ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิทรูแมน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ทรูแมนกล่าวว่าทฤษฎีดังกล่าวจะเป็น "นโยบายของสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนอิสรชนผู้ซึ่งกำลังต่อต้านความพยายามปราบปรามโดยชนกลุ่มน้อยติดอาวุธหรือโดยแรงกดดันจากภายนอก" ทรูแมนให้เหตุผลว่า เนื่องจาก "ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ" เหล่านี้บีบบังคับ "อิสรชน" พวกเขาจึงเป็นสัญลักษณ์ของภัยคุกคามต่อสันติภาพสากลและความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ทรูแทนออกแถลงการณ์ดังกล่าวท่ามกลางวิกฤตการณ์สงครามกลางเมืองกรีซ (1946-49) เขาโต้แย้งว่าหากกรีซและตุรกีไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ต้องการโดยด่วนแล้ว ทั้งสองประเทศอาจตกอยู่ภายใต้ระบอบ[[คอมมิวนิสต์]]อย่างแก้คืนไม่ได้และจะสร้างผลกระทบร้ายแรงตลอดภูมิภาค
 
แต่เดิม [[สหราชอาณาจักร]]เคยให้การสนับสนุนกรีซมาก่อน แต่ตอนนี้อังกฤษกลับตกอยู่ในสถานะแทบล้มละลายและะและถูกบังคับให้ลดการให้ความช่วยเหลือลงอย่างมาก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 สหราชอาณาจักรร้องขออย่างเป็นทางการต่อสหรัฐอเมริกาเพื่อแทนที่ตนในบทบาทการสนับสนุนรัฐบาลกรีซ<ref>Alan Bullock, ''Ernest Bevin: Foreign Secretary'' (1983) pp 368-9; Arnold Offner, ''Another Such Victory: President Truman and the Cold War, 1945-1953'' (2002) p 197; Denise M. Bostdorff, ''Proclaiming the Truman Doctrine'' (2008) p 51 </ref>
 
นโยบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก[[พรรครีพับลิกัน]]ซึ่งมีเสียงข้างมากใน[[รัฐสภาสหรัฐอเมริกา]] และส่งเงินจำนวน 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปยังภูมิภาคดังกล่าว แต่มิได้ส่งกำลังทหารใด ๆ ไป ผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวทำให้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์หมดลงไป และใน ค.ศ. 1952 ทั้งสองประเทศเข้าร่วมกับ[[นาโต]] พันธมิตรทางการทหารซึ่งรับประกันการคุ้มครองทั้งสองประเทศ<ref>George McGhee, ''The U.S.-Turkish-NATO Middle East Connection: How the Truman Doctrine and Turkey's NATO Entry Contained the Soviets in the Middle East,'' (1990)</ref>