ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัคร สุนทรเวช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 185:
{{wikisource | 1 = คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๓๑/๒๕๓๑ | 2 = คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2531}}
 
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 [[ดำรง ลัทธพิพัฒน์]] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง[[รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน]] ใน[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 ของไทย|รัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์]] ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมาสมัคร ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็น[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 ของไทย|พรรคร่วมรัฐบาล]] เมื่อ พ.ศ. 2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้เขียนบทความว่า ดำรงยิงตนเองให้ถึงแก่ความตายเพื่อหนีความผิดค้าเฮโรอีนข้ามประเทศ [[สมศรี ลัทธพิพัฒน์]] (เกตุทัต) ภรรยาของดำรง<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=5803 นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2526]</ref> มอบหมายให้[[บัณฑิต ศิริพันธุ์]] ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทสมัคร สุนทรเวช<ref>[http://www.naewna.com/news.asp?ID=75059 เปิดใจ "บัณฑิต ศิริพันธุ์" ขอทำงานเพื่อความถูกต้อง ] หนังสือพิมพ์แนวหน้า 14 กันยายน 2550</ref> [[ศาลฎีกา]]มีคำตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2531<ref>[http://library1.nida.ac.th:8000/ipac20/ipac.jsp?session=YE19890817F71.1450&profile=main&uri=link=3100008@!622557@!3100001@!3100002&aspect=basic_search&menu=search&ri=1&source=202.28.16.2@!hznjnl&term=คำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก+แสมัคร'+6+เดือนฐานหมิ่นประมาทดำรง.&index=] คำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก สมัคร 6 เดือนฐานหมิ่นประมาทดำรง, สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ (26 ก.พ.-4 มี.ค.32), (5-11 มี.ค.32) </ref> ว่า สมัครมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 4,000 พัน ทั้งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 7 วัน<ref name="289ข่าวดัง"/>
 
=== กรณีคำแถลงปลอม ===
บรรทัด 202:
ต่อมา จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่าน[[สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย]] พบว่า คำแถลงที่สมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ <ref>[http://news.sanook.com/scoop/scoop_198765.php คอลัมน์ เรียงคนมาเป็นข่าว] สำเนาจาก มติชน 25 ตุลาคม 2550</ref> ต่อมา สมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง <ref>[http://webboard.mthai.com/16/2008-06-25/401288.html วิวาทะ ''สมัคร-ปชป.'' ซัดกันนัว] สำเนาจาก คมชัดลึก 25 มิถุนายน 2551</ref>
 
=== การจัด[[รายการโทรทัศน์]] ===
สมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มวีหนึ่ง (MV1) ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พันตำรวจโท [[ทักษิณ ชินวัตร]]และหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป
 
ก่อนหน้านั้น สมัครได้จัดรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ร่วมกับ[[ดุสิต ศิริวรรณ]] ในเวลา 11.00 น. ทุกวันจันทร์–ศุกร์ ทาง[[โมเดิร์นไนน์ทีวี]] ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งสมัครได้กล่าวว่า พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์]] "เลือกข้างใช่ไหม" จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย น.ต.นาวาตรี ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า พล.อ.เอก เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย และเป็นถึงประธานองคมนตรี<ref>http://board.dserver.org/u/uthaisak/00006286.html</ref> ทำให้สมัครขอยุติรายการดังกล่าวไปด้วยตนเอง
 
=== คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ===
สมัคร และ [[ดุสิต ศิริวรรณ]] ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่ช่อง 5" ทาง [[ททบ.5]] และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูก[[สามารถ ราชพลสิทธิ์]] รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/12/WW65_WW65_news.php?newsid=64145 สองคู่หูกอดคอกันตาย 'ศาลสั่งจำคุก 2ปี'] จาก กรุงเทพธุรกิจ 12 เมษายน พ.ศ. 2550</ref>
 
ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้ สมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่สมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง กระทงละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา<ref>[http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=all4u&month=04-2007&date=11&group=12&gblog=58 คำพิพากษา สมัคร สุนทรเวช /ดุสิต ศิริวรรณ] สำเนาจาก ผู้จัดการออนไลน์ 12 เมษายน 2550 </ref>
 
25 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกสมัคร และดุสิต 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ทั้งคู่ใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป
 
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากถึงแก่ความตาย สำหรับกรณีของดุสิต ศิริวรรณ นั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ให้แก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นให้รอการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำของดุสิตตามที่โจทก์ฟ้องนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม นอกจากนี้ ดุสิตได้ประกอบคุณงามความดี ตลอดจนไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่พิพากษาให้ลงโทษจำคุกดุสิตนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยจึงพิพากษาแก้ให้รอการกำหนดโทษเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56<ref>อ้างอิงจาก: คำพิพากษาฎีกาที่ 7251/2556 วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
คดีระหว่างนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ โจทก์ นายสมัคร สุนทรเวช ที่ 1 นายดุสิต ศิริวรรณ ที่ 2 จำเลย{{ต้องการอ้างอิงเต็ม}}</ref>