ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทยในกัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ขาดหลักฐานอ้างอิงที่หนักแน่น และเข้าไปดูไม่ได้
บรรทัด 7:
}}
 
'''ชาวกัมพูชาเชื้อสายไทย''' หรือเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า '''"ไทยเกาะกง"''' เนื่องจากมีผู้สืบเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ในเขต[[จังหวัดเกาะกง]]ของ[[ประเทศกัมพูชา]]เป็นจำนวนมาก ถือเป็น[[ชาวไทย]]กลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานใน[[จังหวัดปัจจันตคิรีเขตร]] ซึ่งแต่เดิมเป็นของ[[ไทย]] แต่ปัจจุบันเป็นจังหวัดเกาะกงของประเทศกัมพูชา ซึ่งต่อมาเกาะกงได้กลายเป็นของ[[ฝรั่งเศส]] [[ชาวไทย]]จำนวนมากได้อพยพไปที่[[เกาะกูด]] และ[[อำเภอคลองใหญ่]] [[จังหวัดตราด]] เนื่องจากไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของ[[ฝรั่งเศส]] แต่ปัจจุบันใน[[เกาะกง]] ปรากฏว่ามี[[ชาวไทย]]ใน[[เกาะกง]] เพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ที่เหลือเป็น[[ชาวเขมร]]จากจังหวัดอื่นที่อพยพมาทำงาน ปัจจุบันชาวไทยเกาะกงถูกกำหนดให้มีสัญชาติเขมรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย<ref>http://www.tobethai.org/autopage/show_page.php?t=36&s_id=05&d_id=05&page=1</ref> แม้ในอดีตชาวไทยเกาะกงจะถูกจำกัดสิทธิ์ทางภาษา วัฒนธรรม และประเพณีแต่ก็มีคนเฒ่าคนแก่ที่ยังรักษาประเพณี และเอกลักษณ์ การใช้[[ภาษาไทย]] ซึ่งในอดีตสมัยพระ[[เจ้าสีหนุ]]เป็นกษัตริย์-รัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเคยห้ามคนเกาะกงพูดภาษาไทย หากฝ่าฝืนจะถูกตำรวจจับ และบางรายโชคร้ายก็จะถูกฆ่า โดยในสมัยนั้นนายพล[[ลอน นอล]]ที่ทำงานใกล้ชิดกับสีหนุขณะนั้นเคยพูดไว้ว่า ''"คนไทเกาะกง แม้ว่าจะตายไปสักห้าพันคน ก็ไม่ทำให้แผ่นดินเขมรเอียง"''<ref>จรัญ โยบรรยง. รัฐบาลทมิฬ. กรุงเทพฯ:จิตติกานต์, 2528. หน้า 122</ref>
 
== ภาษา ==
ชาวไทยเกาะกงสามารถพูดภาษาในชีวิตประจำวันได้สองภาษาคือภาษาไทย และเขมร โดยภาษาไทยที่ชาวไทยเกาะกงพูด จะมีสำเนียงแบบเดียวกับที่จังหวัดตราด แต่เดิมเกาะกงในปี [[พ.ศ. 2506]] ได้มีการออกกฎห้ามชาวเกาะกงพูดภาษาไทย<ref>http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k137/k137_50.html</ref> โดยจะปรับเป็นคำละ 25 เรียล ห้ามมีเงินไทย และห้ามมีหนังสือไทยอยู่ในบ้าน หากเจ้าหน้าที่พบจะถูกทำลายให้สิ้นซาก ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2507]] ค่าปรับการพูดภาษาไทยเพิ่มขึ้นเป็น 50 เรียล นอกจากนี้ยังมีการลงโทษต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่สามารถลงโทษได้อย่างพลการ เช่น ป้ายแขวนคอประจาน
 
ในหนังสือ''รัฐบาลทมิฬ'' และ''ปัตจันตคีรีเขตร์เกาะกง เมืองแห่งความหลัง'' ได้ปรากฏเรื่องราวของนางหล็อง ชาวปากคลองบางกระสอบที่ทะเลาะกับสามีชื่อนายเห่ง โดยทั้งคู่ถกเถียงกัน และนางหล็องได้เผลอด่าสามีเป็นภาษาไทย เนื่องด้วยเป็นภาษาพ่อภาษาแม่จนเคยชิน เรื่องจึงไปถึงหูคณะกรรมการหมู่บ้าน นางหล็องถูกลงโทษให้ไปใช้แรงงาน แต่นางหล็องไม่ยอมจึงตัดสินใจกินยาพิษฆ่าตัวตาย ซึ่งสะเทือนใจชาวไทยเกาะกงอย่างมาก และต่างชื่นชมในความเด็ดเดี่ยวของนางหล็อง
 
== ชาวไทยเกาะกงที่มีชื่อเสียง ==