ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน''' ({{lang-roman|Thanon Somdet Phra Chao Tak Sin}}) เป็นถนนสายสำคัญ...
 
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงตั้งชื่อถนนสายต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าวถวาย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสนอชื่อถนนสายที่ 1 ว่า "ถนนพระปกเกล้า" และ "ถนนประชาธิปก"<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/> เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิมคือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]และสร้างถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เมื่อพระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า '''ถนนประชาธิปก'''<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 175.</ref>
 
เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ทางราชการสร้างถนนประชาธิปกไปได้เพียงช่วงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ถึง[[ทางรถไฟสายแม่กลอง]] ส่วนช่วงทางรถไฟสายแม่กลองถึงคลองดาวคะนองยังไม่ได้สร้างต่อ จนกระทั่งกรมโยธาเทศบาลได้ตกลงกับเทศบาลนครธนบุรีว่า การสร้างถนนในเขตเทศบาลให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล และให้เทศบาลนครธนบุรีรับช่วงตัดถนนสายนี้พร้อมกับถนนสายเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือ[[ถนนเจริญนคร]]) ถนนสายตลาดพลู-ภาษีเจริญ (ปัจจุบันคือถนนเทอดไทบางส่วนและถนนรัชมงคลประสาธน์) และ[[ถนนท่าดินแดง]]บางส่วน โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2482]]<ref name="โปรแกรม">สำนักงานปกครองและทะเบียน. สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. "โปรแกรมจัดทำข้อมูลถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร." [โปรแกรมประยุกต์]. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 27 สิงหาคม 2559.</ref> เทศบาลนครธนบุรีได้เริ่มกรุยทางและถมดินเมื่อเดือนกันยายน [[พ.ศ. 2481]] จนเสร็จเรียบร้อยในเดือนมกราคม ปีเดียวกัน (<ref>ขณะนั้นยังไม่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่)</ref> เมื่อได้รอให้ดินยุบตัวพอสมควรแล้วจึงเริ่มงานหินเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2482<ref name="โปรแกรม"/>
 
อนึ่ง เนื่องจากถนนประชาธิปกช่วงทางรถไฟสายแม่กลองถึงคลองดาวคะนองเพิ่งมาสร้างสำเร็จในสมัยหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ซึ่งสภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน ประกอบกับรัฐบาลไทยสมัยนั้นมีโครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น ณ กลางวงเวียนใหญ่ ทางราชการจึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อถนนประชาธิปกช่วงดังกล่าวเป็น '''ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน''' เพื่อให้ชื่อถนนสายนี้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับพระบรมราชานุสาวรีย์<ref name="โปรแกรม"/>
 
== เชิงอรรถและอ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}