ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทวสถานโบสถ์พราหมณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phassara123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 10:
== สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ==
เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า จะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป พระพรหม (พระผู้สร้าง) ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2515 ภายในเทวสถาน จะมีโบสถ์อยู่ 3 หลัง คือ<ref name="ประวัติ"/>
# สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัยพระพรหม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน รูปพระอิศวร (พระศิวะ) พระแม่อุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย ภายในสถานพระอิศวร มีเทวรูป พระอิศวร (พระศิวะ) ทำด้วยสำริด ประทับยืน ปางประทานพร โดยยกพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง และยังมีเทวรูปขนาดกลางอีก 31 องค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจา มีเทวรูป ศิวลึงค์ 2 องค์ ทำด้วยหินสีดำ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูป พระพรหม 3 องค์ พระราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 มี พระสรัสวดี 1 องค์ (พระแม่สุรัสวดี หรือ สรัสวตี นี้ นายลัลลาล ประสาททวยาส ชาวอินเดียเป็นผู้ถวาย เมื่อประมาณ 20 ปี มานี้) สองข้างแท่นลด มีเทวรูป พระอิศวรทรงโคนันทิ และ พระอุมาทรงโคนันทิ เป็นศิลปะปูนปั้นโบราณมีมาแล้วก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระอิศวร พระนางอุมา พระคเณศ) วันแรม 5 ค่ำ เดือนยี่ (พระนารายณ์) และวันแรม 3 ค่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีช้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพมุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ พระนักษัตร
# สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัยพระพรหม)
# สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง)
# สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม)