
| image2 = John C Breckinridge-04775-restored.jpg
| width2 = 120
บรรทัด 116:
}}
 
ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี ค.ศ. 1860 ของ[[พรรคริพับลิกัน]]ซึ่งนำโดยอับราฮัม ลินคอล์น เป็นผลมาจากความระส่ำระสายภายในของพรรคเดโมแครตเอง โดยช่วงปลายเดือนเมษายน 1860 พรรคเดโมแครตมารวมตัวประชุมที่ เมืองชาลส์ตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อคัดเลือกตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี ในขณะนั้น ชาลส์ตัน เป็นเมืองที่แตกแยกทางความคิดมาก มีนักปราศัยเรียกร้องการแยกตัวจากสหภาพ (ซึ่งถูกเรียกว่า ''พวกกินไฟ'' หรือ fire-eaters) เดินอยู่เต็มถนน และเปิดฉากล้อเลียน สว. [[สตีเฟน เอ. ดักลาสดักลัส]] กับผู้สนับสนุนชาวเหนือของดักลาสอยู่เนืองๆดักลัสอยู่เนืองๆ แม้ในระหว่างสมาชิกพรรคเดโมแครตเอง ก็แตกกันออกเป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ โดยตัวแทนพรรคฝ่ายใต้ สนับสนุนนโยบายขยายสถาบันทาส โดยการใช้กฎหมายทาส ([[:en:slave codes|slave codes]]) ในทุกพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สมาชิกพรรคจากทางเหนือคิดว่านั่นเป็นเรื่องเสียสติ เพราะมีแต่จะทำให้เสียเสียงสนับสนุนในรัฐทางเหนือ
 
เมื่อการประชุมดำเนินต่อไป เสียงส่วนใหญ่ยังคงยืนกรานสนับสนุน หลักการอำนาจอธิปไตยปวงชนของดักลาสดักลัส ที่ต้องการให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐ ออกเสียงกำหนดกันเอาเองในเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาส การตัดสินใจนี้ทำให้ตัวแทนจากรัฐทางตอนใต้ซึ่งเป็นพวกสนับสนุนสถาบันทาส และคำพิพากษา ''เดร็ด สก็อตต์'' พากัน "วอล์กเอ้าท์" จาก[[:en:Democratic National Convention|การประชุมแห่งชาติของพรรคเดโมแครต (DNC)]] หลังจากล้มเหลวในการโหวตเพื่อลงมติถึง 57 ครั้ง การประชุม DNC ก็ถูกเลื่อนไปเป็นเดือนมิถุนายน 1860 ที่บัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ แต่พวกฝ่ายใต้หัวแข็งกร้าวก็ขัดขวางการลงมติอีก และจบลงที่การเดินออกจากที่ประชุมอีกครั้ง ฝ่ายเดโมแครตที่เหลือจึงเสนอชื่อ สตีเฟน ดักลาสดักลัส ให้เป็นตัวแทนลงสมัครลงชิงตำแหน่ง ส่วนสมาชิกพรรคฝ่ายใต้เป็นพวกสนับสนุนคำพิพากษาคดี''เดร็ด สก็อตต์'' กลับมาหารือกันใหม่ที่ริชมอนด์ เวอร์จิเนีย แล้วเลือก นาย[[จอห์น ซี. เบรกคินริดจ์]] (John C. Breckinridge) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี มาเป็นผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคเดโมแครตฝ่ายใต้
 
====การหาเสียง====
 
ในขณะที่ นาย[[สตีเฟน เอ. ดักลาสดักลัส]] ตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งเดโมแครตฝ่ายเหนือ และเป็นผู้ร่างกฎหมาย แคนซัส-เนบรากา ที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องการกำหนดความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาสโดยทางอธิปไตยปวงชน (กล่าวคือประสงค์จะให้สภาคองเกรสทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าแทรกแทรงไม่ว่าจะเพื่อจำกัด หรือสนับสนุนการขยายตัวของสถาบันทาสไปในพื้นที่ใหม่ๆของสหรัฐ) ก็ได้รับความนิยมทางตอนเหนือสู้ลินคอล์นไม่ได้ ลินคอล์นจึงกวาดคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง (electoral vote) ไปแบบท่วมท้น และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ปี 1860 แม้ว่าจะได้รับคะแนนนิยมทั่วประเทศเพียงแค่ 40% กลายเป็นผู้สมัครพรรคริพับลิกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
 
ตลอดการเลือกตั้งที่ผ่านมา ลินคอล์นก็ไม่ได้รณรงค์หาเสียงหรือกล่าวสุนทรพจน์แต่อย่างใด สิ่งนี้เองได้ถูกพรรคริพับลิกันหยิบยกขึ้นมา ผู้ซึ่งใช้เทคนิคล่าสุดเพื่อสนับสนุนให้เกิดแรงบันดาลใจภายในพรรค และไม่มีการโฆษณาหาเสียงอย่างแท้จริง ในทางใต้ยกเว้นเมืองชายแดนไม่มากนัก เช่น เซนท์หลุยส์, มิสซูรี, และ วิลลิ่ง, เวอร์จิเนีย แต่แท้ที่จริงแล้วทางพรรคเองก็ไม่ได้แข่งขันทางใต้แต่อย่างเดียว ในทางเหนือมีโฆษกพรรคริพับลิกันอยู่หลายคน โปสเตอร์หาเสียงและใบปลิวจำนวนหลายตัน และบทแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์จำนวนหลายฉบับ โดยที่สิ่งเหล่านี้ได้ชูประเด็นสำคัญของพรรคสองเรื่องคือ หนึ่ง นโยบายของพรรค สอง ชีวประวัติของลินคอล์นที่เกิดเป็นเด็กชาวนายากจน มีความอัจริยะภาพโดยกำเนิดและการลุกขึ้นมาสู้ของเขาเพื่อให้ยกเลิกระบบทาสอย่างกล้าหาญและเต็มที่<ref> Thomas (1952) p 216; Reinhard H. Luthin, ''The First Lincoln Campaign'' (1944) ; Nevins vol 4; </ref>