ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออรัญประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุดทอง (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 115:
* '''[[จุดผ่านแดนบ้านหนองเอี่ยน- สตึงบท]]''' ปัจจุบันการค้าบริเวณบ้านคลองลึก (ตลาดโรงเกลือ)เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีตลาด อินโดจีน เพิ่มขึ้นมาทำให้เกิดความคับคั่ง
ของการจราจร ทั้งนักท่องเที่ยวและรถขนส่งสินค้า ไทยและกัมพูชาจึงมีแนวคิด แยกคนและสินค้า ออกจากกัน เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ที่ตั้งบ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม จังหวัดสระแก้ว
 
== พระอรัญประเทศคณาจารย์(พระราชาคณะรูปแรกของจังหวัดสระแก้ว)==
ท่านเจ้าคุณพระอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ และเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ
* เกิดวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2438 มีภูมิลำเนาอยู่ที่หมู่บ้านโนนสาวเอ้ ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เกิดในตระกูลชาวนา ตอนกลางรัชกาลที่ 5 นามเดิม ลี จันทร์ชู เป็นบุตรคนโตของ นายอ่าง นาผุย จันทร์ชู
* บรรพชาเมื่อ พ.ศ.2452 บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโคกสะแบง อำเภออรัญประเทศ
* อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2458 ฉายา อินฺทโชโต
* พ.ศ.2549 ชาวบ้านโนนสาวเอ้ นิมนต์ท่านไปอยู่วัดโนนสาวเอ้ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โดยเป็นพระลูกวัด
* พ.ศ.2466 ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดท่าพานิชย์ จังหวัดกบินทร์บุรี
 
การปกครอง และสมณศักดิ์
ท่านเจ้าคุณพระอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินฺทโชโต)
* พ.ศ.2468 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโนนสาวเอ้
* พ.ศ.2470 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลคลองน้ำใส
* พ.ศ.2474 เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ
* พ.ศ.2475 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ
* พ.ศ.2478 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูอรัญประเทศคณาจารย์(พระครูสัญญาบัตรชั้นโท)
* พ.ศ.2490 ได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นพระครูชั้นเอก ราชทินนามเดิม
* พ.ศ.2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระอรัญญ์ประเทศคณาจารย์" อันเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติในวงศ์ตระกูล จันทร์ชู
ระหว่างดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอได้บริหารงานของวัดให้มีความเจริญก้าวหน้า ได้ริเริ่มให้มีการสอนนักธรรม และบาลี ขึ้นที่วัดหลวงอรัญญ์ การสอนพระปริยัติธรรมได้ติดต่อพระเปรียญจากกรุงเทพฯ มาเป็นครูสอน
 
วัดหลวงอรัญญ์ เมื่ออดีตมีเนื้อที่คับแคบมากจะก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ทางด้านริมน้ำ ตลิ่งก็พังลงน้ำไปทุกปี พระภิกษุ สามเณรก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเจรจาขอพื้นที่ดินของวัดเพื่อให้มีขอบเขตขยายเพิ่มขึ้นอีกไม่สำเร็จ ทำให้พระครูอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญ และเป็นเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ ในสมัยนั้น จึงหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อสร้างวัด โดยเห็นว่าที่ดินที่เคยเป็นป่าช้าอยู่หลังที่ว่าการอำเภอหลังเก่า และอยู่ด้านทิศตะวันตกของวัดหลวงอรัญญ์เก่า ติดลำห้วยพรมโหดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดทำประโยชน์ จึงได้ย้ายวัดออกจากที่เดิมมาตั้งที่ใหม่ โดยเริ่มสร้างวัดแห่งใหม่ในปี พ.ศ.2479 และรื้อกุฏิจากวัดเก่าทยอยมาปลูกสร้างที่บริเวณวัดใหม่ พระเณรก็แยกมาอยู่วัดใหม่บ้างคงอยู่ที่เก่าบ้าง พ.ศ.2490 จึงขนย้ายไปยู่วัดใหม่ทั้งหมด ทางวัดขอความร่วมมือชาวบ้านทำการสร้างศาลาการเปรียญโดยรื้อจากวัดเก่ามาปลูกสร้างวัดใหม่ตามรูปแบบเก่า
 
อาคารเสนานะและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วย
พระอุโบสถ 1 หลัง ซึ่งภายในปูด้วยหินอ่อน และหินขัดอย่างสวยงามได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2500 กว้าง 20 เมตร ยาว 80 เมตร, กุฏิพระอยู่อาศัย 8 หลัง, ศาลาการเปรียญ 2 หลัง, ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน, กุฏิสำหรับปฏิบัติธรรม 20 หลัง,กำแพงวัด ยาว 480 เมตร, ซุ้มประตูวัด 1 ซุ้ม, ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 350 เมตร, โรงครัวอาคารคอนกรีต
 
ท่านเจ้าคุณพระอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินฺทโชโต) มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา ไม่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคใดมาก่อนทั้งสิ้น ณ กุฎิเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ ในวันที่ 20 มกราคม 2523 ตอนกลางคืนเวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. รวมอายุ 84 ปี 2 เดือน 9 วัน พระคุณเจ้ามรณภาพแล้วแต่คุณความดีไม่แตกดับ สิ่งที่ทำให้ศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือ มีความรู้สึกที่ยังฝังลึกในใจได้แก่ พระคุณเจ้าเป็นพระภิกษุสงฆ์อันแท้จริง ยึดมั่นในเพศบรรพชิตตั้งแต่เยาว์จนถึงวาระสุดท้าย โดยยึดพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตลอดปราศจากความด่างพร้อยใด ๆ เป็นผู้บริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส เชื้อชาติศาสนาใดฐานะอะไร หลวงพ่อให้เมตตาธรรมตลอดทั่วถึง เป็นผู้สร้างสรรค์ชีวิตและสังคม จากวัดหลวงเก่า ซึ่งได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก จนถึงวัดหลวงอรัญญ์วัดใหม่ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนในระดับสูงขึ้น และได้วางรากฐานทางศาสนาจนเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ดังปรากฏในปัจจุบัน และพระคุณเจ้าหลวงพ่อเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับคามเลื่อมใส ยกย่องเป็นเลื่องลือ เสาะแสวงหาในสิ่งที่หลวงพ่อได้จัดทำปลุกเสกขึ้น แม้ผู้ที่เคยถูกยาเบื่อ ยาพิษหลวงพ่อ ก็เคยช่วยชีวิตไว้มากมาย
 
== อ้างอิง ==