ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอชทีทีพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ''' <ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน]</ref> หรือ '''เอชทีทีพี''' ({{lang-en|HyperText Transfer Protocol: HTTP}}) คือ[[โพรโทคอล]]ในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับ[[สารสนเทศ]]ของ[[สื่อผสม]] <ref>http://www.ietf.org/internet-drafts/draft-ietf-httpbis-p1-messaging-05.txt</ref> ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้ง[[เวิลด์ไวด์เว็บ]]
 
การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของ[[เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม]] (W3C) และ[[คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต]] (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่[[เอกสารขอความเห็น]] (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
 
เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่าง[[เครื่องลูกข่าย]]กับ[[เครื่องแม่ข่าย]] ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือ[[เว็บไซต์]] เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทาง[[เว็บเบราว์เซอร์]] [[เว็บครอว์เลอร์]] หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ''[[ตัวแทนผู้ใช้]]'' (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ''ทรัพยากร'' (resource) อย่างเช่นไฟล์[[เอชทีเอ็มแอล]]หรือรูปภาพ จะเรียกว่า ''เครื่องให้บริการต้นทาง'' (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิ[[พร็อกซี]] [[เกตเวย์]] และ[[ทุนเนล]] เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้[[ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต]] (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบน[[อินเทอร์เน็ต]]ก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้
 
ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วย[[เกณฑ์วิธีควkjบคุมควบคุมการขนส่งข้อมูล]] (TCP) ไปยัง[[พอร์ต]]เฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "<code>HTTP/1.1 200 OK</code>" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น
 
ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้[[ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล]] (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ [[ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต]] (URL)) โดยใช้ <tt>http:</tt> หรือ <tt>https:</tt> เป็น[[แผนของตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล|แผนของตัวระบุ]] (URI scheme)
 
บรรทัด 24:
== คำสั่งร้องขอ ==
[[ไฟล์:Http request telnet ubuntu.png|thumb|300px|right|ตัวอย่างข้อความร้องขอเอชทีทีพีที่สร้างใน[[เทลเน็ต]] เน้นสีส่วนหัวและส่วนเนื้อหาของทั้งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับ]]
เอชทีทีพีได้กำหนดคำสั่งร้องขอไว้แปดคำสั่ง (หรือเรียกว่าวิธีการร้องขอ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็น "กริยาการ") แสดงการกระทำที่ต้องการ เพื่อที่จะดำเนินการกับทรัพยากรที่ถูกระบุ สิ่งที่ทรัพยากรนั้นนำเสนอ ไม่ว่าเป็นข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหรือสร้างขึ้นมาแบบพลวัตก็ตาม จะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของเครื่องแม่ข่าย ซึ่งบ่อยครั้งทรัพยากรมักจะสอดคล้องกับ[[ไฟล์]] หรือผลลัพธ์ส่งออกจากโปรแกรมข้างเคียงในเครื่องแม่ข่ายนั้น เครื่องให้บริการเอชทีทีพีจะต้องสามารถใช้คำสั่ง GET และ HEAD ได้เป็นอย่างน้อย <ref>[http://tools.ietf.org/html/rfc2616#section-5.1.1 HTTP 1.1 Section 5.1.1]</ref>
 
;HEAD