ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Macrobrachium lanchesteri"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
 
== ถิ่นที่อยู่ ==
เขตการกระจายพันธุ์ของกุ้งชนิด ''MacrobrachiumM. lanchesteri'' อยู่ในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] โดยถือเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่นของ[[ลาว]]; [[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]], [[ภาคกลาง]] และ[[ภาคใต้]]ของ[[ไทย]]; [[มาเลเซียตะวันตก]]และ[[รัฐซาบาห์]]ของ[[มาเลเซีย]]; [[สิงคโปร์]] และ[[บรูไน]]<ref name="IUCN2008"/> นอกจากนี้ยังพบในพื้นที่บางส่วนของ[[พม่า]], [[ภาคเหนือ]]ของไทย, บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลของ[[กัมพูชา]] และตอนใต้สุดของ[[เวียดนาม]]
 
== ลักษณะ ==
กุ้งชนิด ''MacrobrachiumM. lanchesteri'' เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร มีเปลือกแข็งห่อหุ้มตัว มีขา 10 คู่ แบ่งหน้าที่ออกเป็นขาสำหรับจับอาหาร ขาเดิน และขาว่ายน้ำ ขาเดินคู่ที่ 2 เป็นรูปทรงกระบอกยาวเรียว<ref>จุฑามาศ จิวาลักษณ์ และพรพรรณ ศุภกิจรัตนากุล. ''กุ้งสกุล Macrobrachium ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย.'' [ม.ป.ท.], [ม.ป.ป].</ref> มีขนาดไล่เลี่ยกับขาเดินคู่ที่ 4 และ 5 ข้อปลายมีลักษณะเป็นก้ามหนีบ ลักษณะสำคัญคือมี[[กรี]]ตรง (ส่วนปลายงอนเล็กน้อย) ขาเดิน 3 คู่ยาวเท่ากัน ต่างกับลูก[[กุ้งก้ามกราม]]ที่มีขนาดเท่ากันซึ่งจะมีกรียาวและโค้งขึ้น<ref name="ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย">กรมประมง. ''ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย.'' อ้างถึงใน http://dictionary.sanook.com/search/macrobrachium-lanchesteri. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2558.</ref>
 
== พฤติกรรม ==
บรรทัด 32:
 
== การใช้ประโยชน์ ==
กุ้งชนิด ''MacrobrachiumM. lanchesteri'' รวมทั้งกุ้งฝอยน้ำจืดชนิดอื่นเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป ในไทยมักนำไปทำกุ้งฝอยทอด ไข่เจียวกุ้งฝอย ยำกุ้งเต้น ก้อยกุ้ง กุ้งจ่อม บางครั้งก็ใช้เป็นเหยื่อตกปลาหรืออาหารเลี้ยงลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น [[ปลาช่อน]] [[ปลากราย]] [[ปลาเสือตอ]] ปลาสวยงามต่าง ๆ เป็นต้น
 
== อ้างอิง ==