ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
== ประวัติ ==
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อฉลองการที่พระราชเทวีประสูติ[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร]] โดยพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" ซึ่งหมายความว่า พระองค์ได้มีพระราชสมภพที่นี่ และได้เป็นพระเจ้าแผ่น แผ่นดิน<ref name="อยุธยา">[http://www.eqplusonline.com/column_detail.php?id=66&PHPSESSID=490bc4d19a741771f849c386628db7ed พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์-พระราชวังบางปะอิน : จากอยุธยา สู่รัตนโกสินทร์] </ref> พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] จนกระทั่ง เสียกรุงให้แก่[[พม่า]]เมื่อปี [[พ.ศ. 2310]] พระที่นั่งองค์นี้จึงถูกปล่อยให้รกร้างไป
 
[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงเสด็จพระราชดำเนินผ่านพระราชวังบางปะอิน เมื่อครั้งเสด็จฯ ประพาสพระนครศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการบูรณะการบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องไม้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ ณ บริเวณที่ตั้งเดิมของพระที่นั่งใรในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยยังคงใช้ชื่อ "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" ดังเดิม
 
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้รื้อพระที่นั่งองค์เดิมลง เพื่อขยายสระน้ำให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระที่นั่งที่สร้างจากเครื่องไม้บริเวณกลางสระน้ำ โดยให้จำลองแบบพระที่นั่งมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" ซึ่งยังคงชื่อพระที่นั่งไว้ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้บูรณะบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งอีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนพื้นและเสาเป็นแบบคอนกรีต แทนเครื่องไม้ซึ่งผุง่ายเมื่ออยู่ในน้ำ พร้อมทั้งให้สร้างพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบกมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์จนถึงปัจจุบัน <ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9470000088668&Page=ALL พระนครศรีอยุธยา], ผู้จัดการออนไลน์, 2 ธันวาคม 2547 </ref>
 
== อ้างอิง ==