ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Heart191 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Dolkungbighead
บรรทัด 56:
[[ไฟล์:Galileo's sketches of the moon.png|thumb|ภาพสเก็ตช์ดวงจันทร์จากการสังเกตของกาลิเลโอ]]
 
จุ[[กล้องโทรทรรศน์]]ได้รับการคิดค้นขึ้นครั้งแรกในประเทศ[[เนเธอร์แลนด์]]เมื่อ [[ค.ศ. 1608]] โดยมีรายละเอียดค่อนข้างหยาบ กาลิเลโอเองก็ได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ของตนขึ้นในปีถัดมาโดยมีกำลังขยายเพียง 3 เท่า ต่อมาเขาได้สร้างกล้องอื่นขึ้นอีกและมีกำลังขยายสูงสุด 30 เท่า<ref name="drake1990">สทิลแมน เดรค (1990). ''Galileo: Pioneer Scientist''. โตรอนโต: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโตรอนโต. ISBN 0-8020-2725-3.</ref> จากเครื่องมือที่ดีขึ้นเขาสามารถมองเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกล ๆ บนโลกได้ดีขึ้น ในยุคนั้นเรียกกล้องโทรทรรศน์ว่า [[กล้องส่องทางไกล]] (Terrestrial telescope หรือ Spyglass) กาลิเลโอยังใช้กล้องนี้ส่องดูท้องฟ้าด้วย เขาเป็นหนึ่งในบรรดาไม่กี่คนในยุคนั้นที่สามารถสร้างกล้องที่ดีพอเพื่อการนี้ วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1609 เขาสาธิตกล้องส่องทางไกลเป็นครั้งแรกให้แก่พ่อค้าชาวเวนิส ซึ่งพวกพ่อค้าสามารถเอาไปใช้ในธุรกิจการเดินเรือและกิจการค้าของพวกเขา กาลิเลโอเผยแพร่ผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ผ่านกล้องส่องทางไกลครั้งแรกในเดือนมีนาคม [[ค.ศ. 1610]] ในบทความสั้น ๆ เรื่องหนึ่งชื่อ ''Sidereus Nuncius'' (''ผู้ส่งสารแห่งดวงดาว'')
 
วันที่ [[7 มกราคม]] [[ค.ศ. 1610]] กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลของเขาเฝ้าสังเกตบางสิ่งที่เขาบรรยายในเวลานั้นว่าเป็น "ดาวนิ่ง ๆ สามดวงที่มองไม่เห็น{{fn|2}} เพราะมีขนาดเล็กมาก" ดาวทั้งสามดวงอยู่ใกล้กับ[[ดาวพฤหัสบดี]] และตั้งอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด<ref name="drake1978">สทิลแมน เดรค (1978). ''Galileo At Work''. ชิคาโก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชิคาโก. ISBN 0-226-16226-5</ref> การสังเกตการณ์ในคืนต่อ ๆ มาปรากฏว่า ตำแหน่งของ "ดาว" เหล่านั้นเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดีมีการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ไม่สามารถอธิบายได้หากพวกมันเป็น[[ดาวฤกษ์]]จริง ๆ วันที่ 10 มกราคม กาลิเลโอบันทึกว่า หนึ่งในดาวทั้งสามได้หายตัวไป ซึ่งเขาอธิบายว่ามันไปหลบอยู่ด้านหลังดาวพฤหัสบดี ภายในเวลาไม่กี่วันเขาก็สรุปได้ว่าดาวเหล่านั้นโคจรรอบดาวพฤหัสบดี{{fn|3}} กาลิเลโอได้ค้นพบดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีสามในสี่ดวง คือ [[ไอโอ]] [[ยูโรปา]] และ[[คัลลิสโต]] ต่อมา เขาค้นพบดาวบริวารดวงที่สี่คือ[[แกนีมีด]] ในวันที่ [[13 มกราคม]] กาลิเลโอตั้งชื่อดาวบริวารทั้งสี่ที่เขาค้นพบว่าเป็น ''ดาวเมดิเซียน'' เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้อุปการะของเขา คือ [[โคสิโมที่ 2 เดอ เมดิชิ]] แกรนด์ดยุคแห่ง[[แคว้นทัสกานี|ทัสกานี]] และน้องชายของเขาอีกสามคน<ref name="sharrat" /> แต่ต่อมาในภายหลัง นักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อแก่ดวงจันทร์เหล่านั้นเสียใหม่ว่า ''ดวงจันทร์กาลิเลียน'' เพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอเอง
บรรทัด 156:
[[ไฟล์:GallileoTomb.jpg|thumb|200px|สุสานของกาลิเลโอ กาลิเลอี ที่[[มหาวิหารซันตาโกรเช]]]]
 
กาลิเลโอเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1642]] รวมอายุ 77 ปี [[แฟร์ดีนันโดที่ 2 เด เมดีชี แกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี]] ต้องการฝังร่างของเขาไว้ในอาคารหลักของ[[มหาวิหารซันตาโกรเช]] ติดกับหลุมศพของบิดาของท่านและบรรพชนอื่น ๆ รวมถึงได้จัดทำศิลาหน้าหลุมศพเพื่อเป็นเกียรติด้วย<ref name="funeral">Shea, William R. and Artigas, Mario (2003). ''Galileo in Rome: The Rise and Fall of a Troublesome Genius''. Oxford: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด. ISBN 0-19-516598-5.; Sobel, Dava (2000) [1999]. ''Galileo's Daughter''. London: Fourth Estate. ISBN 1-85702-712-4.</ref> แต่แผนการนี้ไม่สำเร็จ เนื่องจากถูก[[สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8]] และหลานของพระองค์คือพระคาร์ดินัลฟรานเชสโก บาร์เบรินี คัดค้าน<ref name=funeral /> เขาจึงต้องฝังร่างอยู่ในห้องเล็ก ๆ ถัดจากโบสถ์น้อยของโนวิซที่ปลายสุดโถงทางเดินทางปีกด้านใต้ของวิหาร<ref name=funeral /> ภายหลังเขาได้ย้ายหลุมศพไปไว้ยังอาคารหลักของมหาวิหารในปี ค.ศ. 1737 หลังจากมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา<ref name=funeral />
 
คำสั่งห้ามการพิมพ์ผลงานของกาลิเลโอได้ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1718 โดยได้มีการอนุญาตตีพิมพ์งานหลายชิ้นของเขา (รวมถึง ''Dialogue'') ในเมืองฟลอเรนซ์<ref name="heilbron">Heilbron, John L. (2005). ''Censorship of Astronomy in Italy after Galileo''. In McMullin (2005, pp.279–322).</ref> ปี ค.ศ. 1741 [[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14]] ทรงอนุญาตให้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ของกาลิเลโอได้<ref name="complete works 1">มีงานพิมพ์สองชิ้นที่ไม่ใช่งานทางวิทยาศาสตร์ คือ ''Letters to Castelli'' และ ''Letters to Grand Duchess Christina'', ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในการอนุญาตตีพิมพ์คราวนี้; Coyne, George V., S.J. (2005). ''The Church's Most Recent Attempt to Dispel the Galileo Myth''. In McMullin (2005, pp.340–359). </ref> รวมถึงงานเขียนต้องห้ามชุด ''Dialogue'' ด้วย<ref name="heilbron" /> ปี ค.ศ. 1758 งานเขียนต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลซึ่งเคยถูกแบนมาก่อน ได้ถูกยกออกไปเสียจากรายการหนังสือต้องห้าม แต่ยังคงมีการห้ามเป็นพิเศษสำหรับหนังสือ ''Dialogue'' และ ''De Revolutionibus'' ของโคเปอร์นิคัสอยู่<ref name="heilbron" /> การห้ามปรามงานตีพิมพ์เกี่ยวกับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลได้สูญหายไปจนหมดในปี ค.ศ. 1835{{fn|9}}