ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หูกวาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Incsanook (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำ[[หมึก]] เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยง[[ปลาสวยงาม]]หรือ[[ปลากัด]] เนื่องจากใช้ใบแห้งหมัก[[น้ำ]]ที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสาร[[แทนนิน]]ในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมี[[พีเอช (เคมี)|ค่าความเป็นกรด-ด่าง]] (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ[[รา|เชื้อรา]]และ[[แบคทีเรีย]]ได้เป็นอย่างดี<ref>บทความเรื่อง ใบหูกวางกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียในปลากัดได้ จากวารสารข่าวของสถาบันวิจัยและพัฒนา [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ปีที่ 10 ฉบับที่ 7 เดือน[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2549|2549]]</ref>
 
หูกวาง เป็นต้นเป็น[[รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด|พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน]]ประจำประจำ[[จังหวัดตราด]] และเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยสยาม]]
 
และหูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละ[[จังหวัด]]หรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน ([[นราธิวาส]]), ดัดมือ หรือ ตัดมือ ([[ตรัง]]), ตาปัง ([[พิษณุโลก]], [[สตูล]]), ตาแปห์ ([[ภาษามลายู|มลายู]]-[[นราธิวาส]]), หลุมปัง ([[สุราษฎร์ธานี]]) เป็นต้น<ref>[http://www.panmai.com/PvTree/tr_16.shtml ต้นหูกวาง ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด]</ref>
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Terminalia catappa| ''Terminalia catappa''}}
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/หูกวาง"