ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัวตอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Scpl285-2559-supasan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
 
ในประเทศไทย บัวตองมิใช่เป็นพืชพื้นเมือง แต่มีสถานที่ที่มีดอกบัวตองขึ้นอย่างงดงามกว้างขวางเป็นทุ่งและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ดอยแม่อูคอ [[อำเภอขุนยวม]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] มีที่มาจากการที่[[บาทหลวง]]ชาวเม็กซิโกผู้หนึ่งนำมาปลูก และต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่กลายมาเป็นทุ่งบัวตองอย่างในปัจจุบัน<ref>{{cite web|url=http://www.stabundamrong.go.th/research/menu/1_khong.doc|title=นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ |date=|accessdate=19 November 2014|publisher=}}</ref> และถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน<ref name="บัว"/>
== ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา ==
=== พืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน ===
บัวตองเป็นพืชที่ทนต่อความร้อนและความแห้งแล้ง สามารถขยายทรงพุ่มให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในต่างประเทศเช่น ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกและออสเตรเลีย จะพบตามข้างถนนและรบกวนพืชท้องถิ่นได้เป็นวงกว้าง มีการปล่อยสารพิษยับยั้งการเติบโตของพืชต้นอื่น มีอายุยืนยาว ต้นแตกหน่อได้ดี นอกจากนี้บัวตองมีเมล็ดที่มีน้ำหนักเบาและผลิตได้จำนวนมาก จึงสามารถแพร่พันธุ์ไปได้อย่างรวดเร็ว<ref name="four">{{cite web|url=http://www.iucngisd.org/gisd/species.php?sc=1320|work=Global invasive species database |publisher=Tithonia diversifolia |title=Tithonia diversifolia |accessdate=16 กันยายน 2559}}</ref><ref name="five">{{cite web|url=http://www.cabi.org/isc/datasheet/54020|work=Invasive Species Compendium|publisher=Tithonia diversifolia |title=Tithonia diversifolia (Tithonia)|accessdate=16 กันยายน 2559}}</ref>
 
==== การรุกรานในประเทศไทย ====
บัวตองเป็นพืชที่มักก่อความเสียหายต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ พบบัวตองระบาดในพื้นที่สูงเกินระดับ 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป พบระบาดมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบาดปานกลางในเชียงใหม่และเชียงราย ระบาดน้อยในพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย<ref name="six">{{cite web|url=http://chm-thai.onep.go.th/webalien/species.html#บัวตอง|work=สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |publisher=ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ) |title=บัวตอง|accessdate=16 กันยายน 2559}}</ref>
 
==== การควบคุมจำนวน ====
บัวตองไม่สามารถกำจัดโดยการถางหรือขุดทำลายได้ และเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม ทำให้คนนำเมล็ดไปขยายพันธุ์และหลุดเข้าสู่ธรรมชาติ จึงควรควบคุมโดยการห้ามไม่ใหคนนำเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์ ส่วนที่เป็นวัชพืชในธรรมชาติ ถ้ายังระบาดไม่มาก สามารถควบคุมโดยการถางลำต้นและขุดรากทำลายทิ้งก่อนที่จะมีการออกดอก แต่ถ้าพื้นที่การระบาดมีวงกว้าง ควรใช้สารเคมีในการควบคุม เช่น สารเคมีในกลุ่มไกลโฟเสท<ref name="six">{{cite web|url=http://chm-thai.onep.go.th/webalien/species.html#บัวตอง|work=สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |publisher=ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ) |title=บัวตอง|accessdate=16 กันยายน 2559}}</ref>
 
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/บัวตอง"