ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มชื่อวัน
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
}}
 
'''รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490''' เกิดขึ้นวันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เวลา 23.00 น. ต่อเนื่องถึงเช้าวันเสาร์ที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย [[ผิน ชุณหะวัณ|พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ]], [[กาจ กาจสงคราม|น.อ.กาจ กาจสงคราม]], [[เผ่า ศรียานนท์|พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์]], [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์]], [[ถนอม กิตติขจร|พ.อ.ถนอม กิตติขจร]], [[ประภาส จารุเสถียร|พ.ท.ประภาส จารุเสถียร]] และ [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|ร.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]]
 
== เหตุการณ์ ==
สาเหตุของรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจาก[[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8]] ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียมแจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร ทว่าความปรากฏภายหลังว่าเป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" เป็นต้น
 
=== ชนวนเหตุ ===
สาเหตุของรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจาก[[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8]] ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียมแจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร ทว่าความปรากฏภายหลังว่าเป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" เป็นต้น
 
ในขณะนั้นมีข่าวลือและความเป็นไปได้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า อาจเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น สำหรับตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ แล้ว เมื่อนักข่าวซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ตอบว่า "ก็นอนรอการปฏิวัติอยู่แล้ว" เพราะมั่นใจในศักยภาพของรัฐบาลตัวเอง ว่ามีผู้บัญชาการทหารบก (พล.ต.อ.[[หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส)|อดุล อดุลเดชจรัส]]) ให้การสนับสนุนอยู่<ref>จรี เปรมศรีรัตน์, ''กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 61 ปี ประชาธิปัตย์ ยังอยู่ยั้งยืนยง'' ISBN 9789747046724</ref>
 
=== ลำดับเหตุการณ์ ===
รัฐประหารครั้งนี้ เดิมทีกำหนดให้เกิดขึ้นในเวลา 05.00 น. ของวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] แต่ทว่า พล.ต.อ.อดุล ผู้บัญชาการทหารบก ทราบเสียก่อน จึงมีคำสั่งเรียกให้นายทหารทุกชั้นเข้ามารายงานตัว คณะผู้ก่อการจึงเลื่อนกำหนดเดิมให้เร็วขึ้นหนึ่งวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน เมื่อกองกำลัง[[รถถัง]]ส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ [[สวนอัมพร]] เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล และรถถังอีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปประตูทำเนียบ[[ท่าช้างวังหลวง]]เพื่อควบคุมตัว นายปรีดี พนมยงค์ แต่นายปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัวนายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิง[[พูนศุข พนมยงค์]] ภรรยาและลูก ๆ เท่านั้น
 
เส้น 37 ⟶ 41:
{{คำพูด|บัดนี้ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์ ประชาชนพลเมืองได้รับความลำบาก เดือดร้อน เพราะขาดอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และขาดแคลนสิ่งอื่น ๆ นานัปการ เครื่องบริโภคอุปโภคทุกอย่างมีราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมทรามในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อน…ผู้บริหารราชการแผ่นดินและสภาไม่อาจดำเนินการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้กลับสู่ภาวะดังเดิมได้…เป็นการผิดหวังของประชาชนทั้งประเทศ…ถ้าจะคงปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ก็จะนำซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติ… }}
 
== ปฏิกริยา ==
 
จากนั้นคณะทหารแห่งชาติ จึงให้ นาย[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สัญญาว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน ซึ่งคณะทหารแห่งชาติได้ตั้งสภาขึ้นมา ใช้ชื่อว่า "คณะรัฐมนตรีสภา" และจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491|การเลือกตั้ง]]ขึ้นในวันที่ [[29 มกราคม]] [[พ.ศ. 2491]] พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นรัฐบาลพลเรือน แต่ทว่า ในวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2491]] คณะนายทหารในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน ก็ได้ทำการบีบบังคับให้นายควงลาออก และแต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน