ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6854406 สร้างโดย 101.51.29.46 (พูดคุย)
บรรทัด 25:
== พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลไทย ==
สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมณะศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ราชอาณาไทย ทรงเป็นองค์ประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย
 
=== สมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา ===
 
ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น'''สกลมหาสังฆปริณายก''' มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมี[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]] เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย[[คามวาสี]] เป็นพระสังฆราชขวา [[สมเด็จพระวันรัต]]เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย[[อรัญวาสี]] เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในปลาย[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่[[ประเทศศรีลังกา|ลังกาทวีป]] มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับ[[สมณศักดิ์]]สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช [[พระเจ้าเอกทัศน์]]มีพระราชดำริให้คง[[ราชทินนาม]]นี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น '''สมเด็จพระอริยวงษญาณ''' ใน[[สมัยกรุงธนบุรี]] และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น "[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ]]" ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
เส้น 35 ⟶ 33:
เมื่อครั้ง[[กรุงสุโขทัย]]เป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์เสด็จออกไปครองเมือง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีพระสังฆราชพระองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฏเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็น[[สังฆปาโมกข์]]
 
พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษา[[พระธรรมวินัย]] เรียกว่าคามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่าอรัญวาสี [[ภิกษุ]] แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมี[[พระราชาคณะ]]ปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า[[สมเด็จพระราชาคณะ]]
 
=== สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ===
 
{{ดูเพิ่มที่|รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์}}