ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องรี มาติส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Design88 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
==คติโฟวิสต์==
เป็นลัทธิที่เกิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 [[Fauvism]] เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสแปลว่า สัตว์ป่า (Wild-Beast) โดยใช้เป็นชื่อเรียกศิลปินกลุ่มหนึ่งที่แสดงงานในปี ค.ศ.1905 ที่งานแสดงศิลปะชาลอนโตตอน ในงานนั้นมีผลงานปะปนกันหลากหลาย ได้แก่ผลงานประติมากรรมของโดนาเตลโลแห่งยุคเรอเนสซองส์ ส่วนศิลปะสมัยใหม่คือผลงานที่ให้ความรู้สึกที่รุนแรง ดุดัน หยาบคายอีกทั้งยังให้ความรู้สึกตื่นเต้นในเวลาเดียวกัน จนทำให้หลุยส์ โวแซล (Louis Vauxcelles) นักวิจารณ์ศิลปะให้ความเห็นไว้ว่า “โดนาเตลโลถูกล้อมรอบด้วยฝูงสัตว์ป่า” ศิลปินกลุ่มดังกล่าวจึงนำคำว่า “Fauvism” มาตั้งเป็นชื่อกลุ่มและลัทธิของตน
[[ไฟล์:Henri matisse.jpg|left|thumb|ภาพเหมือนตนเองในเสื้อลายทาง (ค.ศ. 1906)]]
 
==แนวคิดของศิลปินคติโฟวิสต์==
กลุ่มคติโฟวิสต์เชื่อว่าศิลปะสร้างผลงงานโดยการแสดงออกถึงความรู้สึกภายในด้วยเส้นและสี สามารถแสดงถึงความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการแสดงออกถึงอารมณ์ของศิลปิน โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งที่ตาเห็น แต่คำนึงถึงความรู้สึกและประสบการณ์ของศิลปินที่เกิดขึ้นโดยตรง ซึ่งเป็นการคัดค้านตอบโต้แนวความคิดของกลุ่มอิมเพลสชันนิสต์ ซึ่งวาดตามสิ่งที่ตาเห็น แต่สิ่งที่ศิลปินกลุ่มคติโฟวิสต์นั้นได้สร้างผลงานจิตรกรรมแนวใหม่ขึ้นมา คือ มีรูปทรงอิสระ ใช้สีที่ตัดกันรุนแรง พวกเขาสร้างขึ้นตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ ผลงานที่ปรากฏจะให้ความรู้สึกสนุกสนานในลีลาของรอยแปรง จังหวะของสิ่งต่าง ๆ มีอารมณ์จินตนาการและภาพลักษณ์แปลกแยกออกไปจากการวาดของพวกอิมเพลสชันนิสต์ ซึ่งจะเล่นแต่เรื่องของสี แสง และบรรยากาศตามสภาพที่เป็นอยู่ในธรรมชาติ กลุ่มคติโฟวิสต์ได้นำลีลาของเส้นมาสังเคราะห์ใช้ใหม่ เช่นการตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อเน้นให้เด่นชัดดัดแปลงรูปทรงที่ไม่จำเป็นให้มีรูปแบบเรียบง่าย ต้องการแสดงทั้งรูปทรงและแสงไปพร้อม ๆ กัน สีที่จิตรกรกลุ่มนี้นิยมใช้เป็นอย่างมาก ได้แก่ สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีแดงของอิฐ และสีม่วง พวกเขาใช้สีดังกล่าวนี้ให้ตัดขัดแย้งกันอย่างรุนแรง แต่ประสานกันได้อย่างเป็นเอกภาพ ผลที่ออกมาของภาพบางภาพดูนุ่มนวลและเด่นชัด แนวคิดของกลุ่มคติโฟวิสต์นี้ จังหวะและลีลาของสีนั้นจะทำหน้าที่สำคัญมากกว่าสิ่งใดทั้งหมด สีจะมีความสำคัญมากกว่าเรื่องของวิชาทัศนียภาพและเรื่องรูปทรง