ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
 
== ประวัติ ==
วงศ์ แสนศิริพันธุ์ เป็นชายคนเล็กของเจ้าพระยาเพระวิไชยราชา( เจ้าหนานขัติ ) ต้นตระกูล “แสนสิริพันธ์”อดีตเสนาคลังเมืองแพร่ สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแสนเสมอใจ เครือญาติ[[เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง]] เจ้าผู้ครองนครแพร่ กับแม่เจ้าคำป้อ ธิดาพระยาประเสริฐฯ สำเร็จการศึกษาจาก[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] กรุงเทพฯ มีความสามารถในการพูด อ่านภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว
 
วงศ์ แสนศิริพันธุ์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2513
บรรทัด 26:
== การทำงาน ==
วงศ์ แสนศิริพันธุ์ เริ่มทำงานเป็นสมุหบัญชีที่ห้างอิสต์เอเชียทีค ต่อมาได้ลาออกมาเป็นผู้รับเหมางานจากห้างอิสต์เอเชียทีค และห้างบอมเบย์เบอร์มา กระทั่งในปี พ.ศ. 2476 มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476]] ซึ่งให้ราษฎรเลือกตัวแทนตำบลละ 1 คน จากนั้นก็ให้ตัวแทนตำบลมาเลือกกันเอง ปรากฎว่าเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่<ref name="อบจ"/> ขณะอายุได้ 32 ปี
 
== วีรกรรมนิรนามเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ==
บทบาทของ เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ “เสรีไทยอาภัพ” ที่ถูกลืมเลือน ทั้งที่ท่านเป็นหนึ่งในสองผู้นำสำคัญของเสรีไทยจังหวัดแพร่ จากหลักฐานหนังสือ “๑๐๐ ปี ชาติกาลปรีดี พนมยงค์” หน้า ๑๔๒ กล่าวถึงเจ้าวงศ์ ไว้ตอนหนึ่งว่า
“นายปรีดี มีความประสงค์ที่จะเล็ดลอดออกไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในอินเดีย ในเรื่องนี้ในเบื้องแรก นายปรีดีได้ขอร้องให้เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ จัดส่งคนที่ไว้ใจได้ ออกไปเมืองจีน. .....” รายละเอียดของเรื่องนี้ ท่าน มาลัย ชูพินิจ ได้เขียนไว้ในหนังสือ X.O. GROUP วีรกรรมเสรีไทย ตอนหนึ่งว่า “...เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ นายทอง กันทาธรรม นายผึ้ง ศรีจันทร์ และ นายถวิล อุดล ต่างก็ได้รับภาระในการหาทางออกนอกประเทศสำหรับนายปรีดี และคณะจะได้ออกไปปฏิบัติการในภูมิภาคของตนแต่ละฝ่ายโดยด่วนจากแพร่ ชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของ เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ๗ คนถูกส่งข้ามไปในเขตแดนจีนเป็นชุดแรกด้วยคำสั่งให้พยายามเสาะแสวงหาหนทางที่จะไป กรุงจุงกิง ได้ แต่ทั้ง ๗ คน “หายสาบสูญไป” อีก ๒ เดือนต่อมา ผู้ร่วมต่อต้านอีก ๔ คน ก็ออกเดินทางติดตามไปด้วยภารกิจอันเดียวกัน ชายฉกรรจ์ชุดนี้ มีทำนองเดียวกันกับชุดแรกคือถูกกลืนหายไปในภูมิประเทศอันเต็มไปด้วยความเร้นลับมหัสจรรย์ของภาคนั้น จนกระทั่งอีก ๒ ชีวิตต้องสูญเสียไปในการพยายามครั้งที่สอง เจ้าวงศ์จึงได้ทราบจากปากคำคนสนิทของตนคนเดียวที่เหลือรอดชีวิตกลับมา จากการเผชิญภัยอันตรายอันยิ่งใหญ่ครั้งนั้นว่า เส้นทางซึงตนพยายามสำรวจอยู่ ไม่มีทางที่คนภายนอกจะผ่านไปได้ด้วยอุปสรรคทั้งจากความทุรกันดารแสนมหาวิบากของภูมิประเทศซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้าย โรคภัยไข้เจ็บอันร้ายแรงที่สุด และจากความเป็นปฏิปักษ์อันเกิดจากความหวาดระแวงของผู้คนประจำท้องถิ่น ระหว่างผ่านเขตแดนด้านเหนือ ของอินโดจีน...
 
หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกาว่า นายฉันทนา ได้กล่าวถึงรายละเอียดที่ นายปรีดี ได้เรียกเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธ์ และแกนนำสำคัญในภาคเหนืออีกสองสามคน ไปหารือที่บ้าน ป้อมเพชร เพื่อชิงตั้งรัฐอิสระขึ้นที่ภาคเหนือไว้ก่อน พร้อม ปิด เส้นทางคมนาคม ที่เชื่อมต่อ ด้วยการระเบิดสะพานบ้านดารา ปิดปากถ้ำเขาพลึง ตัดขาดไม่ให้ญี่ปุ่นเดินทัพไปสู่ภาคเหนือได้ แต่ยังไม่ทันได้ขยับอะไร ทัพญี่ปุ่นก็ไหลบ่าไปสู่ทุกจังหวัดของภาคเหนือ ยันไปถึงแม่ฮ่องสอน แผนนี้จึงถูกระงับล้มเลิกไป ความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างนายปรีดีกับเจ้าวงศ์ มีมายาวนานตั้งแต่ครั้งท่านได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดแพร่คนแรก เมื่อประทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่านจึงมีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิดกับ พระยาพหลพยุหเสนา นาย ปรีดี พนมยงค์ หลวงศรีประกาศ นายทองอินทร์ ภูมิพัฒน์ ฯลฯ โดยเฉพาะกับนาย ปรีดี นั้นดูเหมือนว่าเจ้าวงศ์จะให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ จากคำบอกเล่าของ คุณแพรว เพื่อนของบุตรสาว เจ้าวงศ์ สมัยวัยเด็ก วิ่งเล่นเข้าออกอยู่ในบ้านนี้ ได้เล่าถึงที่ห้องหน้ามุขของ คุ้มวิชัยราชา นอกจากพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ และในหลวง ราชินีแล้ว จะมีรูปของนักการเมืองอยู่รูปเดียว คือ นายปรีดี ห้อยต่ำลงมา และไม่เคยปลดออก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
 
อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่กำลังเบ่งบาน แต่ต่อมาสับสนวุ่นวายเรื่อยมา(ตั้งแต่บัดนั้น จนบัดนี้) ทำให้ เจ้าวงศ์ ศิษย์เอกของภราดา ฟ.ฮีแลร์ อัสสัมชัญ บางรัก ผู้มีความคิดอ่านก้าวหน้าไม่เหมือนใครในยุคนั้น ตระหนักดีว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยมิใช่ ของจริง ไม่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง และอำนาจแท้จริง ในการปกครองประเทศ ยังผลัดเปลี่ยนวนเวียนอยู่ในกำมือของคนเพียงไม่กี่คน ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองในเครื่องแบบทหาร ท่านจึงล้างมือจากการเมืองไม่ยอมร่วมสังฆกรรมในเรื่องนี้อีก แต่ก็ได้สนับสนุนญาติ และพรรคพวกของท่าน ทั้งคุณหญิง บัวเขียว รังคศิริ และนายทอง กันทาธรรม เข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก่อนสงครามโลกครั้ง ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ นายปรีดี พนมยงค์ ได้เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ เรื่องพระเจ้าช้างเผือก (THE WHITE ELEPHANT KING) เพื่อเผยแพร่เกียรติภูมิ และวัฒนธรรมของชาติไทย ให้โลกรู้ ใช้ผู้แสดงร่วมพันคน ช้างกว่า ๑๕๐ เชือก เป็นภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม พูดภาษาอังกฤษ “เรื่องแรกของไทย” นายปรีดี ได้รับความร่วมมือจาก เจ้าวงศ์ ในการถ่ายทำฉากสำคัญที่สุดคือ ฉากยุทธหัตถี และการคล้องช้าง ซี่งถ่ายทำกันที่ป่าแดง หลังพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
 
เจ้าวงศ์เอง นอกจากจะให้ความร่วมมือ เอื้อเฟื้อจัดหาช้างทั้งหมดให้โดยไม่คิดมูลค่าแล้ว ยังเป็นผู้กำกับโขลงช้าง และร่วมแสดงด้วย ภาพยนตร์นี้ออกฉายพร้อมกันในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก ทั้งโตเกียว ปารีส ลอนดอน และนิวยอร์ค ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างทั้งสองท่านนี้ ทำให้ได้มีโอกาสร่วมงานสืบเนื่องกันมา ถึงเรื่องราวของชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะในส่วนของขบวนการเสรีไทย แต่นอกจากข้อมูล ที่กล่าวถึงเจ้าวงศ์ในหนังสือ ๑๐๐ ปีชาติกาลฯ XO GROUP และบันทึก ของท่านผู้หญิง พูลสุข ลงตีพิมพ์ในเวลาต่อมาแล้ว ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเจ้าวงศ์ ได้ถูกลืมเลือน ไปสิ้น โดยเฉพาะเรื่องคุณงามความดี และวีรกรรมของท่าน เสมือนไม่มีบทบาทโดดเด่นนัก ทั้งที่ลึก ๆ แล้ว ท่านได้เสียสละ และมีบทบาทอยู่ในขบวนการนี้มากมาย ไม่รวมการสูญเสียคนของท่านไปร่วม ๑๐ คน ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเคลื่อนไหว ขบวนการเสรีไทย แต่ไม่มีใครกล่าวถึง ผู้กล้า จากเมืองแพร่ ที่สละชีพ สิ้นไปชุดนี้ ทั้งที่เป็นการปฏิบัติภารกิจเสียสละ เพื่อชาติ การเมือง และกาลเวลาทำให้เกียรติภูมิ และการเสียสละอันยิ่งใหญ่ของท่าน กลายเป็นศูนย์ กอปรกับ เสรีไทยเอง เป็นขบวนการที่ตั้งขึ้นมา “เฉพาะกิจ” สลายไปเมื่อภารกิจจบสิ้น เป็น“วีรกรรมนิรนาม” ปิดทองใต้ฐานพระอย่างแท้จริง จึงทำให้เรื่องราวทั้งหลายเงียบหายไป โดยเฉพาะเมื่อไม่มีใครใส่ใจต่อยอดให้
 
อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมขบวนการเสรีไทย และพิษของการเมือง ต้องทำให้เจ้าวงศ์ต้องหลบไปลี้ภัยอยู่ที่ เวียงต้าอยู่หลายครั้ง เวียงต้านี้เป็นฐานที่มั่นลับของเหล่าเสรีไทยอีกแห่ง มีสนามบิน และช่องทางสามารถต่อเชื่อมกับ หนองม่วงไข่ได้
 
== ลำดับสาแหรก ==