ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:NationalMemorial.jpg|thumb|200px|อนุสรณ์สถานแห่งชาติ]]
 
'''อนุสรณ์สถานแห่งชาติ''' สร้างขึ้นในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บูรพมหากษัตริย์และวีระชนไทยผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ช่วง[[ถนนวิภาวดีรังสิต]] บรรจบกับ[[ถนนพหลโยธิน]] ตำบลคูคต [[อำเภอลำลูกกา]] [[จังหวัดปทุมธานี]] ในพื้นที่ 38 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร [[สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ]] [[กองบัญชาการกองทัพไทย]] [[กระทรวงกลาโหม]]
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:ในหลวงทรงวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ.jpg|thumb|700|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <br />เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ [[20 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2526]]]]
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของ [[สายหยุด เกิดผล|พลเอก [[สายหยุด เกิดผล]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] ว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่างๆต่าง ๆ เช่น [[อนุสาวรีย์ทหารอาสา]] เป็นที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1, [[อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ]] สำหรับเหตุการณ์ปราบ[[กบฏบวรเดช]], [[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] สำหรับกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง เช่น [[สงครามเกาหลี]] [[สงครามเวียดนาม]] การปราบปรามผู้ก่อการร้าย มีผู้เสียชีวิตทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเป็นประจำทุกปี แต่อัฐิของผู้พลีชีพเพื่อชาติเหล่านี้ยังคงเก็บรวบรวมไว้ และยังมิได้จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ
 
กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติเป็นส่วนรวม โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ [[20 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2526]] เวลา 16.30 น เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2537]] และพระราชทานนามสถานที่นี้ว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ"
 
==วัตถุประสงค์==
# เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ และจารึกนามผู้กล้าหาญเหล่านี้ไว้ให้สถิตสถาวรสืบไป
# เพื่อเป็นสถานที่แสดงประวัติวีรกรรม และเหตุการณ์รบครั้งสำคัญต่างๆต่าง ๆ
# เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นในอดีต อันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
# เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ และ พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป
บรรทัด 19:
อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
===ลานประกอบพิธี===
เป็นพื้นที่สำหรับตั้งแถวทหารกองเกียรติยศได้ 3 กองร้อย เพื่อต้อนรับประมุข หรือบุคคลสำคัญของประเทศและต่างประเทศที่มาเยือนอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการ นอกจากนี่ยังใช้สำหรับวางพวงมาลาในพิธีสำคัญต่างๆต่าง ๆ บนลานประกอบพิธีประดับธงกองบัญชาการกองทัพไทย ธงกองทัพบก ธงกองทัพเรือ ธงกองทัพอากาศ ธงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธงกองอาสารักษาดินแดน ส่วนด้านข้างประดับธงชาติไทยสลับกับธงชาติของประเทศที่มาเยือน
 
===อาคารประกอบพิธี===
อาคารประกอบพิธีแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาทรงไทย ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร ใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีสำคัญของชาติ มีสิ่งสำคัญดังนี้
# ดวงโคมนิรันดร์ประภา
# พระบรมรูปมหาราช 9 พระองค์
# บทโคลงพระราชนิพนธ์
# ภาพการก่อตั้งราชธานี
บรรทัด 30:
# ภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์
 
โดยใต้ดวงโคมนิรันดร์ประภาบรรจุดินจากสมรภูมิสำคัญในอดีต รวม 10 แห่ง ได้แก่
* ดินสมรภูมิไทยรบขอม สมัยสุโขทัย
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ในศึกบางระจัน พ.ศ. 2308
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น พ.ศ. 2310
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่ตำบลบางแก้ว ราชบุรี ในศึกบางแก้ว พ.ศ. 2317
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี ในสงคราม 9 ทัพ พ.ศ. 2328
บรรทัด 40:
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2345
* ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่เมืองเชียงแสน พ.ศ. 2347
* ดินสมรภูมิไทยรบลาว ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ นครราชสีมา พ.ศ. 2369
 
ซึ่งดินที่นำมาบรรจุนี้เป็นดินจากสถานที่เกิดสมรภูมิจริง โดยกรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการตรวจสอบชั้นดิน เพื่อให้ได้ดินที่อยู่ในช่วงเวลานั้นจริงๆจริง ๆ
 
===อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร===
บรรทัด 50:
ภายในอาคารประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ทหาร มีการจัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 4 ชั้น ดังนี้
* ชั้นที่ 1 จัดเป็นห้องเกียรติยศตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เพื่อเชิดชูเกียรติและวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือน ที่ปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญกล้าหาญ เพื่อปลุกใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึง และ จัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สงครามสมัยใหม่ที่กองทัพไทยได้ปฏิบัติการรบครั้งสำคัญ 5 สงคราม คือ
** [[สงครามโลกครั้งที่ 1]] จำลองเหตุการณ์ กองทหารไทยสวนสนามผ่านประตูชัย ณ [[กรุงปารีส]]
** [[กรณีพิพาทอินโดจีน]] จำลองเหตุการณ์ [[ยุทธนาวีเกาะช้าง]]
** [[สงครามมหาเอเซียบูรพา]] จำลองเหตุการณ์ วีรกรรมกองบินน้อยที่ 5
** [[สงครามเกาหลี]] จำลองเหตุการณ์ การรบที่เขาพอร์คชอพ
** [[สงครามเวียดนาม]] จำลองเหตุการณ์ การรบในป่าเวียดนาม
* ชั้นที่ 2 กำแพงแก้วรอบระเบียงได้จารึกนามผู้กล้าหาญซึ่งเสียชีวิตจากการรบ เพื่อป้องกันประเทศในสงครามต่าง ๆ รวมทั้งผู้ปฏิบัติการป้องกันผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ รวมจำนวนขณะนี้ 6,121 ชื่อ ภายในอาคารชั้นที่ 2 จัดสร้างเป็นห้องพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติจอมทัพไทย แสดงพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวเนื่องกับกองทัพ และ กรณียกิจของกองทัพเพื่อสนองโครงการในพระราชดำริ
* ชั้นที่ 3 จัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 14 เหตุการณ์
* ชั้นที่ 4 จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และส่วนประกอบของเครื่องแบบทหาร โดยมีการจัดแสดงดังนี้
*# จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายโดยใช้หุ่นจัดแสดง และภาพประกอบ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 สมัยคือ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยปัจจุบัน จำนวน 15 หุ่น
*# จัดแสดงส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น หน้าหมวก อินทรธนู เครื่องหมายยศ กระดุม เครื่องหมายเหล่า และเครื่องหมายสังกัด
*# จัดแสดงหุ่นเท่าคนจริงแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จำนวน 4 หุ่น คือ หุ่นทหารบก หุ่นทหารเรือ หุ่นทหารอากาศ และหุ่นตำรวจ
*# การนำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องจักรคำนวณ และวีดิทัศน์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และเครื่องประกอบการแต่งกายของทหารตำรวจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
===อาคารภาพปริทัศน์===
เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง 4.๓๐30 เมตร ยาว ๙๐90 เมตร ฝีมือนายปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ กับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษ ที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องและรักษาเอกราชของชาติ
 
===ภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง===
เป็นการจัดและตกแต่งพื้นที่บริเวณภายนอกอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ให้สวยงามและเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
# ส่วนภูมิสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย
## รั้ว อยู่ทางถนนวิภาวดีรังสิต ด้านถนนพหลโยธิน และด้านที่ติดกับที่ดินของเอกชน
## ประตู มีทั้งหมด 4 ประตู ด้านถนนวิภาวดีรังสิต 2 ประตู และด้านถนนพหลโยธิน 2 ประตู ลักษณะบานประตูเป็นโลหะอัลลอยด์โปร่งรูปอาวุธโบราณ และธงสามชาย
## ป้ายชื่อ มี 2 ป้าย อยู่กึ่งกลางรั้วด้านถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน จารึกคำว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" ด้านล่างเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสูง 20 เซนติเมตร จารึกคำว่า "National Memorial"
## ป้อมยาม มีทั้งหมด 4 ป้อม อยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า - ออก ทั้ง 4 ด้าน
## สวนพักผ่อน
บรรทัด 87:
## สะพานเครื่องหนุนมั่น
 
นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการ[[เกมโชว์]]ทาง[[โทรทัศน์]] ''[[อัจฉริยะข้ามคืน]]'' [[อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 29|ล้านที่ 29]] อีกด้วย
 
== อ้างอิง ==
{{ภาพถ่ายทางอากาศ|url=http://maps.google.com/maps?t=k&q=Thailand&ll=13.951581,100.621473&spn=0.005008,0.010729&t=k}}
{{Geolinks-bldg|13.951581|100.621473}}
 
 
{{สร้างปี|2537}}