ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรอยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 202.143.151.161 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 125.24.13.109
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| common_name =
| continent = เอเชีย
| region = [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]
| country = ไทย
| era = [[ยุคกลาง]] และ[[ยุคเรอเนซองส์]]
บรรทัด 116:
 
== กรุงศรีอยุธยา ==
กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ [[แม่น้ำป่าสัก]]ทางทิศตะวันออก, [[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และ[[แม่น้ำลพบุรี]]ทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่[[สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง]]ทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจาก[[อ่าวไทย]]ไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น "เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศุนย์กลางเศรษฐกิจของภุมิภาค มีสินค้ากว่า 40 ชนิดจากสงครามและรัฐบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม
 
มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. 2143 กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ 300,000 คน และอาจสูงถึง 1,000,000 คน ราว พ.ศ. 2243 <ref>[[George Modelski]], ''World Cities: –3000 to 2000'', Washington DC: FAROS 2000, 2003. ISBN 978-0-9676230-1-6. See also [http://faculty.washington.edu/modelski/ Evolutionary World Politics Homepage].</ref> บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"<ref>{{cite news| url=http://economictimes.indiatimes.com/features/et-travel/Ayutthaya-Thailands-historic-city/articleshow/3307967.cms | work=The Times Of India | title=Ayutthaya, Thailand's historic city | date=2008-07-31}}</ref><ref name="Ayutthaya:
บรรทัด 129:
พระบริหารเทพธานี อธิบายว่า ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่ม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร<ref>พระบริหารเทพธานี. (2541). '''ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒'''. โสภณการพิมพ์. หน้า 67.</ref> ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 [[อาณาจักรขอม]]และ[[อาณาจักรสุโขทัย|สุโขทัย]]เริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยส่งคณะช่างก่อสร้างไปยัง[[อินเดีย]]และได้ลอกเลียนแบบฝังเมือง[[อโยธยา]]มาสร้างและสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา
 
แหล่งข้อมูลอื่นระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอู่ทองเป็นพ่อค้าเชื้อสายจีนที่ร่ำรวยจากเพชรบุรี นครชายฝั่งทางใต้ ผู้ซึ่งย้ายมาแสวงหาโชคลาภในนครอโยธยา ชื่อของนครชี้ถึงอิทธิพลของ[[ศาสนาฮินดู]]ในภูมิภาค มีการเชื่อว่า นครแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับมหากาพย์[[รามเกียรติ์]] ซึ่งดัดแปลงมาจากมหากาพย์[[รามายณะ]]ของฮินดู{{อ้างอิง}}
 
=== การขยายอาณาเขต ===
[[ไฟล์:Iudea-Ayutthaya.jpg|thumb|250px|กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทดัตช์ตะวันออก]]
เมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 อยุธยาก็ถูกพิจารณาว่าเป็น ชาติมหาอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ อยุธยาและได้เริ่มครองความเป็นใหญ่โดยเริ่มจากการพิชิตราชอาณาจักรและ[[นครรัฐ]]ทางเหนือ อย่างสุโขทัย [[กำแพงเพชร]]และ[[พิษณุโลก]] ก่อนสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาโจมตี[[เมืองพระนคร]] (อังกอร์) ซึ่งเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคในอดีต อิทธิพลของอังกอร์ค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่แทน
 
อย่างไรก็ดี ราชอาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็นหน่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจ (Circle of Power) หรือระบบมณฑล (mandala) ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนอ<ref name="higham">{{harvnb|Higham|1989|p=355}}</ref> อาณาเขตเหล่านี้อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่เมืองหลวงยามสงคราม ก็ได้ อย่างไรก็ดี มีหลักฐานว่า บางครั้งที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่นำโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อตั้งตนเป็นเอกราช อยุธยาก็จำต้องปราบปราม
บรรทัด 458:
 
== พัฒนาการ ==
คนไทยไม่เคยขาดแคลนเสบียงอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ชาวนาปลูกข้าวเพื่อการบริโภคของตนเองและเพื่อจ่ายภาษี ผลผลิตส่วนที่เหลืออยู่ใช้สนับสนุนสถาบันศาสนา อย่างไรก็ดี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 15 มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตในการปลูกข้าวของไทย บนที่สูง ซึ่งปริมาณฝนไม่เพียงพอ ต้องได้รับน้ำเพิ่มจากระบบชลประทานที่ควบคุมระดับน้ำในที่นาน้ำท่วม คนไทยหว่านเมล็ดข้าวเหนียวที่ยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์หลักในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือปัจจุบัน แต่ในที่ราบน้ำท่วมถึงเจ้าพระยา ชาวนาหันมาปลูกข้าวล้ายชนิด ที่เรียกว่า [[ข้าวขึ้นน้ำ]]หรือข้าวนาเมือง (floating rice) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ยาวเรียว ไม่เหนียวที่รับมาจาก[[ประเทศบังกลาเทศ|เบงกอล]] ซึ่งจะเติบโตอย่างรวดเร็วทันพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำในที่ลุ่ม<ref name="dopa">{{cite web|url=http://www.dopa.go.th/English/history/econ2.htm|title=The Economy and Economic Changes|work=The Ayutthaya Administration|publisher=Department of Provincial Administration|accessdate=2010-01-30}}</ref>
 
สายพันธุ์ใหม่นี้เติบโตอย่างง่ายดายและอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินที่สามารถขายต่างประเทศได้ในราคาถูก ฉะนั้น กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบน้ำท่วมถึง จึงกลายเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ แรงงานกอร์เวขุดคลองซึ่งจะมีการนำข้าวจากนาไปยังเรือของหลวงเพื่อส่งออกไปยังจีน ในขบวนการนี้ [[สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา]] หาดโคลนระหว่างทะเลและดินแน่นซึ่งถูกมองว่าไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ถูกถมและเตรียมดินสำหรับเพาะปลูก ตามประเพณี พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อประสาทพรการปลูกข้าว<ref name="dopa"/>