ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาคำฟั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
 
== พระราชประวัติ ==
'''พระยาคำฟั่น''' เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 ใน[[เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว]] ผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ใน[[พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)]] กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักร" (เชื้อเจ้าเจ็ดตน)
 
พระยาคำฟั่น เป็นพระอนุชาของ[[พระเจ้ากาวิละ]] มีพระเชษฏา พระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
 
เส้น 31 ⟶ 32:
* [[พระเจ้าดวงทิพย์]] พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5
* [[เจ้าศรีอโนชา]] พระอัครชายาใน[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]]
* เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
* [[พระยาอุปราชหมูล่า]]
* เจ้าอุปราชหมูหล้า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
* พระยาคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
* เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
* [[พระเจ้าลำพูนไชย|พระเจ้าบุญมา]] พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2
 
เจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง (หรือ เมืองกันตะระวดี) อันเป็นดินแดนกะเหรี่ยงที่รุ่งเรืองและร่ำรวยมากไปด้วย[[สัก|ไม้ขอนสัก]]อันล้ำค่า ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ได้รับพระราชทานพระนามอันเป็นมงคลยิ่งแก่แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ว่า "แม่เจ้าเนตรนารีไวยมหาเทวี" แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ได้รับมรดกส่วนพระองค์ ในฐานะราชธิดาเจ้าฟ้าเมืองยางแดง เป็นที่ดินป่าไม้ขุนยวม [[อำเภอแม่สะเรียง]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] จำนวน 400,000 กว่าไร่ ซึ่งปัจจุบันที่ดินดังกล่าวราชสำนักสยามได้ตัดสินให้เป็นป่าไม้ชั้น 2
 
เจ้าคำฟั่น ได้รับแต่งตั้งเป็น'''พระยาราชวงศ์'''เมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมา จ.ศ. 1176 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระดำริให้รื้อฟื้นเมืองลำพูนไชยซึ่งร้างอยู่ให้กลับเป็นเมือง จึงโปรดเกล้าเลื่อนพระยาราชวงศ์คำฟั่นเป็น'''พระยาลำพูนไชย''' ครองเมืองลำพูนตั้งแต่วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ศกนั้น<ref>''พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย'', หน้า 95</ref> ปีต่อมาทรงเลื่อนพระยาลำพูนคำฟั่นเป็น'''พระยาอุปราช'''เมืองเชียงใหม่<ref>''พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย'', หน้า 96</ref> ถึง จ.ศ. 1185 จึงโปรดให้เลื่อนเป็น'''พระยาเชียงใหม่'''<ref>''พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย'', หน้า 97</ref>
 
พระยาคำฝั้น ถึงแก่พิราลัยอสัญกรรมเมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8 จ.ศ. 1187 ปีระกา<ref>''พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย'', หน้า 98</ref> ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368
 
== ราชโอรส ราชธิดา ==
เจ้าหลวงเศรษฐีพระยาคำฝั้น มีราชโอรสและราชธิดา รวม 44 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล [[ราชวงศ์ทิพย์จักร|ณ เชียงใหม่ และ ณ ลำพูน]] มีพระนามตามลำดับ ดังนี้<ref>วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. '''เจ้าหลวงลำพูน''' กรุงเทพฯ : อัมรันทร์พริ้นติ้ง. 2552</ref>
 
{{บน}}
เส้น 48 ⟶ 51:
* เจ้าหนานไชยเสนา
* เจ้าหนานมหายศ
* [[เจ้าพระยาอุปราช (พิมพิสาร)]] - เจ้าพระยาอุปราชนครเชียงใหม่
* [[เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ]] - เจ้าบิดาใน "[[เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์]]" เจ้านายเชื้อสายต่อมาใช้ราชตระกูล "ณ ลำพูน"
* พระยาธรรมลังกา , พระยารัตนอาณาเขต เจ้าเมืองเชียงราย
* เจ้าหญิงบัวคำ
* เจ้าหญิงเกี๋ยงคำ
* เจ้าหญิงคำค่าย
 
=== แม่เจ้าตาเวย ===
* [[เจ้าพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง)]], เจ้าพระยาราชวงศ์นครเชียงใหม่ - ราชเจ้าบิดาใน "[[พระเจ้าอินทวิชยานนท์]]"
* เจ้าหญิงบุญนำ - ชายาเจ้าหนานมหาวงศ์ (โอรสพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ)
* เจ้าหญิงคำเกี้ยว - ชายา "เจ้าพระยาอุปราชนครลำพูน"
* แม่เจ้าเขียวก้อมเทวี - ชายาใน "เจ้าหลวงขัติยะ, พระยาวิชิตชลธี เจ้าเมืองตาก" เป็นเจ้ามารดาใน "เจ้าราชวงศ์ หนานไชยเทพ ธนัญชยานนท์, เจ้าราชวงศ์นครลำพูน" ต้นราชตระกูลสาขา "ธนัญชยานนท์"
* เจ้าหญิงฟองสมุทร - ชายา "เจ้าหนานไชยวงศ์ ณ เชียงตุง", ราชนัดดา (หลานปู่) ใน "เจ้าฟ้าชายสามจุฬามณีสิริเมฆภูมินทร์, เจ้าฟ้านครเชียงตุง องค์ที่ 1"
* เจ้าหญิงเปาพิมาลย์
 
=== หม่อมตาคำ ===
* เจ้าหญิงคำเมา - รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมใน ร.3 (ไม่มีพระราชโอรส พระราชธิดา) <ref>พิเชษ ตันตินามชัย. "เจ้าหญิงเชียงใหม่" ศิลปวัฒนธรรม 26 : 2 ธันวาคม 2547.</ref>
* เจ้าหญิงลังกา
* เจ้าหญิงคำปวน
* เจ้าหนานมหาวงศ์
 
=== หม่อมคำชัง ===
* เจ้าหญิงบัวถา
* เจ้าหญิงกัณหา
 
=== หม่อมแก้วพา ===
* เจ้าหญิงมณีวรรณ
 
=== หม่อมคำหล้า ===
เส้น 80 ⟶ 83:
* เจ้าบุรีรัตน์ภูเกียง , พระยาบุรีรัตน์เมืองเชียงราย - เจ้าบิดาใน "เจ้าหลวงหนานสุยะ (ณ เชียงใหม่) , พระยารัตนอาณาเขต เจ้าเมืองเชียงราย" และเป็นเจ้าปู่ทวดใน "แม่เจ้าขานแก้วจักรคำขจรศักดิ์ราชเทวี" และ "แม่เจ้าแขกแก้วจักรคำขจรศักดิ์" ใน "พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10"
{{กลาง}}
 
=== หม่อมคำเอ้ย ===
* เจ้าอุปราช (ธรรมปัญโญ), เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ - สมรสกับ "เจ้าหญิงอุส่าห์ ณ เชียงตุง" ธิดา "เจ้าเมืองเหล็ก" ราชโอรสใน "เจ้าฟ้าชายสามจุฬามณีสิริเมฆภูมินทร์, เจ้าฟ้านครเชียงตุง องค์ที่ 1"
เส้น 107 ⟶ 111:
 
=== หม่อมคำตุ้ย ===
* เจ้าหญิงสนธยา - ชายาใน "เจ้าหนานไชยเสนา ณ เชียงใหม่" ราชโอรสใน[[พระเจ้ากาวิละ]]
* เจ้าหญิงบัวบุศย์
 
=== หม่อมใจคำ ===
* เจ้าหนานกาวิละ
* เจ้าหญิงบัวศรี
* เจ้าหญิงพิมพา
 
=== หม่อมคำเอ้ย ===
* เจ้าหญิงคำนาง
* เจ้าหญิงเบ็ญจ๋าย
* เจ้าหญิงบัวไข
* เจ้าหญิงกรรณิกา
{{ล่าง}}
 
เส้น 125 ⟶ 129:
เมื่อพระยาเศรษฐีคำฝั้น ครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกับเจ้าราชวงศ์สุวัณคำมูน ทำให้บรรดาขุนนางได้ไปเชิญ[[พระเจ้าดวงทิพย์|เจ้าดวงทิพย์]] และ[[พระเจ้าลำพูนไชย|เจ้าบุญมา]] มาประนีประนอมการวิวาทครั้งนี้ โดยแนะนำให้พระยาคำฝั้น เสด็จออกผนวช[[วัดเชียงมั่น]] แล้วไปจำพรรษาที่[[วัดสวนดอก (พระอารามหลวง)|วัดสวนดอก]] จากนั้นได้มีการปล่อยรถม้าเสี่ยงทายหาเจ้าหลวงองค์ใหม่ แต่รถม้าดังกล่าวกลับมาหยุดอยู่ที่บริเวณหน้าวัดสวนดอก ซึ่งเป็นที่ประทับของพระยาคำฝั้น เหลาบรรดาเจ้านาย และขุนนางจึงได้อัญเชิญพระยาคำฝั้น ให้ลาสิขาบทกลับมาเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่อีกครั้ง<ref name=chiangmainews/>
 
ในช่วงรัชกาลของเจ้าหลวงเศรษฐีพระยาคำฝั้น เป็นช่วงเวลาที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เสด็จสวรรคต และกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 3 แห่งราชวศ์จักรี ทรงพระนามว่า "[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]" ใน พ.ศ. 2367 และพระยาหลวงฯ ประชวรในขณะที่ส่ง[[พระยาพุทธวงศ์|เจ้าพระยาอุปราชพุทธวงศ์]]และเจ้านายบางส่วนไปเฝ้ารัชกาลที่ 3 เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ทรงทราบถึงอาการเจ็บป่วย จึงได้จัดส่งแพทย์หลวงมารักษาแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนถึงวันอาทิตย์ เดือนห้า แรม 11 ค่ำ ในเวลาบ่าย พระยาคำฝั้นก็ถึงแก่พิราลัย ในจุลศักราช 1186 (ตรงกับวันที่ [[13 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2368]]) สิริอายุรวม 69 ปี และเจ้าอุปราชพุทธวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 4 โดยมีเจ้าหนานมหาวงศ์ บุตร[[พระยาธรรมลังกา]]เป็นเจ้าอุปราช และเจ้าน้อยมหาพรหม บุตรพระยาคำฝั้น เป็นพระยาราชวงศ์เชียงใหม่สืบไป<ref name=chiangmainews/>
 
==ลำดับสาแหรก==
เส้น 141 ⟶ 145:
|2= [[เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว]]
|3= แม่เจ้าจันทา
|4= [[พระยาสุลวลือไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)]]
|5= แม่เจ้าพิมพา
|6=
เส้น 158 ⟶ 162:
 
== อ้างอิง ==
* ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ 3'' "เรื่อง พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย"
{{รายการอ้างอิง}}
* ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. '''เพ็ชร์ล้านนา'''. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
* สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. '''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) '''. เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
* เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. '''เจ้าหลวงเชียงใหม่'''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
* คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. '''เจ้านายฝ่ายเหนือ'''. [http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html]
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{เริ่มกล่อง}}