ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รุ้งกินน้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 118.174.93.44 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Lerdsuwa
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Double-alaskan-rainbow.jpg|thumb|300px|รุ้งกินน้ำแบบกึ่งวงกลมซ้อนกันสองชั้น ใน Elias National Park, อลาสกา (ชั้นที่สองมองเห็นเพียงจางๆ)]]
 
'''รุ้งกินน้ำ''' เป็น[[ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ]]ที่เกิดขึ้นหลังจาก[[ฝน]]ตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบน[[ท้องฟ้า]] รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วย[[สีม่วง]] [[สีคราม|คราม]] [[สีน้ำเงิน|น้ำเงิน]] [[สีเขียว|เขียว]] [[สีเหลือง|เหลือง]] [[สีแสด|แสด]] และ[[สีแดง|แดง]] โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม
 
== การมองเห็น ==
[[ไฟล์:Rainbow formation.png|thumb|200px|ลักษณะการเกิดรุ้งกินน้ำ]]
เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมี[[แสงอาทิตย์]]ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจาก[[ดวงอาทิตย์]] จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม
 
ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับ[[น้ำตก]]และ[[น้ำพุ]] หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า ''moonbow'' แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี
 
การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง โดยรุ้งกินน้ำนั้น สีที่เราเห็นมักจะมองเห็นไม่ครบ 7 สี เพราะ สีบางสีจะกลืนซึ่งกันและกัน