ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิคอมมิวนิสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Unitedpage (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเว็บ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ทฤษฎีลัทธิมากซ์ถือว่า คอมมิวนิสต์บริสุทธิ์หรือคอมมิวนิสต์สมบูรณ์เป็นขั้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเจาะจงที่ถือกำเนิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนากำลังการผลิตซึ่งนำไปสู่ความมั่งคั่งทางวัตถุที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้การแจกจ่ายยึดความต้องการและความสัมพันธ์ทางสังคมยึดตามปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างเสรี<ref>''Critique of the Gotha Programme'', Karl Marx.</ref><ref>''Full Communism: The Ultimate Goal'': http://www.economictheories.org/2009/05/full-communism-ultimate-goal.html {{WebCite|url=http://www.webcitation.org/60XSuRhmT|date =2011-07-29}}</ref> นิยามที่แน่ชัดของคอมมิวนิสต์แตกต่างกัน และมักถูกเข้าใจผิด ในวจนิพนธ์การเมืองทั่วไป ว่าใช้แทนคำว่า [[สังคมนิยม]] ได้ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีลัทธิมากซ์ยืนยันว่า สังคมนิยมเป็นเพียงขั้นเปลี่ยนผ่านบนวิถีสู่คอมมิวนิสต์ ลัทธิเลนินเพิ่มแนวคิดพรรคการเมืองแนวหน้าเพื่อนำการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และเพื่อยึดอำนาจทางการเมืองทั้งหมดหลังการปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมกร เพื่อการพัฒนาความตระหนักของชนชั้นทั่วโลกและการมีส่วนร่วมของกรรมกร ในขั้นเปลี่ยนผ่านระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มักใช้เรียกนโยบายของรัฐคอมมิวนิสต์ นั่นคือ รัฐที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสาระของระบบเศรษฐกิจในทางปฏิบัติแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น นโยบายของ[[สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม]] ซึ่งระบบเศรษฐกิจรวมไปถึง "โด่ย เหมย[[โด๋ยเม้ย]]" (Doi Moi), [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็น "เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม" และระบบเศรษฐกิจของ[[สหภาพโซเวียต]] ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็น "[[ทุนนิยมโดยรัฐ]]" โดยนักสังคมนิยมที่มิใช่ลัทธิเลนิน และภายหลังโดยนักคอมมิวนิสต์ผู้คัดค้านแบบจำลองโซเวียตยุคหลังสตาลินมากขึ้น ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 (เช่น [[ลัทธิเหมา]] [[ลัทธิทร็อตสกี]] และ[[คอมมิวนิสต์อิสรนิยม]] และแม้กระทั่งตัว[[วลาดีมีร์ เลนิน]]เอง ในจุดหนึ่ง<ref>Lenin's [http://www.marxists.org/archive/lenin/works/cw/volume27.htm Collected Works Vol. 27], p. 293, quoted by [http://web.archive.org/20040318182051/www.geocities.com/aufheben2/auf_6_ussr1.html Aufheben]{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2554}} {{WebCite|url=http://www.webcitation.org/5knCuc4J3|date =2009-10-25}}</ref>
 
== แนวคิดคอมมิวนิสต์ในยุคเริ่มแรก ==
บรรทัด 30:
วิสัยทัศน์ที่มั่นคงของมาร์กซ์ ทำให้วิสัยทัศน์นี้กลายเป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมที่เป็นระบบ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง และเป็นทฤษฎีทางการเมืองที่อธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องกระทำการปฏิวัติเพื่อที่จะได้สิ่งใดๆ มาที่มีข้อกังขาเล็กน้อย
 
ในช่วงครึ่งหลังของ[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] นิยามของคำว่า '''ระบอบสังคมนิยม''' และ '''ระบอบคอมมิวนิสต์''' มักถูกใช้แทนกัน อย่างไรก็ตาม มาร์กซ์และเองเกิลส์เห็นว่า สังคมนิยมคือระดับปานกลางของสังคมที่ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่จากการผลิตมีมวลชนเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยที่ยังคงความแตกต่างระหว่างชนชั้นไว้เล็กน้อย โดยที่พวกเขาสงวนนิยามของระบอบคอมมิวนิสต์ไว้ว่า เป็นขั้นสุดท้ายของสังคมที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว
 
หลักเกณฑ์เหล่านี้ต่อมาจึงถูกพัฒนา โดยเฉพาะจาก [[วลาดิมีร์วลาดีมีร์ เลนิน]] ซึ่งมีอิทธิพลในการกำหนดลักษณะของพรรคคอมมิวนิสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ให้โดดเด่น นักเขียนรุ่นต่อมาเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของมาร์กซ์โดยมอบอำนาจให้กับรัฐให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสังคมดังกล่าว โดยแย้งว่าการที่จะให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ได้นั้น ต้องเริ่มมาจากการเป็นสังคมนิยมเสียก่อน จึงค่อย ๆ แปลงสังคมภายใต้ระบอบสังคมนิยม ให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์
 
คนรุ่นเดียวกับมาร์กซ์บางคน เช่น [[อนาธิปัตย์]]อย่าง [[มิคาเอล บาคูนิน]] ก็สนับสนุนแนวคิดคล้าย ๆ กัน แต่ต่างกันในทัศนคติของพวกเขาในเรื่องของวิธีที่จะนำไปสู่สังคมสามัคคีที่ไร้ชนชั้นได้ จนมาถึงทุกวันนี้ยังคงมีการแบ่งกลุ่มเคลื่อนไหวของคนงานอยู่ระหว่างกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์และกลุ่มอนาธิปัตย์ โดยที่พวกอนาธิปัตย์มีความคิดเป็นปฏิปักษ์และต้องการที่จะล้มล้างทุกอย่างที่เป็นของรัฐบาล แต่ในหมู่พวกเขาก็มีนักอนาธิปัตย์-คอมมิวนิสต์อย่าง [[ปีเตอร์ โครพอตคิน]] ที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไร้ชนชั้นในทันที ในขณะที่นักอนาธิปัตย์-[[สหการนิยม]]เชื่อในสหภาพแรงงานที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในสังคม ตรงกันข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์ (ที่เชื่อในสังคมไร้ชนชั้น นั่นคือไม่มีผู้นำ)
 
== ยุคปัจจุบัน ==
ในช่วงปลาย[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] แนวทฤษฎีของมาร์กซ์เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพรรค[[สังคมนิยม]]ทั่วยุโรป แม้ว่านโยบายของพวกเขาในเวลาต่อมาจะค่อนข้างคล้อยตามกับระบอบ[[ทุนนิยม]]ที่กำลังปรับเปลี่ยนตัวเอง มากกว่าที่จะก่อ[[การรัฐประหาร]] ยกเว้น[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปัตย์แห่งรัสเซีย]] (Russian Social Democratic Workers' Party) โดยหนึ่งในกลุ่มในพรรค ที่เป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม[[บอลเชวิก]] ซึ่งนำโดย[[วลาดิมีร์วลาดีมีร์ เลนิน]]ที่ประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศหลังจากการล้มล้างรัฐบาลรักษาการณ์ใน[[การปฏิวัติรัสเซีย]] (Russian Revolution of 1917) ใน [[พ.ศ. 2460]] (ค.ศ. 1917) ในปีต่อมา พรรคดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจากนั้นมาทำให้เกิดข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบสังคมนิยม
 
หลังจากประสบความสำเร็จใน[[การปฏิวัติตุลาคม]] (October Revolution) ใน[[รัสเซีย]] ทำให้พรรคสังคมนิยมในหลายๆ ประเทศเปลี่ยนตัวเองเป็น[[พรรคคอมมิวนิสต์]] ซึ่งมีความภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง[[สหภาพโซเวียต]]ที่แตกต่างกันไป เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สิ้นสุดลง คณะบริหารที่เรียกตนเองว่าคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดอำนาจในยุโรปตะวันออก ในปี [[พ.ศ. 2492]] (ค.ศ. 1949) พวกคอมมิวนิสต์ในประเทศ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน|จีน]] นำโดย[[เหมา เจ๋อตง]]ก็ขึ้นสู่อำนาจและก่อตั้ง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ระหว่างนั้นบรรดาประเทศโลกที่สามต่างก็รับระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาเป็นระบอบการปกครองได้แก่[[คิวบา]] [[เกาหลีเหนือ]] [[เวียดนาม]] [[ลาว]] [[แองโกลา]] และ[[โมซัมบิก]] ในต้นทศวรรษที่ 1980 ประชากรหนึ่งในสามของโลกถูกปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์