ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศตองงา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 226:
 
=== ภูมิอากาศ ===
ประเทศตองงาเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน<ref>{{cite web |url=http://www.pacificclimatechangescience.org/wp-content/uploads/2013/09/Tonga.pdf|title=Chapter 14 Tonga|publisher=Climate Change in the Pacific: Scientific Assessment and New Research Volume 2: Country Reports|accessdate=13 February 2014}}</ref> โดยได้รับอิทธิพลจาก[[ลมค้า]]ใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]<ref name="intial">{{cite web |url=http://unfccc.int/resource/docs/natc/tonnc1.pdf|publisher=The Kingdom of Tonga’s Initial National Communication |title=The Kingdom of Tonga’s Initial National Communication|accessdate=13 February 2014}}</ref> ประเทศตองงามี 2 ฤดูกาลคือฤดูฝนและฤดูแล้ง ฤดูฝนในประเทศตองงายังเป็นฤดูของพายุหมุนด้วย ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนของทุกปี<ref name="intial"/> ส่วนฤดูแล้งอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี<ref name="intial"/> เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนต่อเดือนสูงได้ถึง 250 มิลลิเมตร<ref name="intial"/>
 
อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศตองงาจะอยู่ระหว่าง 23-26 องศาเซลเซียสตามแต่ละท้องถิ่น ในฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูที่อากาศร้อนมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-26 องศาเซลเซียส ในขณะที่ฤดูแล้งซึ่งอากาศเย็นมีอุณหภูมิระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส<ref name="intial"/> จากสถิติที่มีการบันทึกพบว่าบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์ตองงาอยู่ที่บริเวณหมู่เกาะวาวาอูในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 โดยมีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำสุดในประวัติศาสตร์ตองงาอยู่ที่[[ฟูอาอะโมตู]] โดยมีอุณหภูมิ 8.7 องศาเซลเซียส ซึ่งวัดในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1994<ref>{{cite web |url=http://www.met.gov.to/index_files/climate_summary_tonga.pdf|publisher=Tonga Meteorological Service |title=CLIMATE SUMMARY OF TONGA