ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกา ฉางกง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parpar2j (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 4:
เกาฉางกง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 541 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของ[[เกา เฉิง|เกาเฉิง]] โอรสของจักรพรรดิฉีเซียนหวู่ตี้ หรือ[[เกาฮวน]] บิดาแห่ง[[ราชวงศ์ฉีเหนือ]] เกาฉางกง ได้ชื่อว่าเป็นบุรุษที่ใบหน้างดงามราวอิสตรี เป็นหนึ่งในสี่บุรุษรูปงามที่สุดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีน แต่เกาฉางกงกลับมีความสามารถในการสู้รบเป็นที่ประจักษ์ เกาฉางกงมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านที่เป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน, อุปนิสัยที่สุภาพและความสามารถในการทหาร แต่ด้วยใบหน้าที่งดงามราวอิสตรีทำให้เมื่อออกศึก จึงเกรงว่าศัตรูจะไม่เกรงกลัว รวมถึงทหารใต้บังคับบัญชาจะไม่เชื่อฟัง จึงทำให้ต้องสวมหน้ากากปีศาจทุกครั้งในการออกรบ ในการรบที่สร้างชื่อมากที่สุด คือ เมื่อปี ค.ศ. 564 เมื่อกองทัพของราชวงศ์โจวเหนือยกมารุกรานเมืองจินหยง (ใกล้กับเมือง[[ลั่วหยาง]]ในปัจจุบัน) ของฉีเหนือ เกาฉางกงเป็นแม่ทัพนำทหารออกรบ เกาฉางกงนำทหารม้า 500 คน รักษาเมืองจินหยง ต่อต้านกองทัพโจวเหนือที่กำลังมากถึง 100,000 คน เกาฉางกงรบด้วยความกล้าหาญบุกตะลุยเข้าไปในกองทัพข้าศึก ทำให้ทหารโจวเหนือที่เห็นต่างกลัวเกรงกลัว และทหารฝ่ายฉีเหนือฮึกเหิมได้กำลังใจ จนเมื่อกองทัพโจวเหนือแตกพ่ายไปแล้ว เกาฉางกงได้นำทหารม้า 500 คนเข้าเมืองจินหยง แต่ทหารฉีเหนือที่รักษาเมืองไม่แน่ใจว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ จึงไม่ยอมให้เข้าเมือง ทำให้เกาฉางกงต้องถอดหมวกแม่ทัพรวมถึงหน้ากากปีศาจออก แสดงให้เห็นใบหน้าที่แท้จริง เหล่าทหารได้ไชโยโห่ร้อง และเปิดประตูเมืองต้อนรับเกาฉางกงเยี่ยงวีรบุรุษ และได้มีการแต่งเพลงในชื่อ "เจ้าชายหลานหลิงในสมรภูมิ" (兰陵王入阵曲; Prince Lanling in Battle) เพื่อสดุดีเกียรติ จนเป็นที่เลื่องลือไปไกลถึงญี่ปุ่นในยุค[[ราชวงศ์ถัง]] แต่ปัจจุบันนี้บทเพลงนี้ได้สาบสูญไปจากประเทศจีน แต่ยังคงมีประเพณีการเต้นรำอยู่ที่ญี่ปุ่น<ref name=เกา>{{cite book |url=http://books.google.co.uk/books?id=Lgs4AAAAIAAJ&pg=PA2&f=false#v=onepage&q&f=false |title=Music from the Tang Court: Volume 5 |publisher= Cambridge University Press |year= 1985|editor= Laurence Picken |pages=1–12 |isbn=978-0521347761 }}</ref>
 
เมื่อพระญาติผู้น้อง คือ [[เกาเว่ย]] ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโหวจู่ แห่ง[[ราชวงศ์ฉีเหนือ]] ได้ทรงระแวงว่า เกาฉางกง อาจจะก่อการรัฐประหาร เนื่องจากเป็นผู้ได้รับความนิยมอย่างมากในราชสำนักและราษฎร โดยครั้งหนึ่งในงานเลี้ยงฉลองชัยชนะ พระองค์ตรัสกับเกาฉางกงว่า ไม่ประสงค์ให้เกาฉางกงขี่ม้าบุกตะลุยเข้าไปในแดนข้าศึก จะเป็นอันตราย แต่เกาฉางกง ทูลตอบว่า ตนเองไม่เกรงกลัว นี่เป็นหน้าที่ที่ต้องรับใช้วงศ์ตระกูล เหล่าขุนนางได้ยินเช่นนั้ันนั้นก็โห่ร้องสรรเสริญ จักรพรรดิโฮ่วจูจึงระแวงโดยเฉพาะคำว่า "รับใช้วงศ์ตระกูล" <ref name=เกา/> เกาฉางกงจึงปลีกตัวออกจากราชสำนักและการเมือง ที่สุดหลังการออกรบกับ[[ราชวงศ์โจวเหนือ]] เกาฉางกงได้รับพระราชทานสุราพิษให้ดื่ม จนกระทั่งถึงแก่ความตาย ขณะเมื่ออายุย่าง 30 ปี เมื่อ ค.ศ. 573<ref>{{cite web|url=http://www.theworldofchinese.com/2015/04/pretty-men-in-history/|title=PRETTY MEN IN HISTORY |accessdate=30 April 2016|date=29 April 2015 |publisher=theworldofchinese.com}}</ref> พงศาวดารฉีเหนือฉบับที่ 11 บันทึกว่า ในเดือนพฤษภาคม ปีที่ 4 รัชศกหวูปิง ผู้แทนพระองค์ได้มอบสุราพิษให้ เกาฉางกง กล่าวว่า ''"ข้าถือความจงรักภักดีเป็นที่ตั้ง ไม่เคยทำผิดต่อเบื้องบน เหตุไฉนจึงเกิดเรื่องนี้แก่ข้า"'' พระชายาเจิ้ง ชายาของเกาฉางกง กล่าวว่า ''"เหตุไฉนท่านจึงไม่เข้าเฝ้าเบื้องบนเล่า"'' เกาฉางกง กล่าวว่า ''"มีทางใดที่ข้าจะเห็นเบื้องบนได้เล่า"'' จากนั้นจึงสิ้นใจตาย<ref>{{cite news|url=http://cuptv.com/play/3147/108827/%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/17-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2559-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-27/ | title=ศึกรักสะท้านแผ่นดิน 17 พฤษภาคม 2559 ตอนที่ 27 |publisher=ช่อง 7 |date=2016-05-17|accessdate=2016-05-17 }}</ref>
 
เรื่องราวของเกาฉางกง ได้ถูกอ้างอิงใน[[วัฒนธรรมร่วมสมัย]]หลายประการ เช่น เป็นตัวละครในวิดีโอเกม ''[[Romance of the Three Kingdoms XI]]'' และถูกสร้างเป็นซีรีส์ของจีนแผ่นดินใหญ่ในปี ค.ศ. 2013 ในชื่อ '''หลานหลิงหวาง''' ''[[Prince of Lan Ling]]'' นำแสดงโดย [[เฝิง เส้าเฟิง]]<ref>{{cite news|url=http://www.chinatimes.com/newspapers/20130904000791-260112 | author=林淑娟 | title=《蘭陵王》收視火 燒給楊登魁知 |publisher= [[中國時報]] |date=2013-09-04|language=Chinese }}</ref>และในปี ค.ศ. 2016 ในชื่อ ''[[Princess of Lan Ling King]]''<ref>{{cite news|url=http://rielbox.com/princess-of-lanling-king | title=Princess of Lanling King (2016) |publisher=rielbox.com |accessdate=2016-04-30|date=2016-04-01 }}</ref>