ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธพจน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Budōkan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขของ Budōkan (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย OctraBot
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{พุทธศาสนา}}
'''พุทธพจน์''' แปลว่า ''พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า''
'''พุทธวจน''' (บาลี: พุทฺธวจนํ) หรือ พุทธพจน์ เป็นความหมายเดียวกัน คือ ดำรัส คำพุด คำบอก คำสอน ของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ และพระสงฆ์รุ่นต่อๆ มาทรงจำและนำมาถ่ายทอด (สมัยพุทธกาลใช้การทรงจำยังไม่ได้ใช้เป็นหนังสือ) ดังนั้นถ้าสาวกทรงจำคำพระพุทธเจ้ามาพูด คำนั้นคือพุทธพจน์ พุทธวจน ด้วย เพราะสาวกไม่ได้แต่งขึ้นมาใหม่ เพียงจำมาพูดถ่ายทอดเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ที่พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะ
 
'''พุทธพจน์''' หมายถึงถ้อยคำสำนวนที่[[พระพุทธเจ้า]]ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ[[ธรรม]]หรือ[[วินัย]] ซึ่งเรียกว่า [[นวังคสัตถุศาสน์]] บ้าง [[ปาพจน์]] บ้าง ล้วนเป็น'''พุทธพจน์'''
 
'''พุทธพจน์''' จัดเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องอ้างอิงเทียบเคียงว่าคำสอนใดเป็น[[สัทธรรม]]แท้ (พุทธพจน์) หรือเป็นสัทธรรมเทียม (สัทธรรมปฏิรูป) เพราะคำสอนที่เป็นสัทธรรมแท้นั้นต้องเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด เพื่อกำจัด[[ทุกข์]] เพื่อไม่สั่งสม[[กิเลส]] เพื่อมักน้อย เพื่อ[[สันโดษ]] เพื่อสงัดจากหมู่เพื่อความเพียร และเพื่อเลี้ยงง่าย ถ้าตรงกันข้าม พึงรู้ว่าเป็นสัทธรรมเทียม
 
== ความพิเศษของพุทธพจน์หรือพุทธวจน ==
 
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ
ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต
เป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐<ref>http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7552&Z=7914</ref>
 
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึง
เห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมา
ดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ
เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.<ref>http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7552&Z=7914</ref>
 
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึง
ราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน
พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓<ref>http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6110&Z=6153</ref>
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็น
สิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙<ref>http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=1888&Z=3915</ref>
 
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสีย
แล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เรา
แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วง
ไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตน
เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
เป็นอยู่ อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด
แล.
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘h<ref>http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=1888&Z=3915</ref>