ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามณีปุระพิษณุปุระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| notice = Indic}}
 
'''ภาษามณีปุระพิษณุปุระ''' (ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী) เป็นภาษาในกลุ่ม[[ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน|อินโด-อารยัน]] พูดในบางส่วนของแคว้นอัสสัม, ตรีปุระ, มณีปุระใน[[ประเทศอินเดีย]] และบางส่วนของ[[ประเทศบังกลาเทศ|บังกลาเทศ]] และ[[ประเทศพม่า|พม่า]]ต่างจาก[[ภาษามณีปุรีปุระ]]หรือ[[ภาษาไมไต]]ที่เป็น[[ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า]]
== ประวัติและพัฒนาการ ==
ภาษามณีปุระพิษณุปุระ มีผู้พูดในบางส่วนของรัฐอัสสัม ตรีปุระและมณีปุระในอินเดีย เช่นเดียวกับในบังกลาเทศ พม่า และ ประเทศอื่นๆ ภาษานี้ต่างจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆ เช่น [[ภาษาเบงกาลี]] [[ภาษาโอริยา]] [[ภาษาอัสสัม]] โดยภาษานี้มีถิ่นกำเนิดและพัฒนาขึ้นในรัฐมณีปุระ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกรอบๆ[[ทะเลสาบโลกตัก]] หลักฐานรุ่นแรกๆที่กล่าวถึงภาษานี้เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ในพุทธศตวรรษที่ 23 ชื่อ ขุมัล ปุรณะ เขียนโดย บัณฑิต นวเขนทรา ศรมะ หลักฐานอื่นๆแสดงให้เห็นว่าภาษานี้เกิดในรัฐมณีปุระก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 G.A. Grierson เรียกภาษานี้ว่า ภาษามณีปุระพิษณุปุระ แต่บางคนเรียกเพียงภาษาพิศนุปริยะ
บรรทัด 21:
แม้ว่าใน พ.ศ. 2434 Grierson พบผู้พูดภาษานี้ 2-3 หมู่บ้านใกล้พิษณุปุระ แต่ภาษานี้เริ่มสูญสลายอย่างช้าๆภายในมณีปุระซึ่งคนส่วนใหญ่พูดภาษาไมไต และเริ่มสูญหายในบังกลาเทศและจาชัรซึ่งคนส่วนใหญ่พูดภาษาเบงกาลี ภาษานี้ยังเหลือผู้พูดอยู่ในชิริบัม (ส่วนย่อยในมณีปุระ) ตำบลจาชัรในอัสสัม และกลุ่มเล็กๆในบังกลาเทศและมณีปุระ
== จุดเริ่มต้น ==
ผู้พูดภาษานี้เรียกภาษาของตนว่า อิมัร ทาร์ หมายถึงภาษาของแม่ เขาเรียกตนเองว่าชาวมณีปุรีปุระ และใช้คำว่า พิศนุปริยะ"ชาวพิษณุปุระ" หรือ "พิษณุปริยา" เพื่อแยกตนเองออกจากกลุ่มอื่นๆอื่น ๆ ในมณีปุระ คำว่าพิศนุปริยะ "พิษณุปริยา" อาจมาจากคำว่าพิษณุปุระ โดยเติมปัจจัย –อิยะอิยา เพื่อให้หมายความว่าประชาชนของพิษณุปุระ ชาวพิษณุปุระดั้งเดิมเชื่อว่าพวกเขาเข้าสู่มณีปุระโดยอพยพมาจาก[[ทวารกะ]]และ[[หัสตินาปุระ]] หลังจากเกิดสงคราม[[มหาภารตะ]] มีการกล่าวกันว่าการอพยพครั้งนี้นำโดยพภรุวาหนะ บุตรของอรชุนกับจิตรางคทา นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์บางคนสนับสนุนทฤษฎีนี้ จากการสังเกตลักษณะของภาษา ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจาก[[ภาษาสันสกฤต]]และ[[ภาษามหาราษฏรี]] เช่นเดียวกับ[[ภาษาปรากฤต]] เช่น [[ภาษาเสาราเสนี]] ภาษาเสาราเสนีนี้เป็นภาษาของทหารและประชาชนในทุ่งกุรุเกษตร มัธยเทศ อินทรปรัศถ์และหัสตินาปุระ อย่างไรก็ตาม K.P. Sinha ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีนี้และเห็นว่าภาษามณีปุระพิษณุปุระมาจาก[[ภาษามคธี]]
ภาษามณีปุระพิษณุปุระไม่ใช่ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า แต่ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาไมไตทั้งทางด้านไวยากรณ์และการออกเสียง ในแต่ละช่วงของพัฒนาการ ภาษาเสาราเสนี ภาษามคธี ภาษามหาราษฏรีและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าเข้ามามีอิทธิพลมาก ภาษานี้อาจจะพัฒนามาจากภาษาสันสกฤต ภาษาเสาราเสนี และภาษามหาราษฏรีเช่นเดียวกับ[[ภาษาฮินดี]] ภาษาอัสสัม ภาษาเบงกาลี และภาษาโอริยา อิทธิพลจากภาษาเสาราเสนีและภาษามหาราษฏรีเห็นได้จากคำสรรพนาม การเชื่อมต่อ และการลงท้ายการก และมีลักษณะบางอย่างจากภาษามคธีปนอยู่ด้วย ภาษานี้คำศัพท์จากภาษาไมไตที่ออกเสียงแบบเก่าในช่วงพ.ศ. 2000 – 2200 ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้พูดส่วนใหญ่อพยพออกจากมณีปุระในพุทธศตวรรษที่ 24