ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานพระพุทธยอดฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6775345 สร้างโดย 1.46.136.93 (พูดคุย)
บรรทัด 48:
[[ไฟล์:SapanBhud.jpg|thumb|300px|ภาพสะพานพระพุทธยอดฟ้าในอดีต]]
 
'''สะพานพระพุทธยอดฟ้า''' เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 7) เมื่อปี [[พ.ศ. 2472]] เนื่องในโอกาสสถาปนา[[กรุงเทพมหานคร]]ครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ผู้ทรงสถาปนา[[กรุงเทพมหานคร]] โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] และสร้างสะพานข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]เชื่อม[[จังหวัดพระนคร]]กับ[[จังหวัดธนบุรี|ธนบุรี]]เข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบ[[พระบรมราชานุสาวรีย์]] และสะพานข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ขึ้นประกอบกันเป็น[[ปฐมบรมราชานุสรณ์]]ที่ปลาย[[ถนนตรีเพชร]] ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจาก[[สะพานพระราม 6]] ที่สร้างในสมัย[[รัชกาลที่ 6]]
 
โครงการสร้าง[[พระบรมราชานุสาวรีย์]]และสะพานได้เริ่มตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2471]] โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์]] (ต่อมาเป็นกรมพระยา) อุปนายก[[ราชบัณฑิตยสภา]] ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปกรรมคิดแบบอย่างเป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์เสด็จประทับเหนือพระราชบัลลังก์และหล่อด้วย[[ทองสำริด]] ขนาดสูงตั้งแต่ฐานถึงยอด 4.60 [[เมตร]] ฐานกว้าง 2.30 เมตร ส่วนสะพานข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (ต่อมาคือ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน]]) เสนาบดี[[กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม]] ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยได้เลือกแบบของบริษัทดอรแมนลอง [[ประเทศอังกฤษ]] และสร้างเป็นสะพานเหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร และอาจยกตอนกลางขึ้นด้วย[[พลังงานไฟฟ้า|แรงไฟฟ้า]] เปิดช่องกว้าง 60 เมตรเพื่อให้เรือใหญ่ผ่านได้สะดวก [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2472]] และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานว่า '''สะพานพระพุทธยอดฟ้า'''
 
รัฐบาลได้ประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ไว้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง รัฐบาลส่วนหนึ่ง ส่วนอีกจำนวนหนึ่งนั้นทรงพระราชดำริว่าควรบอกบุญเรี่ยไรประชาชน เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]]<ref>{{cite journal |author= Duncan Stearn |year= | date = 30 May – 5 June 2003
| title = A Slice of Thai History : The air war over Thailand, 1941-1945 ; Part Two, The Allies attack Thailand, 1942-1945 |journal= Pattaya Mail |volume= XI |issue= 21 |pages= |publisher= Pattaya Mail Publishing Co |doi= |pmid= |pmc= |url= http://www.pattayamail.com/513/columns.shtml#hd6 |accessdate= 17 February 2012}}</ref><ref name="bureau of maintenance">{{cite web|title=Memorial Bridge|url=http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_memorial.htm |publisher=Bureau of Maintenance and Traffic Safety, Thailand|archiveurl=https://web.archive.org/web/20080528064539/http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_eng_memorial.html | archivedate=28 May 2008|accessdate=10 December 2014}}</ref>
 
== ปัจจุบัน ==