ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org การแก้ไขแบบเห็นภาพ
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 6:
 
== ครอบครัว ==
นักประวัติศาสตร์เห็นไม่ตรงกันเรื่องบรรพบุรุษของเอ็กเบิร์ต เวอร์ชั่นเวอร์ชันแรสุกของ[[บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน|พงศาวดารแองโกลแซ็กซอน]] พงศาวดารพาร์คเกอร์ เริ่มต้นด้วยบทนำ[[พงศาวลี]]แกะรอยบรรพบุรุษของลูกชายของเอ็กเบิร์ต [[สมเด็จพระเจ้าเอเธล์วูลฟ์ แห่งเวสเซ็กซ์|เอเธลวูล์ฟ]] ผ่านเอ็กเบิร์ต, อีลมุนด์ (เข้าใจว่าคืออีลมุนด์แห่งเคนท์) และออปป้ากับอีฟ่าที่ไม่เป็นที่รู้จัก สู่อินกิลด์ น้องชายของกษัตริย์อินแห่ง[[ราชอาณาจักรเวสเซกซ์|เวสเซ็กซ์]] ผู้ที่สละบัลลังก์ในปีค.ศ.726 ย้อนกลับต่อไปถึงเซอร์ดิช ผู้ก่อตั้งตระกูลเวสเซ็กซ์ การสืบเชื้อสายจากอินกิลด์ของเอ็กเบิร์ตได้รับการยอมรับโดยแฟรงก์ สเตนตัน แต่ไม่ใช่พงศาวลีช่วงต้นที่ย้อนไปหาเซอร์ดิช เฮเธอร์ เอ็ดเวิร์ดในพจนานุกรมชีวประวัติแห่งชาติแบบออนไลน์ของเธอในหัวข้อของเอ็กเบิร์ตแย้งว่าพื้นเพของเขาเป็นชาว[[เคนต์|เคนท์]] และการสืบเชื้อสายของเวสเซ็กซ์อาจถูกสร้างขึ้นมาในช่วงรัชสมัยของเขาเพื่อให้ความชอบธรรมทางกฎหมายแก่เขา ในทางตรงกันข้าม รอรี่ เนสมิธมองว่าไม่น่าจะมีพื้นเพเป็นชาวเคนท์ และอาจเป็นไปได้มากกว่าว่า "เอ็กเบิร์ตมีเชื้อราชวงศ์เวสเซ็กซ์มาตั้งแต่เกิด"
 
ชื่อของภรรยาของเอ็กเบิร์ตไม่เป็นที่รู้ พงศาวดารในศตวรรษที่ 15 ที่ตอนนี้อยู่ในการดูแลของ[[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด|มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด]]เรียกภรรยาของเอ็กเบิร์ตว่าเร็ดเบอร์ก้า ผู้ที่น่าจะมีความสัมพันธ์กับ[[ชาร์เลอมาญ]] ที่แต่งงานกับเขาตอนที่เขาถูกเนรเทศไปฟรานเชีย แต่มันถูกเมินโดยนักประวัติศาสตร์เชิงวิชาการในมุมของวันที่เขียน ว่ากันว่าเขามีน้องสาวคนละแม่ชื่ออัลเบอร์ก้า ต่อมาถูกจดจำในฐานะนักบุญเนื่องจากก่อตั้งวิลตันแอบบีย์ เธอแต่งงานกับวูล์ฟสตาน ผู้นำท้องถิ่นของ[[วิลต์เชอร์|วินต์เชียร์]] และการตายของเขาในปีค.ศ.802 ทำให้เธอกลายเป็นแม่ชี [[อธิการอาราม|อธิการิกิณี]]แห่งวิลตันแอบบีย์ เขาเคยถูกเชื่อว่าเป็นบิดาของนักบุญอีดกิธแห่งโพลส์เวิร์ธและเอเธลสตานแห่งเคนท์
 
== บทบาททางการเมืองและชีวิตช่วงต้น ==
[[Fileไฟล์:Egbert_name_in_ASC_C.jpg|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Egbert_name_in_ASC_C.jpg|thumb|ชื่อของเอ็กเบิร์ต สะกดว่า Ecgbriht จากปีค.ศ.827 ในต้นฉบับซีของ[[บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน|''พงศาวดารแองโกลแซ็กซอน'']]]]
ออฟฟ่าแห่ง[[ราชอาณาจักรเมอร์เซีย|เมอร์เชีย]] ผู้ที่ครองราชย์ตั้งแต่ปีค.ศ.757 ถึง 796 คือกองกำลังที่ทรงอำนาจในอังกฤษยุค[[ชาวแองโกล-แซกซัน|แองโกลแซ็กซอน]]ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างออฟฟ่ากับไคน์วูล์ฟ ผู้เป็นกษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรเวสเซกซ์|เวสเซ็กซ์]]ตั้งแต่ปีค.ศ.757 ถึง 786 ไม่มีหลักฐานทางเอกสาร แต่ดูเหมือนว่าไคน์วูล์ฟรักษาเอกราชไว้จากเจ้าเหนือหัวชาวเมอร์เชียได้ หลักฐานของความสัมพันธ์ระหว่างเหล่ากษัตริย์มาจากกฎบัตร ซึ่งเป็นเอกสารที่มอบที่ดินให้กับบริวารหรือให้กับคนของศาสนา และซึ่งได้รับการเป็นพยานโดยเหล่ากษัตริย์ที่มีอำนาจที่จะมอบที่ดินให้ ในบางกรณีกษัตริย์จะปรากฏในกฎบัตรในฐานะซูเบรกุลุสหรือ "กษัตริย์ย่อย" ที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าเขามีเจ้าเหนือหัว ไคน์วูล์ฟปรากฎปรากฏในฐานะ "กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" ในฎบัตรของออฟฟ่าในปีค.ศ.772 และเขาพ่ายแพ้ต่อออฟฟ่าในสมรภูมิในปีค.ศ779 ที่เบนซิงตัน แต่ไม่มีอะไรอย่างอื่นที่ทำให้สันนิษฐานว่าไคน์วูล์ฟไม่ใช่เจ้านายของตัวเอง และไม่พบว่าเขาเคยยอมรับออฟฟ่าเป็นเจ้าเหนือหัว ออฟฟ่ามีอิทธิพลในฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ กฎบัตรปีค.ศ.784 ปรากฏว่ากษัตริย์ของ[[เคนต์|เคนท์]]มีเอกราชเป็นตัวเป็นตนจากเมอร์เชีย
 
เอ็กเบิร์ตอีกคน เอ็กเบิร์ตที่ 2 แห่งเคนท์ ปกครองอาณาจักรที่ว่าตลอดยุค 770 เขาถูกพูดถึงครั้งสุดท้ายในปีค.ศ.779 ในกฎบัตรที่มอบดินแดนที่โรเชสเตอร์ ในปีค.ศ.784 กษัตริย์คนใหม่ของเคนท์ อีลมุนด์ ปรากฏใน[[บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน|พงศาวดารแองโกลแซ็กซอน]] ตามข้อความที่ขอบ "กษัตริย์อีลมุนด์คนนี้คือบิดาของเอ็กเบิร์ต [หมายถึงเอ็กเบิร์ตแห่งเวสเซ็กซ์] เอ็กเบิร์ตคือบิดาของเอเธลวูล์ฟ" เรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบทนำ[[พงศาวลี]]จากข้อความเอของ[[พงศาวดาร]] ซึ่งเรียกชื่อบิดาของเอ็กเบิร์ตว่าอีลมุนด์โดยไม่มีรายละเอียดอื่นเพิ่ม บทนำลงวันที่ว่ามาจากปลายศตวรรษที่ 9 ข้อความตรงขอบอยู่ในต้นฉบับเอฟของพงศาวดารที่เป็นเวอร์ชั่นเวอร์ชันของเคนท์ ลงวันที่ราวปีค.ศ.1100
 
อัลมุนด์ไม่ได้ปรากฏว่ามีอำนาจอยู่นาน ไม่มีบันทึกถึงความเคลื่อนไหวของเขาหลังจากปีค.ศ.784 ทว่ามีหลักฐานมากมายของอำนาจของออฟฟ่าในเคนท์ช่วงปลายยุค 780 ที่เป้าหมายของเขาชัดเจนว่าคือการเป็นยิ่งกว่าเจ้าเหนือหัว ผนวกอาณาจักรเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ และเขาได้ถูกบรรยายไว้ว่าเป็น "ศัตรู ไม่ใช่เจ้าเหนือหัว ของกษัตริย์แห่งเคนท์" เป็นไปได้ว่าเอ็กเบิร์ตน้อยหนีไปเวสเซ็กซ์ในปีค.ศ.785 หรือราวๆนั้น สันนิษฐานจากพงศาวดารที่กล่าวว่าต่อมาบีออร์ทริค ผู้สืบทอดตำแหน่งของไคน์วูล์ฟ ช่วยออฟฟ่าขับไล่เอ็กเบิร์ตออกจากประเทศ
บรรทัด 28:
 
== สมรภูมิเอลแลนดุน ==
[[Fileไฟล์:Egbert_of_Wessex_map.jpg|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Egbert_of_Wessex_map.jpg|right|thumb|313x313px|แผนที่อังกฤษในช่วงรัชสมัยของเอ็กเบิร์ต]]
ในปีค.ศ.825 เช่นกันที่สมรภูมิที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์แองโกลแซ็กซอนอุบัติขึ้น เมื่อเอ็กเบิร์ตปราบบีออร์นวูล์ฟแห่งเมอร์เชียที่เอลแลนดุนที่ตอนนี้คือรองตัน ใกล้กับ[[สวินดัน|สวินดอน]] สมรภูมินี้เป็นเครื่องหมายของจุดจบของอำนาจของเมอร์เชียในอังกฤษตอนใต้ พงศาวดารบอกว่าเอ็กเบิร์ตได้ชัยชนะมาได้อย่างไร "จากนั้นเขาส่งบุตรชาย เอเธลวูล์ฟ จากกองทัพ กับอีลสตาน บิชอปของเขา และวูล์ฟเฮิร์ด ผู้นำท้องถิ่นของเขา ไปเคนท์พร้อมกับกองทัพขนาดใหญ่" เอเธลวูล์ฟขับไล่บาลด์เร็ด กษัตริย์แห่งเคนท์ ขึ้นเหนือ[[แม่น้ำเทมส์|เธมส์]] และตามพงศาวดาร คนของเคนท์, เอสเซ็กซ์, เซอร์เรย์ และซัสเซ็กซ์ หลังจากนั้นต่างยอมสวามิภักดิ์ต่อเอเธลวูล์ฟ "เพราะก่อนหน้านี้พวกเขาถูกบังคับอย่างไม่ถูกต้องจากญาติของตน" ซึ่งอาจหมายถึงการแทรกแซงของออฟฟ่าในเคนท์ในตอนที่บิดาของเอ็กเบิร์ต อีลมุนด์ได้เป็นกษัตริย์ หมายเหตุของผู้เขียนพงศาวดารยังระบุว่าอีลมุนด์มีสายสัมพันธ์กับที่อื่นๆในอังกฤษตอนใต้
 
เหตุการณ์ในเวอร์ชั่นเวอร์ชันของพงศาวดาร บาลด์เร็ดถูกขับไล่ในช่วงเวลาสั้นๆหลังจากสมรภูมิ แต่ก็อาจไม่ใช่ จากเอกสารจากเคนท์ที่เหลือรอดอยู่ที่ลงวันที่ เดือนมีนาคม ปีค.ศ.826 ที่ว่าอยู่ในปีที่สามของรัชสมัยของบีออร์นวูล์ฟ ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าบีออร์นวูล์ฟยังคงมีอำนาจในเคนท์ในตอนนั้น ในฐานะเจ้าเหนือหัวของบาลด์เร็ด ดังนั้นบาลด์เร็ดยังอยู่ในอำนาจ ในเอสเซ็กซ์ เอ็กเบิร์ตขับไล่กษัตริย์ซิเกร็ด แม้จะไม่รู้วันที่ แต่อาจจะยืดยาวถึงปีค.ศ.829 เนื่องจากต่อมาผู้เขียนพงศาวดารเชื่อมโยงการขับไล่กับการต่อสู้ของเอ็กเบิร์ตกับชาวเมอร์เชียในปีนั้น
 
พงศาวดารแองโกลแซ็กซอนไม่ได้บอกว่าใครเป็นฝ่ายรุกรานที่เอลแลนดุน แต่ประวัติศาสตร์ปัจจุบันยืนยันว่าบีออร์นวูล์ฟน่าจะเป็นฝ่ายเริ่มโจมตี จากมุมมองนี้ บีออร์นวูล์ฟอาจชิงเอาความได้เปรียบจากการสู้รบของเวสเซ็กซ์ในดุมโนเนียในช่วงฤดูร้อนของปีค.ศ.825 การเคลื่อนไหวของบีออร์นวูล์ฟในการเริ่มโจมตีเป็นการคุกคามความไม่สงบหรือความไม่มั่นคงของฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ สายสัมพันธ์ทางราชวงศ์กับเคนท์ทำให้เวสเซ็กซ์คุกคามอำนาจของเมอร์เชีย
บรรทัด 38:
 
== ความพ่ายแพ้ของเมอร์เชีย ==
[[Fileไฟล์:Entry_for_827_in_the_Anglo-Saxon_Chronicle,_which_lists_the_eight_bretwaldas.gif|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Entry_for_827_in_the_Anglo-Saxon_Chronicle,_which_lists_the_eight_bretwaldas.gif|right|thumb|บันทึกในปีค.ศ.827 ในต้นฉบับซีของพงศาวดารแองโกลแซ็กซอน ไล่รายชื่อเบร็ตวัลด้าแปดคน]]
ในปีค.ศ.829 เอ็กเบิร์ตรุกรานเมอร์เชียและขับไล่วิกลาฟ กษัตริย์แห่งเมอร์เชีย ให้ออกนอกประเทศ ชัยชนะครั้งนี้มอบอำนาจควบคุมโรงกษาปณ์แก่เอ็กเบิร์ตและเขาออกเหรียญในฐานะกษัตริย์แห่งเมอร์เชีย หลังชัยชนะครั้งนี้ที่อาลักษณ์ชาวเวสเซ็กซ์บรรยายถึงเขาว่าเป็น''เบร็ตวัลดา'' หมายถึงผู้ปกครองใหญ่หรืออาจเป็นผู้ปกครองบริเตน ในช่วงตอนที่โด่งดังในพงศาวดารแองโกลแซ็กซอน ตอนสำคัญของจดหมายเหตุในต้นฉบับซีของพงศาวดาร แปลเป็นภาษาอังกฤษปัจจุบันได้ว่า<blockquote>และในปีเดียวกันกษัตริย์เอ็กเบิร์ตพิชิตอาณาจักรแห่งเมอร์เชีย และตอนใต้ของฮัมเบอร์ทั้งหมด และเขาเป็นกษัตริย์ที่เป็นผู้ปกครองใหญ่คนที่แปด</blockquote>ต่อมาในปีค.ศ.829 ตามบันทึกพงศาวดารของแองโกลแซ็กซอน เอ็กเบิร์ตได้รับการสวามิภักดิ์ของชาวนอร์ธัมเบรียที่ดอร์ (ปัจจุบันคือชานเมืองของ[[เชฟฟีลด์|เชฟฟิลด์]]) กษัตริย์นอร์ธัมเบรียอาจจะเป็นอีนเร็ด ตามที่ผู้เขียนพงศาวดารคนต่อมา โรเจอร์แห่งเวนโดเวอร์ บอก เอ็กเบิร์ตรุกรานนอร์ธัมเบรียและปล้นสะดมก่อนที่อีนเร็ดจะยอมสวามิภักดิ์ "เมื่อเอ็กเบิร์ตได้อาณาจักรทางใต้ทั้งหมดมา เขานำกองทัพขนาดใหญ่เข้าสู่นอร์ธัมเบรีย และทำลายอาณาเขตนั้นด้วยการปล้นสะดมที่รุนแรง และทำให้กษัตริย์อีนเร็ดยอมจ่ายบรรณาการ" ทว่าการยอมสวามิภักดิ์ของอีนเร็ดถูกตั้งคำถาม นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งสันนิษฐานว่าดูเหมือนการพบกันที่ดอร์จะแสดงถึงการยอมรับอำนาจในกษัตริย์ของกันและกัน
 
บรรทัด 44:
 
== การเสื่อมอิทธิพลหลังปีค.ศ.829 ==
[[Fileไฟล์:Coin_of_King_Egbert_of_Wessex.JPG|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Coin_of_King_Egbert_of_Wessex.JPG|thumb|เหรียญของกษัตริย์เอ็กเบิร์ต]]
ในปีค.ศ.830 เมอร์เชียกอบกู้เอกราชของตนภายใต้การนำของวิกลาฟ พงศาวดารบอกเพียงว่าวิกลาฟ "ได้อาณาจักรเมอร์เชียกลับมาอีกครั้ง" แต่คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดคือเป็นผลมาจากการก่อกบฏต่อการปกครองโดยเวสเซ็กซ์ของเมอร์เชีย
 
บรรทัด 51:
ทั้งอำนาจที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงปลายยุค 820 และความล้มเหลวในการรักษาตำแหน่งที่ทรงอำนาจนี้ที่ตามมาได้รับการตรวจสอบโดยนักประวัติศาสตร์ที่มองหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ คำอธิบายที่เป็นไปได้ข้อหนึ่งของเหตุการณ์ของช่วงปีเหล่านั้นคือโชคของเวสเซ็กซ์ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของ[[ราชวงศ์การอแล็งเฌียง|การอแล็งเฌียง]]ในระดับหนึ่ง พวก[[ชาวแฟรงก์|แฟรงก์]]สนับสนุนอีดวูล์ฟเมื่อเขากอบกู้บัลลังก์แห่ง[[ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย|นอร์ธัมเบรีย]]ในปีค.ศ.808 จึงเป็นไปได้ว่าพวกเขาสนับสนุนการเสวยราชสมบัตริของเอ็กเบิร์ตในปีค.ศ.802 เช่นกัน ในอีสเตอร์ปีค.ศ.839 ไม่นานก่อนการตายของเอ็กเบิร์ต เขาได้ติดต่อกับ[[จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา|หลุยส์ผู้ศรัทธา]] กษัตริย์ของพวกแฟรงก์ เพื่อดูแลความปลอดภัยในการเดินทางไปโรม ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับพวกแฟรงก์จึงดูเหมือนส่วนหนึ่งของการเมืองของอังกฤษตอนใต้ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 9
 
การสนับสนุนของการอแล็งเฌียงอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ช่วยให้เอ็กเบิร์ตประสบความสำเร็จทางทหารในช่วงปลายยุค 820 ทว่าเครือข่ายการค้าของพวกไรน์และพวกแฟรงก์ล่มสลายในช่วงเวลาหนึ่งของยุค 820 หรือ 830 และยิ่งกว่านั้น การก่อกบฏปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.830 ต่อต้านหลุยส์ผู้ศรัทธา ชุดแรกของความขัดแย้งภายในอย่างต่อเนื่องที่คงอยู่ตลอดยุค 830 และหลังจากนั้น สิ่งรบกวนเหล่านี้อาจหยุดการสนับสนุนเอ็กเบิร์ตของหลุยส์ ในมุมมองนี้ การถอนตัวของอิทธิพลของแฟรงก์ทำให้แองเกลียตะวันออก, เมอร์เชีย และเวสเซ็กซ์ มองหาสมดุลย์สมดุลทางอำนาจที่ไม่ขึ้นกับการช่วยเหลือจากภายนอก
 
แม้จะสูญเสียอำนาจ แต่ความสำเร็จทางการทหารของเอ็กเบิร์ตเปลี่ยนแปลงพื้นฐานภูมิประเทศทางการเมืองของอังกฤษยุคแองโกลแซ็กซอน เวสเซ็กซ์ยังคงควบคุมอาณาจักรทางตะวันออกเฉียงใต้ อาจเป็นไปได้ว่าไม่รวมเอสเซ็กซ์ และเมอร์เชียไม่ได้อำนาจควบคุมแองเกลียตะวันออกกลับคืนมา ชัยชนะของเอ็กเบิร์ตเป็นเครื่องหมายของการจบตัวตนที่มีเอกราชของอาณาจักรของเคนท์กับซัสเซ็กซ์ อาณาเขตที่พิชิตได้ถูกบริหารดูแลในฐานะอาณาจักรย่อยอยู่ระยะหนึ่ง รวมถึงเซอร์เรย์และอาจจะเอสเซ็กซ์ด้วย แม้เอเธลวูล์ฟจะเป็นกษัตริย์ย่อยภายใต้เอ็กเบิร์ต ชัดเจนว่าเขายังคงรักษาครัวเรือนหลวงที่เดินทางไปทั่วอาณาจักรกับเขาไว้ กฎบัตรที่ออกในเคนท์บรรยายว่าเอ็กเบิร์ตกับเอเธลวูล์ฟเป็น "กษัตริย์ของเวสเซ็กซ์และของประชาชนชาวเคนท์ด้วย" เมื่อเอเธลวูล์ฟตายในปีค.ศ.858 พินัยกรรมของเขายกเวสเซ็กซ์ให้ลูกชายคนหนึ่งและอาณาจักรทางตะวันออกเฉียงใต้ให้ลูกอีกคน ชัดเจนว่าจนกว่าจะถึงหลังปีค.ศ.858 อาณาจักรไม่ได้ผนวกเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ เมอร์เชียยังคงคุกคาม ทว่าลูกชายของเอ็กเบิร์ต เอเธลวูล์ฟ ที่ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งเคนท์ได้มอบที่ดินให้คริสตจักร แคนเทอร์บรี อาจจะเพื่อต่อต้านอิทธิพลของเมอร์เชียที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในเคนท์
บรรทัด 58:
 
== การสืบทอดตำแหน่ง ==
[[Fileไฟล์:Winchestercathedralburialchestegbert.jpg|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Winchestercathedralburialchestegbert.jpg|thumb|แผ่นคำอาลัยในศตวรรษที่ 16 หนึ่งในชุดที่จัดทำโดยบิชอปฟ็อกซ์ในมหาวิหารวินเชสเตอร์ ที่อ้างว่ามีกระดูกของเอ็กเบิร์ตอยู่]]
ที่สภาที่คิงสตันเหนือเธมส์ในปีค.ศ.838 เอ็กเบิร์ตกับเอเธลวูล์ฟมอบดินแดนให้แก่ประชาคมแห่งวินเชสเตอร์และแคนเทอร์บรีแลกกับการสัญญาว่าจะสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ของเอเธลวูล์ฟ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรี คีโอลน็อธ ยังยอมรับเอ็กเบิร์ตและเอเธลวูล์ฟเป็นนายท่านและผู้พิทักษ์ของอารามภายใต้การควบคุมของคีโอลน็อธด้วย ข้อตกลงนี้ตามมาด้วยกฎบัตรฉบับต่อมาที่เอเธลวูล์ฟรับรองอภิสิทธิ์ของศาสนจักร สันนิษฐานว่าศาสนจักรไ้ด้มองว่าเวสได้มองว่าเวสเซ็กซ์เป็นอำนาจใหม่ทางการเมืองที่ต้องจับมือด้วย คนของศาสนจักรอุทิศตัวให้กับกษัตริย์ในพิธีราชาภิเษก การสนับสนุนของเขามีค่าอย่างแท้จริงในการสถาปนาอำนาจควบคุมของเวสเซ็กซ์และทำให้การสืบทอดตำแหน่งสายเอ็กเบิร์ตราบรื่น ทั้งบันทึกของสภาแห่งคิงสตันและกฎบัตรฉบับอื่นๆของปีนั้น มีวลีที่เหมือนกันที่เป็นเงื่อนไขของการมอบให้ที่ว่า "เราและทายาทของเราจากนี้ตลอดไปจะมีมิตรภาพที่มั่นคงและไม่สั่นคลอนจากอาร์ชบิชอปคีโอลน็อธและเหล่าผู้คนของเขาที่คริสตจักร"
 
แม้จะไม่พบการอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์อื่นๆ แต่เป็นไปได้ว่าน่าจะมีผู้สืบเชื้อสายของเซอร์ดิชที่ยังมีชีวิตอยู่คนอื่นแก่งแย่งอาณาจักร เอ็กเบิร์ตตายในปีค.ศ.839 และพินัยกรรมของเขา ตามการบรรยายที่พบในพินัยกรรมของหลานชายของเขา [[สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช|อัลเฟรดมหาราช]] ยกที่ดินให้กับสมาชิกของตระกูลที่เป็นเพศชายเท่านั้น เพื่อที่จะได้ไม่สูญเสียที่ดินให้ตระกูลหลวงผ่านการแต่งงาน ความมั่งคั่งของเอ็กเบิร์ตที่ได้มาจากการพิชิตคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถซื้อการสนับสนุนของศาสนจักรที่สถาปนาทางตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย ความตระหนี่ของพินัยกรรมของเขาบ่งบอกว่าเขาเข้าใจความสำคัญของความมั่งคั่งส่วนตัวของกษัตริย์ ความเป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ถูกแก่งแย่งในหมู่สายราชวงศ์สาขาต่างกันอยู่บ่อยครั้ง และน่าสังเกตว่าความสำเร็จของเอ็กเบิร์ตทำให้เขามาสามารถรับรองได้ว่าการสืบทอดตำแหน่งของเอเธลวูล์ฟจะไร้ปัญหา นอกจากนี้ประสบการณ์ด้านการเป็นกษัตริย์ในอาณาจักรย่อยที่ก่อตัวขึ้นมาจากการพิชิตฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเอ็กเบิร์ตจะมีค่าต่อเขาเมื่อขึ้นสู่บัลลังก์