ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 2:
'''สถาปัตยกรรมไทย''' หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน [[โบสถ์]] [[วิหาร]] [[วัง]] [[สถูป]] และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตาม[[ภูมิศาสตร์]] และคตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ '''สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์''' และ '''สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์'''
 
== รูปแบบ'''กรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย''' ได้แก่ บ้านเรือน [[ตำหนัก]]วัง และ[[พระราชวัง]] เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือน4543532 ==
== รูปแบบ ==
* '''สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย''' ได้แก่ บ้านเรือน [[ตำหนัก]]วัง และ[[พระราชวัง]] เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ [[เรือนเครื่องผูก]] และ [[เรือนเครื่องสับ]]
 
ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์
 
* '''สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา'''
ได้แก่ [[โบสถ์]], [[วิหาร]], [[กุฏิ]], [[หอไตร]], [[หอระฆัง]]และ[[หอกลอง]], [[สถูป]], [[เจดีย์]]
 
== สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Wat Phra Prang Sam Yod-pano.jpg|thumb|200px|[[พระปรางค์สามยอด]] สถาปัตยกรรมไทยยุคลพบุรี]]
[[ไฟล์:P1024054.JPG|thumb|200px|[[พระบรมธาตุไชยา]] สถาปัตยกรรมยุคศรีวิชัย]]
สามารถแบ่งได้เป็นยุคๆ ได้ดังนี้
* ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
* ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
* ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
* ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
* ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
* ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
* ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
 
=== ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) ===
จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัด[[นครปฐม]] [[สุพรรณบุรี]] [[สิงห์บุรี]] [[ลพบุรี]] [[ราชบุรี]] และ ยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและ ใต้
[[สถาปัตยกรรม]]แบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น [[วัดพระเมรุ]] และ[[เจดีย์จุลปะโทน]][[วัดพระประโทน]] [[อำเภอเมืองนครปฐม]] [[จังหวัดนครปฐม]] บางแห่งมีการใช้[[ศิลาแลง]]บ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูป
การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีทีพบทั้ง[[เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม]] [[เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ]] มียอดแหลมอยู่ด้านล่าง
 
=== ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18) ===
พบในภาคใต้ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะพบร่องรอยการ
สร้างสถูปตามเมืองสำคัญ เช่น [[เมืองครหิ]] [[อำเภอไชยา]] จังหวัด[[สุราษฎร์ธานี]] เมือง[[ตามพรลิงก์]] จังหวัด[[นครศรีธรรมราช]] และ[[อำเภอยะรัง]] จังหวัด[[ปัตตานี]]
ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย คือการสร้างสถูปทรงมณฑปให้มีฐานและเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนยอดเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ส่วนฐานปากระฆังสร้างเป็นชึ้นลดหลั่นกันไป มีเจดีย์ประดับมุมและ[[ซุ้มบันแถลง]]ในแต่ละทิศ ตัวอย่างเช่น [[พระบรมธาตุไชยา]] จังหวัด สุราษฎร์ธานี
 
=== ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18) ===
สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
* '''สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย''' ได้แก่ บ้านเรือน [[ตำหนัก]]วัง และ[[พระราชวัง]] เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ [[เรือนเครื่องผูก]] และ [[เรือนเครื่องสับ]]