ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิ่นเฟย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 27:
==พระราชประวัติ==
 
พระสนมจิ่น ได้เข้าสู่พระราชวังต้องห้ามเมื่อปี พ.ศ. 2431 พร้อมกันกับน้องสาวคือ[[พระสนมเจิน]] เป็นธิดาของนาย'''จางซู''' ({{zh-all|p=Changxu}}) ชาวแมนจูเผ่าตาตาลา ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 ได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมจิ่น โดยผ่าน หยกผักกาด โดยปัจจุบันสมบัติชิ้นนี้ได้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ [[ไทเป|กรุงไทเป]], [[ไต้หวัน]]<ref name="Hook">Leslie Hook. [http://online.wsj.com/article/SB118549131061379569.html "The Jade Cabbage"] ''[[Wall Street Journal]]''. 27 July 2007. Retrieved 21 November 2010.</ref> ท่านไม่เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่เท่าพระสนมเจิน
 
ระหว่างในช่วง[[กบฏนักมวย]] ในปี พ.ศ. 2443 ราชวงศ์ลี้ภัยไปยังเมืองซีอาน ซึ่งว่ากันว่าพวกคนในราชวงศ์ต่างลืมพระสนมจิ่นไว้ที่พระราชวังต้องห้าม แต่ในที่สุดแล้วพระองค์ก็ได้ตามกลุ่มของบรรดาราชวงศ์ไปยังเมืองซีอานโดยความช่วยเหลือขององค์ชายพระองค์หนึ่งในราชวงศ์ชิง หลังจากที่สนมเจินพระน้องนางของพระองค์พึ่งจะถูกสำเร็จโทษไปโดยพระราชเสาวนีย์ของพระนาง[[ซูสีไทเฮา]] โดยการโยนพระนางลงไปในบ่อ และต่อมาถึงมีทฤษฎีออกมากล่าวอ้างว่าพระนางอาจทำอัตตวินิบาตพระองค์เอง
 
หลังจากที่บรรดาบุคคลในราชวงศ์เสด็จกลับมายังพระราชวังต้องห้ามในปี พ.ศ. 2445 ราชวงศ์ชิงสูญเสียพระราชอำนาจเป็นอย่างมาก สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่พระสวามีของนางเสด็จสวรรคตในปี 6 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2451 ต่อจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็สิ้นพระชนม์หลังจากรพะจักรพรรดิเพียงหนึ่งวัน จึงถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญที่สุดของราชวงศ์ชิง ก่อนที่พระนางจะสิ้นพระชนม์ พระนางซูสีไทเฮาได้แต่งตั้งผู่อี๋ โอรสในเจ้าชายชุนที่ 2 เป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิกวางสูคือสมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู ได้กลายมาเป็น[[พระพันปีหลงยฺวี่]]ในสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับเจ้าชายชุนที่ 2 และพระสนมเจินก็ได้กลายเป็นพระสนมเอกจิน
 
นอกจากพระราชมารดาแท้ๆของพระจักรพรรดิผู่อี๋แล้ว พระองค์ยังมีพระราชมารดาบุญธรรมอีก 5 พระองค์ โดยใน 5 พระองค์นี้ สมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู มีพระอิสริยยศสูงที่สุด และพระสนมเอกจินมีพระอิสริยยศต่ำที่สุด และพระราชมารดาบุญธรรมอีก 3 พระองค์ก็เป็นพระสนมในสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ
 
ในปี พ.ศ. 2455 สมเด็จพระจักรพรรดินีหลงยวี่ได้ทรงลงพระนามาภิไธยสละราชสมบัติ และต่อมาในปี พ.ศ. 2456 สมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู่ก็สิ้นพระชนม์ พระสนมเอกจินจึงกลายเป็นผู้ที่มีพระอิสริยยศสูงสุดในพระราชวังต้องห้าม (แต่ว่าก่อนหน้านั้นพระนางมียศต่ำที่สุด) และพระนางได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระสนมเอกหม้ายต้วนคัง (端康太妃) ในปี พ.ศ. 2464 พระราชมารดาแท้ๆของสมเด็จพระจักรพรรดิ[[ผู่อี๋]]ได้กระทำอัตตวินิบาตพระองค์เองด้วยการอมฝิ่นเป็นจำนวนมากหลังจากที่พระสนมเอกตวนคังได้ว่ากล่าวพระนางต่อสาธารณชนในกรณีที่สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ประพฤติตนไม่เหมาะสมต่อพระนาง
 
ภายในหนังสืออัตชีวประวัติของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ พระองค์ได้ทรงเขียนถึงพระสนมเอกหม้ายต้วนคังว่า พระนางทรงเห็นพระนางซูสีไทเฮาเป็นต้นแบบ ถึงแม้ว่าพระน้องนางของพระองค์คือมเหสีเจิน จะถูกประหารโดยพระนางซูสีไทเฮา พระนางทรงควบคุมพฤติกรรมของพระองค์ทุกย่างก้าว จนทำให้พระองค์พิโรธออกมา หลังจากการสิ้นพระชนม์พระราชมารดาของพระองค์ พระสนมเอกหม้ายต้วนคังจึงได้เปลี่ยนพฤติกรรมของพระองค์ไปกลายเป็นคนที่สบายๆไม่เป็นพิธีรีตองอะไรมากนัก
บรรทัด 43:
==สิ้นพระชนม์==
 
พระสนมเอกหม้ายต้วนคังสิ้นพระชนม์ภายในพระราชวังต้องห้าม มีพระชนมายุ 50 พรรษา โดยสิ้นพระชนม์ไม่นานก่อนที่ขุนศึก [[เฟิง ยู่เสียง]] จะบังคับให้ราชวงศ์ทุกคนออกจากระราชวังต้องห้ามในปี พ.ศ. 2467
 
==อ้างอิง==