ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาเซมิติก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''กลุ่มภาษาเซมิติก''' ({{lang-en|Semitic languages}}) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณ[[แอฟริกาเหนือ]] [[ตะวันออกกลาง]]และ[[จะงอยของแอฟริกา]] เป็นสาขาย่อยใน[[ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก]] และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดใน[[ทวีปเอเชีย]] กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือ[[ภาษาอาหรับ]] (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือ[[ภาษาอัมฮารา]] (27 ล้านคน) [[ภาษาตึกรึญญา]] (6.9 ล้านคน) และ[[ภาษาฮีบรู]] (5 ล้านคน)
 
กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มี[[ระบบการเขียน]] [[ภาษาอัคคาเดีย]]เริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น [[อักษรฟินิเชีย]] [[อักษรอาหรับ]] [[อักษรแอราเมอิก]] [[อักษรซีรีแอก]] [[อักษรอาระเบียใต้]] และ[[อักษรเอธิโอปิก]] มี[[ภาษามอลตา]]เท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วย[[อักษรโรมัน]] ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของ[[โนอาห์]] ใน[[ไบเบิล]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 18:
 
=== 500 ปีก่อนพุทธศักราช ===
มีอักษรที่ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ทั้งอักษรคานาอันไนต์ [[อักษรแอราเมอิก]] [[อักษรอาระเบียใต้]]และ[[อักษรกีเอซ]]รุ่นแรกๆ ระหว่างช่วงนี้ มีการใช้[[อักษรยูการิติก]]ที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะในกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ ชาวฟินิเชียำ[[ภาษาคานาอันไนต์]]ไปใช้ทั้งเขตอาณานิคมในแถบ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] ในขณะที่[[ภาษาฮีบรู]]กลายเป็นภาษาทางศาสนาของชาวยิว ในสมัย[[จักรวรรดิอัสซีเรีย]] [[ภาษาแอราเมอิก]]เป็นภาษากลางในตะวันออกกลางในขณะที่ภาษาอัคคาเดีย ภาษาฮีบรู และอื่นๆกลายเป็นภาษาตายหรือใช้เป็นภาษาเขียนเท่านั้น ในขณะเดียวกันอักษรกีเอซเริ่มใช้บันทึกกลุ่มภาษาเซมิติกใน[[เอธิโอเปีย]]ในช่วงนี้
 
=== พุทธศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา ===
[[ไฟล์:AndalusQuran.JPG|thumb|right|200px|คัมภีร์[[อัลกุรอ่าน]]ภาษาอาหรับอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17]]
[[ภาษาซีรีแอก]]ซึ่งเป็นลูกหลานของภาษาแอราเมอิกใช้ใน[[เลอวานต์]]ตอนเหนือและเมโสโปเตเมีย กลายเป็นภาษาเขียนของชาวคริสต์ในพุทธศตวรรษที่ 8-10จนถึงยุคสมัยของ[[ศาสนาอิสลาม]]
 
ในยุคของศาสนาอิสลามราวพุทธศตวรรษที่ 12 ภาษาอาหรับเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาแอราเมอิกและแพร่หลายไปถึง[[สเปน]]และ[[เอเชียกลาง]] กลายเป็นภาษาเขียนที่สำคัญในสมัยกาหลิบ และกลายเป็นภาษาสำคัญในตะวันออกกลางและอียิปต์ เมื่อ[[อาณาจักรนูเบีย]]ล่มสลาย ภาษาอาหรับได้แพร่หลายไปยังอียิปต์ภาคใต้จนถึง[[มอริตาเนีย]]
 
กลุ่มภาษาเซมิติกยังคงมีความหลากหลายในเอธิโอเปียและเอริเทรีย โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาคูชิติกมาก ภาษาสำคัญในบริเวณนี้คือภาษาอัมฮาราและภาษาตึกรึญญา จากการแพร่ขยายของเอธิโอเปียในสมัยราชวงศ์โซโลโมนิก ภาษาอัมฮาราได้แพร่หลายไปทั่วเอธิโอเปียและเข้าไปแทนที่ภาษากีเอซที่ปัจจุบันยังเป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในบริเวณนี้
บรรทัด 31:
ภาษาอาหรับมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่เป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่มอริตาเนียไปถึง[[โอมาน]]และจากอิรักไปถึง[[ซูดาน]] และยังใช้เป็นภาษาทางศาสนาของชาว[[มุสลิม]]ที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ด้วย ภาษาอาหรับที่เป็นภาษาพูดมีหลากหลายสำเนียงแต่ที่เป็นภาษาเขียนมีแบบเดียว ภาษามอลตาซึ่งเป็นลูกหลานของภาษาอาหรับสำเนียงแอฟริกาเหนือเป็นภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรโรมัน นอกจากภาษาอาหรับที่เป็นภาษาหลักในตะวันออกกลางแล้ว ยังพบกลุ่มภาษาเซมิติกอื่นๆอีก ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ตายไปเป็นเวลานานและใช้เป็นภาษาทางศาสนาของชาวยิวเท่านั้น กลายมาเป็นภาษาพูดอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ 24 โดย[[ขบวนการไซออนนิสต์]]เป็นผู้ฟื้นฟูภาษานี้ขึ้นมาใหม่และกลายเป็นภาษาหลักของประเทศอิสราเอล
 
กลุ่มชนชาติส่วนน้อยขนาดเล็กหลายกลุ่มเช่น[[ชาวคริสต์อัสซีเรีย]]ยังคงใช้สำเนียงของภาษาแอราเมอิกโดยเฉพาะ[[ภาษาแอราเมอิกใหม่]]ที่มาจากภาษาซีรีแอก ในเขตภูเขาของ[[อิรัก]]ภาคเหนือ [[ตุรกี]]ตะวันออก และ[[ซีเรีย]]ตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ภาษาซีรีแอกที่เป็นลูกหลานของภาษาแอราเมอิกโบราณใช้เป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในซีเรียและอิรัก
 
ใน[[เยเมน]]และโอมานซึ่งอยู่ทางใต้ของ[[คาบสมุทรอาระเบีย]]ยังมีชนเผ่าพูด[[ภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่]]เช่นภาษามาห์รีและภาษาโซโกตรีซึ่งแตกต่างจากภาษาอาหรับที่ใช้พูดในบริเวณนั้นอย่างชัดเจน และอาจจะมาจากภาษาที่เขียนในจารึกอักษรอาระเบียใต้หรือลูกหลานของภาษาเหล่านั้น
บรรทัด 46:
กลุ่มภาษาเซมิติกส่วนใหญ่มี 3 จำนวนคือเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ ทวิพจน์ยังใช้อยู่ในภาษาอาหรับบางสำเนียงเช่นชื่อประเทศบาห์เรน (bahr "[[ทะเล]]" + -ayn "สอง") และในภาษาฮีบรู เช่น šana หมายถึง 1 ปี šnatayim หมายถึง 2 ปี และ šanim หมายถึงหลายปี และในภาษามอลตา sena หมายถึง 1 ปี sentejn หมายถึง 2 ปี และ snin หมายถึงหลายปี การทำให้เป็นพหูพจน์โดยการแทรกเสียงสระลงไป เช่น sadd เขื่อน 1 แห่ง sudūd เขื่อนหลายแห่ง พบในภาษาอาหรับและภาษาเอธิโอเปีย รวมทั้งภาษามอลตา จึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเซมิติกดั้งเดิม
=== มาลาและกาล ===
ระบบมาลาของกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกและตะวันออกต่างกันชัดเจน ภาษาอัคคาเดียรักษาลักษณะซึ่งพบโดยทั่วไปในกลุ่มภาษาแอโฟรเอชีแอติก ภาษาเซมิติกตะวันตกดั้งเดิมมี 2 มาลา คือสมบูรณ์สำหรับการกระทำที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ใช้กับการกระทำที่เกิดไม่สมบูรณ์ ในกรณีพิเศษของภาษาแอราเมอิกใหม่มีการรวมคำกริยาซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาอิหร่าน
 
=== รากศัพท์พยัญชนะสามตัว ===
บรรทัด 120:
! [[ภาษาอัคคาเดีย]]
! [[ภาษาอาหรับ]]
! [[ภาษาแอราเมอิก]]
! [[ภาษาฮีบรู]]
! [[ภาษากีเอซ]]
บรรทัด 184:
 
== การจัดจำแนก ==
การจัดจำแนกต่อไปนี้เป็นไปตามวิธีของ Robert Hetzron เมื่อ พ.ศ. 2519 และมีการปรับปรุงโดย John Huehnergard และ Rodgers ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดจำแนกอยู่ เช่น อาจจัดภาษาอาหรับอยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางส่วนแยกกลุ่มภาษาอาระเบียใต้ออกเป็นสาขาที่สามร่วมกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกและตะวันตก มากกว่าจะตั้งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ นอกจากนั้นยังไม่มีเส้นแบ่งที่แน่นอนระหว่างภาษาเอกเทศกับสำเนียง ดังที่พบในภาษาอาหรับ ภาษาแอราเมอิกและภาษากูเรก
 
การจัดกลุ่มภายในกลุ่มภาษาเซมิติกก่อน พ.ศ. 2513 จัดให้ภาษาอาหรับอยู่ในกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ และยังไม่มีการค้นพบภาษาเอ็บลาไอต์ในช่วงนั้น
บรรทัด 211:
*** [[ภาษาฟินิเชีย]] - ตายแล้ว
**** [[ภาษาปูนิก]] - ตายแล้ว
** [[ภาษาแอราเมอิก]]
*** [[ภาษานาบาทาเอียน]] - ตายแล้ว
*** [[ภาษาแอราเมอิกตะวันตกยุคกลาง]]
**** [[ภาษาแอราเมอิกปาเลสไตน์ยุคกลางของชาวยิว]] - ตายแล้ว
**** [[ภาษาแอราเมอิกซามาริทัน]]- ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
**** [[ภาษาแอราเมอิกปาเลสไตน์ของชาวคริสต์]] - ตายแล้ว
**** [[ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตก]] - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
*** [[ภาษาแอราเมอิกตะวันออก]]- ตายแล้ว
**** [[ภาษาแอราเมอิกไบเบิล]]
**** [[ภาษาอราเมฮอิกาตรัน]] - ตายแล้ว
**** [[ภาษาซีรีแอก]] - ยังมีสำเนียงเหลืออยู่
**** [[ภาษาแอราเมอิกบาบิโลเนียยุคกลางของชาวยิว]] - ตายแล้ว
**** [[ภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย]] - ยังมีสำเนียงเหลืออยู่
**** [[ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย]] - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
**** [[ภาษาเซนายา]] - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
**** [[ภาษากอย ซันจัต ซูรัต]] - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
บรรทัด 231:
**** [[ภาษามลาโซ]]- ตายแล้ว
**** [[ภาษามันดาอิก]] - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
**** [[ภาษาแอราเมอิกของชาวยิว]] - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
** [[ภาษาอาหรับ]]
*** [[ภาษาอาหรับเหนือโบราณ]] - ตายแล้ว