ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พืชไร่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''พืชไร่''' เป็นไม้ประเภท[[ไม้ล้มลุก]]และ[[ไม้ทนแล้ง]] ต้องการน้ำน้อย มีอายุการปลูกและการเก็บเกี่ยวไม่นาน และเมื่อให้ผลผลิตแล้วลำต้นก็จะตาย พืชไร่ถือเป็นอาชีพหลักของ[[เกษตรกร]]ของประเทศไทย พืชไร่ที่จัดเป็นพืชเศรษฐกิจนำรายได้มาสู่ประเทศไทยอย่างมาก เช่น [[อ้อย]] เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำตาลทราย, [[ข้าวโพด]] เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์, [[มันสำปะหลัง]] เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งและอาหารสัตว์ ซึ่ง[[วิทยาลัยเกษตรกรรม]]ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชไร่อย่างมีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมให้เกษตรกรป,กปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งให้ผลผลิตสูง ทนโรค ส่งเสริมการปลูก[[สับปะรด]]พันธุ์เพชรบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติหวานกรอบ เป็นต้น<br />
 
[[ไฟล์:Man1.gif|150 px]] [[ไฟล์:Man2.gif|150 px]] [[ไฟล์:Bean2.gif|150 px]] [[ไฟล์:Corn1.gif|150 px]]
 
==การจำแนกพืชไร่==
พืชไร่สามารถจำแนกตามประโยชน์ใช้งานได้เป็น พืชอาหารสัตว์ พืชใช้เมล็ด พืชคลุมดิน พืชหัว พืชสมุนไพร พืชเส้นใย พืชน้ำมัน พืชน้ำตาล เป็นต้น
 
==ตัวอย่างพืชไร่==
ประเภทอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง[[ข้าวฟ่าง]]
ประเภทใช้เมล็ด ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่างข้าวฟ่าง และต้นถั่วสำหรับเป็นอาหารสัตว์
ประเภทคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว
ประเภทใช้หัว ได้แก่ [[มันฝรั่ง]] [[มันเทศ]] มันสำปะหลัง
ประเภทสมุนไพร ได้แก่ [[ฟ้าทลายทะลายโจร]] [[ตะไคร้หอม]] [[ขมิ้น]]
ประเภทเส้นใย ได้แก่ [[ฝ้าย]] ปอ ป่าน
ประเภทให้น้ำมัน ได้แก่ [[ถั่วเหลือง]] [[ละหุ่ง]] [[ทานตะวัน]] [[งา (พืช)|งา]]
ประเภทให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย [[มะพร้าว]] [[ตาล]]
 
==พืชอุตสาหกรรม==
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการเกษตร ซึ่งการเกษตรถือเป็นรากฐานของประเทศไทย มีการปลูกพืชประเภทพืชสวนเป็นจำนวนมากและพืชสวนที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ [[ปาล์มน้ำมัน]] ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและด้านพลังงานทดแทน โดยมีการใช้น้ำมันปาล์มทดแทน[[น้ำมันดีเซล]]ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท ซึ่งน้ำมันที่เป็นทรัพยากรโลกก็เริ่มลดน้อยลง และส่งผลให้ราคายิ่งสูงขึ้น ประเทศไทยมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2572 นอกจากปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชอุสากรรมอุตสาหกรรมของไทยแล้ว ยังมี [[กาแฟ]] [[ต้นชา|ชา]] และมะ[[แมคาเดเมีย]] ซึ่งมีการปลูกทางภาคใต้และภาคเหนือของประเทศไทย ทำรายได้เข้าสู่ประเทศและทำรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี<br />
 
''ปาล์มน้ำมัน''<br />
ชื่อสามัญ Oil palm <br />
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis Jacq. <br />
ถิ่นกำเนิด แถบแอฟริกาตะวันตก <br />
ความสำคัญ เป็นพืชน้ำมันที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นทั้งด้านการผลิตและด้านการตลาด ส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันปาล์มต่อน้ำมันพืชของโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากร้อยละ 11.7 ในช่วงปี 2519 – 2543 เพิ่มเป็นร้อยละ 27.5 ในช่วงปี 2544 – 2548 และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 31.2 ในช่วงปี 2549 – 2563 โดยมีประเทศผู้ผลิตสำคัญคือมาเลเซียและอินโดนีเซีย<br />
สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจาก 69,625 ไร่ในปี 2520 เป็น 2.04 ล้านไร่ใน 2546 และน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุดของอุตสาหกรรมน้ำมันพืชของประเทศไทย คือ มีส่วนแบ่งการผลิตถึงร้อยละ 73 และมีส่วนแบ่งการบริโภคน้ำมันร้อยละ 62 ของน้ำมันพืชทุกชนิด<br /><br />
ในส่วนของการส่งเสริม[[วิชาชีพเกษตร]]ของวิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วทั้งประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพพืชไร่ชนิดต่าง ๆ
 
== อ้างอิง ==
* เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “พืชอุตสาหกรรม”
 
[[หมวดหมู่:พืช]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พืชไร่"