ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเกตุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ระวีพล (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 11:
'''พระเกตุ''' ([[อักษรเทวนาครี|เทวนาครี]]: केतु ''เกตุ'') เป็น[[เทวดานพเคราะห์]]องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของ[[พระราหู]] เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม [[พระนารายณ์]]โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์[[น้ำอมฤต]] พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๙ (เลขเก้าไทย) มีอัตราการจรในแต่ละราศีประมาณสองเดือน โคจรย้อนจักราศีเช่นเดียวกับราหู แต่ไม่ได้เล็งกับราหูตลอดเวลาเช่นทางสากลและอินเดีย โดยในส่วนของเกตุมีความสัมพันธ์กับจันทร์ จึงเป็นปัจจัยที่มีความหมายที่คล้ายกับจันทร์ส่วนหนึ่งคือความหวั่นไหว อ่อนไหวได้ง่าย แต่ว่าเป็นขั้นสูงของจันทร์ที่ละเอียดกว่า จึงแทนด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รับรู้ได้ด้วยใจ และเมื่อเกตุไปกุมกับดาวเคราะห์ใดๆ จะทำให้ดาวนั้นเพิ่มการตอบสนองจากการถูกกระทบมากขึ้น เช่นการเกิดอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์อันเกิดจากดาวที่จรมากระทบได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีสิ่งที่เกิดดุจดังเลข ๙ ที่มีลักษณ์ที่ดุจดังน้ำหรือเปลวไฟที่ีที่มีอาการสั่นไหวนั่นเอง
 
พระเกตุเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับ[[โพไซดอน]]ตามเทพปกรณัมกรีก และ[[เนปจูน]]ตามเทพปกรณัมโรมัน