ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือใบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
เสือใบ ได้กลายเป็นจอมโจรที่มีชื่อเสียงในราวปี พ.ศ. 2487 เมื่อมีอายุ 30 ปี หลังจากถูกโจรกลุ่มหนึ่งเข้ามาปล้นควายที่บ้านพร้อมกับฉุดผู้เป็นน้องภรรยาไปด้วย จึงแค้นและตามไปล้างแค้น และได้กลายเป็นโจรร้ายไป โดยสังกัดในชุมโจรของเสือฝ้าย ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนที่จะแยกตัวเองออกมาเป็นอิสระ มีสมุนบริวารในสังกัดตัวเองกว่า 30 คน เมื่อมีชื่อเสียง เสือใบจะปล้นแต่เฉพาะในเขตจังหวัดสิงห์บุรี, อ่างทอง และชัยนาท เท่านั้น โดยไม่ล่วงล้ำเข้าไปในเขตของจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของเสือฝ้าย ผู้มีศักดิ์ศรีเป็นเจ้านายเก่า และจะเลือกปล้นเฉพาะคนรวยที่ขูดเลือดคนจนเท่านั้น โดยจะไม่ปล้นเอาทรัพย์สินทั้งหมด แต่จะเอาไปเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น และถ้าหากเจ้าทรัพย์ไม่ยินยอม ก็จะไม่ทำร้ายหรือข่มขู่บังคับ รวมถึงไม่ทำร้ายเจ้าทรัพย์ด้วย เว้นแต่ขัดขืนหรือต่อสู้
 
เมื่อเสือใบถูกจับได้ และกลายเป็นอาชญากร ศาลได้ตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิต แต่เจ้าตัวยอมรับสารภาพ จึงได้รับการหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต และกลายมาเป็นจำคุกเพียง 20 ปี อีกทั้งในระหว่างที่ต้องโทษ ยังได้ช่วยเหลือพัศดีจากการถูกนักโทษด้วยกันทำร้ายด้วย
 
เรื่องราวของเสือใบ โด่งดังเป็นที่รู้จักกันอย่างมาก จนกลายมาเป็นวรรณกรรมของ [[ป. อินทรปาลิต]] ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สองครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 ชื่อ ''สุภาพบุรุษเสือใบ'' ผู้รับบทเสือใบ คือ [[ครรชิต ขวัญประชา]] และในปี [[พ.ศ. 2541]] ในเรื่อง ''[[เสือ โจรพันธุ์เสือ]]'' ซึ่งบทเสือใบ นำแสดงโดย [[อำพล ลำพูน]] กำกับการแสดงโดย [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้เสือใบในเรื่องแตกต่างจากเสือใบในชีวิตจริงโดยสิ้นเชิง เป็นต้นว่า เปลี่ยนชื่อจริงของเสือใบเป็น เรวัติ วิชชุประภา และเป็นลูกชายของขุนนางผู้ใหญ่ผู้หนึ่งในยุคก่อน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 |การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ที่ภรรยาถูกฆ่าตายและถูกใส่ความจนต้องหนีเข้าป่าไปเป็นโจร หรือ นายตำรวจผู้ปราบเสือใบ ชื่อ ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณากร ที่รับบทโดย [[ดอม เหตระกูล]] เป็นต้น
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เสือใบ"