ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 97:
ดยุกแห่งออลบานีมาถึงสกอตแลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1515 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม งานแรกของเขาคือการได้รับเป็นผู้ปกครองของพระเจ้าเจมส์และเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในทางการเมือง หลังจากที่สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตทรงต่อต้าน ในที่สุดก็ทรงยอมจำนนที่สเตอร์ลิงในเดือนสิงหาคม พระโอรสได้อยู่ในการควบคุมของพระปิตุลา และพระนางมาร์กาเร็ตซึ่งขณะนี้คาดว่าทรงพระครรภ์บุตรของเอิร์ลแห่งแองกัส ได้ถอนพระองค์จากการเมืองไปยังเอดินเบอระ ในบางครั้งพระอนุชาของพระนางได้เร่งเร้าให้พระนางเสด็จหนีมาอังกฤษพร้อมพระโอรสด้วย แต่พระนางก็ปฏิเสธอย่างแข็งขัน ทรงเกรงว่าถ้าดำเนินการดังกล่าวอาจจะทำให้พระเจ้าเจมส์ต้องสูญเสียบัลลังก์
 
เนื่องจากไม่มีผลประโยชน์ใดๆ พระนางจึงได้รับอนุญาตให้เสด็จไปยัง[[ลินลิธโกว์]]ดังนั้นพระนางจึงเสด็จหนีข้ามชายแดน พระนางทรงได้รับการต้อนรับจาก[[โทมัส ฟิเอนเนส บารอนดาเครที่ 8|ลอร์ดดาเคร]] [[เทศาภิบาลผู้ดูแลหัวเมืองชายแดน]]ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และทรงได้รับเชิญไปยัง[[ปราสาทฮาร์บอทเทิล]]ในนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่นี่ในต้นเดือนตุลาคม พระนางทรงมีพระประสูติกาล[[มาร์กาเร็ต ดักลาส|เลดีมาร์กาเร็ต ดักลาส]] ซึ่งในอนาคตคือ [[เอิร์ลแห่งเลนน็อกซ์|เคานท์เตสแห่งเลนน็อกซ์]]และเป็นมารดาใน[[เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์]] ซึ่งเป็นพระญาติและเป็นพระสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]] ขณะที่ทรงอยู่ที่ภาคเหนือของอังกฤษ พระนางมาร์กาเร็ตทรงได้รับทราบเรื่องการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ พระโอรส ลอร์ดดาเครได้พูดไปนัยๆว่าดยุกแห่งออลบานี ได้เป็นเหมือน[[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ]] ซึ่งเขาต้องรับผิดชอบ แม้ว่าพระนางมาร์กาเร็ตยังทรงอยู่ในสภาวะเปราะบาง แต่พระนางทรงปฏิเสธความคิดนี้ ทรงกล่าวว่าถ้าหากดยุกแห่งออลบานีต้องการที่จะยึดราชบัลลังก์จริงๆ การทำให้พระเจ้าเจมส์สวรรคตดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าสำหรับเขา ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่พระนางทรงเริ่มประเมินตัวเอิร์ลแห่งแองกัส ผู้ซึ่งนึกถึงสวัสดิภาพของตัวเอง โดยการกลับไปยังสกอตแลนด์และสงบศึกกับผู้สำเร็จราชการ "ที่ซึ่งทำให้พระนางมาร์กาเร็ตคิดถึงมาก" เมื่อพระเจ้าเฮนรีทรงรู้ว่าแองกัสไม่ได้พาพระเชษฐภคินีมาที่ลอนดอน พระองค์ก็สบถว่า "เสร็จเจ้าคนสกอต" อย่างไรก้ตามก็ตาม อำนาจ อิทธิพลและความมั่งคั่งทั้งหมดของแองกัสนั้นอยู่ในสกอตแลนด์ การละทิ้งประเทศไปนั้นหมายถึงความผิดฐานกบฏ ในกรณีนี้เขาคงจะเห็นตัวอย่างจากญาติของเขาในสมัยก่อนคือ [[เจมส์ ดักลาส เอิร์ดที่ 9 แห่งดักลาส]] ซึ่งหนีไปยังอังกฤษเมื่อศตวรรษก่อน ซึ่งต้องใช้ชีวิตอย่างทหารรับจ้างซึ่งไร้ที่ดินทำกิน
 
==การเสกสมรสและการเมือง==
สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตทรงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระเจ้าเฮนรีและเพื่อยืนยันสถานะของพระนาง พระนางทรงได้รับการพำนักที่[[เกรตสกอตแลนด์ยาร์ด]] ซึ่งเป็นตำหนักโบราณของพระมหากษัตริย์สกอตในลอนดอน ในปีค.ศ. 1517 หลังจากทรงพำนักที่อังกฤษเป็นเวลาหนึ่งปี พระนางได้เสด็จกลับทางเหนือหลังจากมีสนธิสัญญาประนีประนอมที่ลงนามโดยดยุกแห่งออลบานี พระเจ้าเฮนรี และ[[ทอมัส โวลซีย์|พระคาร์ดินัลด์โวลซีย์]] ดยุกแห่งออลบานีไม่อยู่ที่สกอตแลนด์ชั่วคราว เขาได้เดินทางไปฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้ไปต่อสัญญาพันธมิตรเก่าแก่อีกครั้งและจัดการอภิเษกสมรสในอนาคตสำหรับ[[พระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์]] แต่สมเด็จพระพันปีหลวงทรงได้รับการต้อนรับที่ชายแดนโดย[[อองตวน เดอ อาเครอ|ซิเออร์ เดอ ลา บาสตี]] ผู้แทนของเขา ตลอดจนพระสวามีของพระนาง สนธิสัญญาสันติภาพอาจจะแตกหักลงแต่ก็เป็นเรื่องที่แน่ชัดแล้วว่า พระนางมาร์กาเร็ตไม่ทรงเชื่อพระทัยและการเข้าถึงพระโอรสก็ยังถูกจำกัดอย่างเคร่งครัด
 
แม้ว่าพระนางมาร์กาเร็ตและแองกัสจะทรงคืนดีกันชั่วคราว ไม่นานนักความสัมพันธ์ของทั้งคู่ได้เลวร้ายลง พระนางทรงรู้ว่าขณะที่พระนางทรงประทับอยู่ที่อังกฤษ พระสวามีของพระนางได้ใช้ชีวิตอยู่กับเลดีเจน สจวต อดีตคนรักของเขา ที่เลวร้ายกว่านั้นคือเขาอยู่ได้ด้วยพระราชทรัพย์ของพระชายา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1518 พระนางทรงเขียนจดหมายถึงพระอนุชา กล่าวเป็นนัยถึงการหย่าร้างว่า
 
''"พี่ไม่สบายใจมากในปัญหากับลอร์ดแองกัส นับตั้งแต่ที่พี่กลับมาสกอตแลนด์ครั้งล่าสุดและทุกๆวัน ปัญหาก็มากขึ้น มากขึ้น เราไม่ได้อยู่ด้วยกันมาครึ่งปีแล้ว... พี่ยังคิดว่า พี่ยังคงต้องอยู่กับเขาภายใต้กฏของพระเจ้าและด้วยเกียรติของตัวพี่เอง แม้ว่าพี่คิดว่า เขายังรักพี่จริงหรือ เหมือนที่เขาพยายามแสดงต่อพี่ทุกวัน"''
 
นี่เป็นปัญหาที่ยุ่งยากสำหรับพระเจ้าเฮนรี ซึ่งทรงมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมและยึดมั่นในจารีตดั้งเดิม พระองค์ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการหย่าโดยทรงยึดตามหลักการ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าขบขันอย่างมาก เมื่อพิจารณาถึงชีวิตสมรสของพระองค์ในภายหลัง ในเรื่องความสำคัญ แองกัสถือเป็นพันธทิตรที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการโต้กลับออลบบานีและฝ่ายที่นิยมฝรั่งเศส พระนางมาร์กาเร็ตทรงพิโรธในทัศนคติของพระสวามี พระนางจึงทรงเข้าไปใกล้ชิดกับฝ่ายออลบานีและเข้าร่วมกับคนอื่นๆในการเรียกร้องให้ออลบานีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งดูเหมือนว่าออลบานีได้รีบร้อนที่จะกลับไปราชอาณาจักรทางเหนือที่ดื้อรั้นซึ่งพวกเขาพยายามเสนอให้พระนางมาร์กาเร็ตทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการด้วยพระองค์เอง ข้อพิพาทระหว่างพระสวามีและพระมเหสีนี้พร้อมที่จะก่อให้เกิดการครอบงำการเมืองของสกอตแลนด์ไปอีกสามปีข้างหน้า ความซับซ้อนมากขึ้นจากความบาดหมางที่รุนแรงระหว่างแองกัสและ[[เจมส์ แฮมิลตัน เอิร์ลที่ 1 แห่งอาร์รัน]] ด้วยความสับสนนี้ทำให้พระนางมาร์กาเร็ตต้องทรงเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
 
ในที่สุดออลบานีก็กลับมาถึงสกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1521 และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ต และมีเสียงเล่าลือว่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้่นนี้เป็นมากกว่าเรื่องการเมือง แองกัสต้องลี้ภัยในขณะที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับสมเด็จพระพันปีหลวงอย่างเต็มที่ ได้รื้อฟื้นกฏระเบียบขึ้นมาในประเทศที่แตกแยกในช่วงสามปีแห่งความวุ่นวายและความขัดแย้ง ดยุกแห่งออลบานีเป็นประโยชน์สำหรับพระนางมาร์กาเร็ต เนื่องจากเขามีอิทธิพลในกรุง[[โรม]] ซึ่งจะช่วยให้พระนางสามารถหย่าร้างได้ แองกัสและพันธมิตรของเขาได้แพร่ข่าวลือว่าทั้งสองเป็นคู่รักกันซึ่งได้ผลมากแม้กระทั่งคนที่มีความคิดโลเลอย่างลอร์ดดาเครได้เขียนจดหมายถึงโวลซีย์ โดยคาดการณ์ว่าพระเจ้าเจมส์อาจจะถูกปลงพระชนม์และออลบานีจะขึ้นเป็นกษัตริย์และเสกสมรสกับพระนางมาร์กาเร็ต แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่เคยเป็นไปมากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตน ซึ่งเหตุการณ์ต่อมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็น
==รัฐประหารของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ต==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}