ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
[[ไฟล์:คลองผดุงกรุงเกษม179.jpg|thumbnail|คลองผดุงกรุงเกษม]]
#คลองบางซื่อ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคันคลองประปา แยกจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]บริเวณใกล้กับท่าน้ำเกียกกาย ไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่[[เขตบางซื่อ]]และ[[เขตดุสิต]] ตัดกับคลองเปรมประชากรและคลองประปา หลังจากนั้นลำคลองมีลักษณะตรงเข้าไปในพื้นที่[[เขตพญาไท]]และ[[เขตดินแดง]] ก่อนไปบรรจบกับ[[คลองลาดพร้าว]]ในพื้นที่[[เขตห้วยขวาง]] ในอดีตคลองบางซื่อสามารถใช้สัญจรทางน้ำได้ตลอดทั้งสาย ปัจจุบันชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองยังคงใช้เรือสัญจรไปมาอยู่บ้างในระยะทางใกล้ ๆ เนื่องจากมีแนวคลองประปากีดขวางและการสัญจรทางบกสะดวกขึ้นมาก สภาพของคลองในปัจจุบันมีความกว้างประมาณ 12-20 เมตร แต่น้ำมีสีขุ่นดำและมีสภาพเน่าเสีย
# [[คลองประปา]] เป็นคลองขุด เริ่มต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ไหลเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอปากเกร็ด และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี กับเขตดอนเมือง เขตหลักสี่ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จากนั้นไหลเข้าสู่เขตบางซื่อ เขตดุสิต ไปจดคลองสามเสนที่เขตพญาไท
#คลองสามเสน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองบางกระสัน
#[[คลองเปรมประชากร]] จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองบางซื่อ
บรรทัด 25:
#คลองบางกะปิ จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (หลักเขตที่ 6) แยกจาก[[คลองแสนแสบ]]ฝั่งซ้าย โดยเริ่มต้น แยกจากคลองแสนแสบฝั่งซ้าย ไหลไปทางทิศเหนือ ก่อนไปบรรจบกับ[[คลองสามเสน]] คลองบางกะปิสายปัจจุบันแต่เดิมเป็นคลองที่ใช้สำหรับสัญจรทางน้ำ ในปัจจุบันไม่ได้ใช้สัญจรแล้ว ลำคลองในปัจจุบันกว้างประมาณ 10 - 12 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย เนื่องจากมีคนมักง่ายชอบทิ้งขยะลงคลอง โดยล่าสุดทางกรุงเทพมหานครได้ติดป้ายสาปแช่งผู้ที่ทิ้งขยะลงคลองบางกะปิ โดยสาปแช่งให้ผู้ที่ทิ้งขยะลงคลองจงมีแต่ปัญหาและอุปสรรคตลอดเวลา{{อ้างอิง}}
#[[คลองแสนแสบ]] ขุดขึ้นเพื่อเชื่อม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]กับ[[แม่น้ำบางปะกง]]
# คลองสามเสน แยกจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ฝั่งพระนครบริเวณใกล้ๆกับ[[วังศุโขทัย]] แขวงวชิรพยาบาล [[เขตดุสิต]] ลำคลองไหลผ่านเข้าพื้นที่[[เขตพญาไท]] [[เขตดินแดงราชเทวี]] [[เขตราชเทวีดินแดง]] และไปบรรจบ[[คลองแสนแสบ]]ที่[[เขตห้วยขวาง]] ในอดีตคลองสามเสนสามารถใช้สัญจรทางน้ำได้ แต่ในปัจจุบันไม่มีการสัญจรทางน้ำแล้ว คลองสามเสนช่วงพื้นที่เขตดุสิตจนถึงช่วงตัดคลองประปามีความกว้างประมาณ 8 - 15 เมตร ส่วนความกว้างคลองช่วงตัดคลองประปาจนถึงช่วงผ่านบึงมักกะสันประมาณ 4 - 8 เมตร และช่วงตั้งแต่บึงมักกะสันจนถึงช่วงออกคลองแสนแสบมีความกว้างประมาณ 8 - 12 เมตร สภาพน้ำในคลองช่วงที่สะอาดที่สุดคือช่วงปากคลอง เนื่องจากเป็นช่วงที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา และช่วงที่ตัดกับคลองประปา เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงที่คลองประปาไหลมาบรรจบและน้ำถูกปล่อยจากคลองประปาลงในคลองสามเสน จึงเป็นผลทำให้สภาพน้ำในคลองช่วงนี้สะอาด ส่วนสภาพน้ำในคลองช่วงที่เน่าเสียนั้น เริ่มมีสภาพเน่าเสียตั้งแต่ช่วงที่ไหลผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นต้นไป นอกจากนี้ คลองสามเสนช่วงที่ไหลผ่านระหว่างสามเหลี่ยมดินแดงจนถึงบึงมักกะสันก็ยังมีการสร้างเขื่อนดาดท้องคลองขวางไว้ด้วย ทำให้คนทั่วไปที่เห็นภาพนี้แทบไม่เชื่อเลยว่าเคยเป็นคลองที่ใช้สำหรับสัญจรทางน้ำมาก่อน และเป็นการบ่งบอกให้เห็นว่า คลองเก่าแก่สายนี้กำลังถูกทำลายจากนโยบายป้องกันน้ำท่วมของ กทม. รวมถึงผู้ที่ทำลายธรรมชาติรายอื่นๆด้วย
#คลองท่าวาสุกรี จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นคลองสายสั้นๆที่ผ่านในบริเวณท่าวาสุกรี และวัดราชาธิวาสวิหาร แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณข้างๆท่าวาสุกรี และไหลไปทางถนนสามเสน ตลอดแนวคลองขนานไปกับรั้วท่าวาสุกรี และไปสิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คลองท่าวาสุกรีมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า"คลองท่อ" ลำคลองมีความกว้างประมาณ 6 - 12 เมตร สภาพน้ำในคลองขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันยังคงมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยอยู่ในคลอง (ซึ่งในบางครั้งอาจมีปลาบางชนิดที่หลงมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาอาศัยอยู่ในคลองด้วย) และเป็นที่อยู่อาศัยของตะกวดและตัวเงินตัวทองอีกด้วย
#คลองหัวลำโพง จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองเตย ในอดีตเป็นคลองสายสำคัญสายหนึ่ง โดยเป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4 เมื่อปี [[พ.ศ. 2400]] โดยขุดจาก[[คลองผดุงกรุงเกษม]] ไปทางทิศตะวันออก และไปบรรจบ[[คลองเตย]]และ[[คลองพระโขนง]] โดยนำดินที่ขุดคลองดังกล่าวมาถมสร้างเป็นถนนขนานไปกับคลอง นั่นคือ'''''ถนนตรง''''' หรือ'''''[[ถนนพระรามที่ 4]]''''' ในปัจจุบัน ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนพระรามที่ 4 และเป็นผลทำให้คลองหัวลำโพงที่ขนานอยู่ริมถนนต้องถูกถมทิ้งเพื่อขยายถนน ซึ่งทำให้ถนนพระรามที่ 4 มีขนาดกว้างใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ ส่วนคลองหัวลำโพงในปัจจุบันปรากฏให้เห็นเพียงแค่ช่วงระหว่างคลองเตยถึงคลองพระโขนงเท่านั้น
บรรทัด 41:
#คลองบางทองหลาง จากคลองสามเสน ถึงถนนองครักษ์
#คลองส้มป่อย จากคลองสามเสน คลองบางกะปิ ถึงถนนราชวัตรเก่า ถนนเพชรบุรี
#คลองอั้งโล่ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงโรงพยาบาลวชิรพยาบาลวชิระ
#คลองวัดส้มเกลี้ยง จากแม้น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนขาว
#คลองวัดราชาธิวาส จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
บรรทัด 86:
#คลองกุ่ม เป็นคลองที่แยกออกจากฝั่งซ้ายของ[[คลองแสนแสบ]]เชื่อมต่อไปยัง[[บึงเสรีไทย]]และ[[บึงกุ่ม]] ซึ่งตั้งอยู่ใน[[เขตบึงกุ่ม]]
#[[คลองคูเมืองเดิม]] เป็นคลองคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่[[ปากคลองตลาด]]
#คลองจั่น เป็นคลองที่แยกออกจากฝั่งซ้ายของ[[คลองแสนแสบ]] และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองแกครองระหว่าง[[แขวงคลองจั่น]] [[เขตบางกะปิ]] กับ [[แขวงวังทองหลาง]] และ[[แขวงพลับพลา]] [[เขตวังทองหลาง]] ที่มาของชื่อคลองจั่น คือ ในสมัยก่อนบริเวณคลองจั่นด้านที่เชื่อมกับคลองแสนแสบมีฝูงจักจั่นจำนวนมาก ผู้คนจึงเรียกคลองนี้ว่าคลองปากจั่น ต่อมาจึงมีการเรียกและแผลงมาเป็นคลองจั่นในที่สุด
#คลองชวดใหญ่ ถือเป็นคลองสายสำคัญสายหนึ่งในเขตห้วยขวาง แยกจาก[[คลองสามเสน]]ฝั่งซ้าย ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือผ่าน[[ถนนพระราม 9]] จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกและไปบรรจบ[[คลองลาดพร้าว]] คลองชวดใหญ่ในอดีตสามารถใช้สัญจรทางน้ำได้ ลำคลองในปัจจุบันกว้างประมาณ 8 - 16 เมตร
# คลองทรงกระเทียม เป็น[[คลอง]]สาขาของ[[คลองลาดพร้าว]] แยกจากคลองลาดพร้าวบริเวณใกล้ ๆ กับ[[วัดลาดพร้าว]] ผ่าน[[โรงพยาบาลเปาโลสยาม]] [[ถนนโชคชัย 4]] [[ถนนนาคนิวาส]] [[ถนนประดิษฐ์มนูธรรม]] ไปบรรจบกับ[[คลองจั่น]] ในปัจจุบันลำคลองกว้างประมาณ 6 - 13 เมตร มีสภาพตื้นเขิน เมื่อฝนตกมักจะเกิดน้ำท่วมเสมอ
#คลองน้ำแก้ว เป็นคลองสายรองที่แยกมาจาก[[คลองพญาเวิก]] ไหลผ่าน[[ถนนรัชดาภิเษก]] [[ถนนลาดพร้าว]] ก่อนไปบรรจบ[[คลองลาดพร้าว]] คลองน้ำแก้วมีความกว้างประมาณ 4 - 8 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง[[เขตดินแดง]]และ[[เขตห้วยขวาง]] กับ[[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
#คลองพญาเวิก เป็นคลองในพื้นที่[[เขตดินแดง]]และ[[เขตจตุจักร]] แยกออกจาก[[คลองบางซื่อ]] ไหลไปทางทิศเหนือก่อนไปสิ้นสุดที่[[ถนนลาดพร้าว]] คลองพญาเวิกมีความกว้างประมาณ 3 - 7 เมตร สภาพน้ำเน่าเสีย
#คลองบางเขน เป็นคลองที่แยกมาจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ฝั่งตะวันออกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก ในช่วงแรกลำคลองมีลักษณะเป็นคลองคดเคี้ยวคล้ายกับ[[คลองพระโขนง]] หลังจากนั้นลำคลองมีลักษณะตรงมากขึ้น ตัดผ่านคลองสายสำคัญได้แก่ คลองบางเขนใหม่ [[คลองประปา]] คลองลาดโตนด และ[[คลองเปรมประชากร]] ก่อนจะไปบรรจบกับ[[คลองบางบัว]] ปัจจุบันคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลสวนใหญ่ ตำบลบางเขน [[อำเภอเมืองนนทบุรี]] [[จังหวัดนนทบุรี]] กับแขวงวงศ์สว่าง [[เขตบางซื่อ]] [[กรุงเทพมหานคร]] และระหว่าง[[แขวงทุ่งสองห้อง]] แขวงตลาดบางเขน [[เขตหลักสี่]] กับ[[แขวงลาดยาว]] แขวงเสนานิคม [[เขตจตุจักร]] กรุงเทพมหานคร
#คลองบางเขนใหม่ เป็นคลองที่แยกจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ฝั่งพระนคร [[เขตบางซื่อ]] จากนั้นไหลขึ้นไปทางทิศเหนือและไปบรรจบกับ[[คลองบางเขน]] ปัจจุบันลำคลองกว้างประมาณ 10 - 16 เมตร ปัจจุบันใช้สำหรับการระบายน้ำจากคลองบางเขนเมื่อเกิดน้ำท่วม
# คลองบางซ่อน เป็นคลองใน[[เขตบางซื่อ]] แยกจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ฝั่งขวา ไหลผ่าน[[ถนนประชาราษฎร์สาย 1]] ไปบรรจบท้าย[[คลองวัดเสาหิน]] ในขณะเดียวกันคลองวัดเสาหินนี้ก็มีชื่อเรียกว่าคลองบางซ่อนเหมือนกัน จึงถือว่าคลองวัดเสาหินก็เป็นคลองบางซ่อนช่วงที่ 2 โดยไหลไปบรรจบกับ[[คลองบางเขน]] ส่วนคลองบางซ่อนช่วงที่ 1 (ช่วงแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบคลองวัดเสาหิน) ก็มีชื่อเรียกอีกชื่อคือ คลองกระดาษ คลองบางซ่อนมีความกว้างในปัจจุบันประมาณ 10 - 13 เมตร ช่วงท้ายคลองน้ำเน่าเสีย