ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sukdiput (คุย | ส่วนร่วม)
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
[[ไฟล์:Prajadhipok's coronation records - 003.jpg|เจ้าฟ้าประชาธิปกและพระราชมารดา|left|200px|thumb]]
 
=== ขณะทรงพระเยาว์เจแปน ===
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ที่ประสูติแต่[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง]] ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม ๑๕๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ณ [[พระที่นั่งสุทธาศรีภิรมย์]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามเมื่อการสมโภชเดือนว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษบริพรรต บรมขัตติยมหารชดาภิสิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/048/515_1.PDF ข่าวสมโภชเดือนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ], เล่ม ๑๐, ตอน ๔๘, ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๕๑๕ </ref> พระนามทั่วไปเรียกว่า "ทูลกระหม่อมเอียดน้อย"<ref>[http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/rama/rama7.html พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477) (ย่อความจาก “พระราชประวัติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์” โดย ม.ร.ว. แสงสูรย์ ลดาวัลย์), เข้าถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554]</ref>
 
พระองค์มีสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระเชษฐภคินีร่วมพระครรโภธร 7 พระองค์ ได้แก่ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพนารีรัตน์]], [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง]], [[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์]], [[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา]] และ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย]]
 
เมื่อพระองค์เจริญวัยครบกำหนดที่จะตั้งการพิธีโสกันต์และพระราชทานพระสุพรรณบัฏตามขัตติยราชประเพณีแล้ว พร้อมกันนี้[[พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช]]ก็มีพระชนม์ครบกำหนดโสกันต์เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการโสกันต์และเฉลิมพระนามของทั้งสองพระองค์ขึ้นพร้อมกันบริเวณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2448<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/050/1140_1.PDF พระราชพิธีมหามลคลการโสกันต์ และพระราชทานพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์และโสกันต์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช], เล่ม ๒๒, ตอน ๕๐, ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๑๑๔๐ </ref> โดยพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น[[เจ้าฟ้าต่างกรม]]ที่ '''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชา''' มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/050/1148.PDF ประกาศเฉลิมพระนาม], เล่ม ๒๒, ตอน ๕๐, ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๑๑๔๘ </ref>
 
=== การศึกษา ===
 
เมื่อพระองค์เจริญพระชันษาพอสมควรทรงเข้ารับการศึกษาตามประเพณีขัตติยราชกุมาร และจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษ ต่อมา ครั้นทรงโสกันต์แล้วเสด็จไปศึกษาวิชาการที่[[ประเทศอังกฤษ]] เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญใน[[วิทยาลัยอีตัน]]ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหาร (Royal Military Academy Council) ณ เมือง[[วูลิช]] ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2453]] พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยการประคองพระบรมโกศคู่กับ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] ขณะเชิญพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศ <ref>พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. japanese43158128287878170125478888 ประวัติต้นรัชกาลที่ 6. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2550</ref> แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2456 ภายหลังทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษอยู่ที่เมือง[[อัลเดอร์ชอต]] (Aldershot) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (Army Council) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” Battery Royal Horse Artillery ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติศักดิ์แห่ง[[กองทัพอังกฤษ]] และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโทและนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์<ref name="เลื่อนกรม">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/A/216.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรมตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา], เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๑๖ </ref>
 
ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิด[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง|สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังไม่สำเร็จศึกษาวิชาการทหาร หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมโดยเน้นวิชาที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก