ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41:
'''รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (พุทธมณฑล-หลักสอง-หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ)''' ({{lang-en|Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line, MRT Blue Line}}) หรือ '''รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน''' ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บท[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] และประชาชนนิยมเรียกว่า '''รถไฟฟ้าใต้ดิน''' เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน[[กรุงเทพมหานคร]] และเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย[[ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ|บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี [[พ.ศ. 2542]] (ค.ศ. 1999) และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ [[13 เมษายน]] [[พ.ศ. 2547]] (ค.ศ. 2004) และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ [[3 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน ปัจจุบันมีระยะทางรวม 20 [[กิโลเมตร]] เส้นทางเริ่มต้นจาก[[สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีหัวลำโพง]] ถึง[[สถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีบางซื่อ]] มีสถานี 18 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]ได้ที่[[สถานีสีลม]]/[[สถานีศาลาแดง|ศาลาแดง]], [[สถานีสุขุมวิท|สุขุมวิท]]/[[สถานีอโศก|อโศก]] และ[[สถานีสวนจตุจักร|สวนจตุจักร]]/[[สถานีหมอชิต|หมอชิต]] และเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ที่[[สถานีเพชรบุรี]]/[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง|มักกะสัน]] สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 80,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง
 
สำหรับนาม'''เฉลิมรัชมงคล''' เป็นชื่อที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ มีความหมายว่า “งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา”<ref>[http://www.mrta.co.th/misc_name.htm "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร"], การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย.</ref>
 
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) เส้นทางสายสีน้ำเงินมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือ (สถานีบางซื่อ) ไปยัง[[ถนนจรัญสนิทวงศ์]]และ[[แยกท่าพระ]] และจากปลายทางด้านทิศใต้ (สถานีหัวลำโพง) ไปยังท่าพระ และ[[บางแค]] ซึ่งทั้งสองเส้นทางจะเชื่อมต่อกันที่[[สถานีท่าพระ]] ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวน โดยปัจจุบัน (เมษายน พ.ศ. 2559) โครงการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 75% และกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลหาผู้ให้บริการในรูปแบบ PPP Net-Cost เพื่อเร่งหาผู้ให้บริการในการเดินรถเพื่อเชื่อมสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเข้าด้วยกัน อันจะเป็นการลดภาระค่าโดยสารแก่ผู้ใช้บริการ