ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนชัยพฤกษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
== ประวัติ ==
ถนนชัยพฤกษ์ช่วงแรกตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง [[อำเภอเมืองนนทบุรี]] จังหวัดนนทบุรี [[พ.ศ. 2540]] เป็นถนนสายหนึ่งใน[[โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณห้าแยกปากเกร็ด และถนนเชื่อมต่อ|โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ดและถนนเชื่อมต่อ]] เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การคมนาคม การขนส่ง และการจราจร<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 114|issue=ตอนที่ 50 ก|pages=หน้า 15-17|title=พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๐|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/A/050/15.PDF|date=26 กันยายน 2540|language=}}</ref> ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์บริเวณแนวเวนคืนนั้นเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนเมื่อปี [[พ.ศ. 2543]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 117|issue=ตอนพิเศษ 98 ง|pages=หน้า 7-8|title=ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/E/098/7.PDF|date=27 กันยายน 2543|language=}}</ref> [[กรมทางหลวงชนบท]]ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างถนนตั้งแต่เดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2546]]<ref>เดลินิวส์. "สะพานพระราม 4 เพิ่มโครงข่ายถนนเชื่อมฝั่งตะวันตกกรุงเทพฯ-เมืองนนท์ใช้ได้สิ้นเดือนนี้." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://reic.or.th/news/news_detail.asp?nID=10157&p=2&s=15&t=13 http://reic.or.th/news/news_<br>detail.asp?nID=10157&p=2&s=15&t=13] 2549. สืบค้น 30 กันยายน 2551.</ref> จนกระทั่งแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างไม่เป็นทางการได้เมื่อวันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]]<ref name="ประชาชาติธุรกิจ"/> และต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]]เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานพระราม 4 และถนนเชื่อมต่ออย่างเป็นทางการ พร้อมด้วย[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ]] เมื่อวันที่ [[21 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2551]]<ref name="สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม">สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. กองสารนิเทศ. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระราม ๔." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&parent=468&directory=1821&pagename=content2&contents=23275 http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&parent=468&directory=1821&<br>pagename=content2&contents=23275] 2551. สืบค้น 30 กันยายน 2551.</ref> ถนนชัยพฤกษ์ช่วยระบายความหนาแน่นของการจราจรจากเส้นทางข้างเคียงโดยรอบ ได้แก่ [[สะพานพระนั่งเกล้า]] [[สะพานนนทบุรี]] [[ถนนแจ้งวัฒนะ]] [[ถนนติวานนท์]] [[ถนนรัตนาธิเบศร์]] และ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345]] (บางบัวทอง-บางพูน) โดยคาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณรถได้ถึงวันละ 30,000-40,000 คัน<ref name="ประชาชาติธุรกิจ"/> หรือชั่วโมงละ 2,000-4,500 คัน<ref name="ประชาชาติธุรกิจ"/><ref name="สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม"/>
 
ปัจจุบันกรมทางหลวงชนบทได้ก่อสร้างถนนชัยพฤกษ์ช่วงที่ 2 ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลบ้านฉาง ตำบลบางปรอก ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ ตำบลบางคูวัด [[อำเภอเมืองปทุมธานี]] ตำบลคูบางหลวง ตำบลคลองพระอุดม [[อำเภอลาดหลุมแก้ว]] [[จังหวัดปทุมธานี]] และ[[ตำบลคลองข่อย (อำเภอปากเกร็ด)|ตำบลคลองข่อย]] [[ตำบลบางพลับ]] อำเภอปากเกร็ด [[ตำบลละหาร (อำเภอบางบัวทอง)|ตำบลละหาร]] [[ตำบลบางบัวทอง]] [[ตำบลพิมลราช]] [[ตำบลโสนลอย]] อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2549<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 123|issue=ตอนที่ 55 ก|pages=หน้า 4-7|title=พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านฉาง ตำบลบางปรอก ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี ตำบลคูบางหลวง ตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และตำบลคลองข่อย ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด ตำบลละหาร ตำบลบางบัวทอง ตำบลพิมลราช ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00189683.PDF|date=26 พฤษภาคม 2549|language=}}</ref> โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนนเชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก แนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก-ตะวันตก เฉพาะแนวตะวันออก-ตะวันตกหรือถนนชัยพฤกษ์ช่วงที่ 2 นี้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ [[1 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2555]] จนเสร็จและเปิดให้ใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2558]]<ref>http://www.thairath.co.th/content/473779 คค.เปิดถนนต่อเชื่อม ราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก หวังแก้จราจรหนึบ</ref> ทำให้ถนนชัยพฤกษ์กลายเป็นเส้นทางสายแรกที่เชื่อมต่อ[[เทศบาลนครปากเกร็ด|ย่านตัวอำเภอปากเกร็ด]]เข้ากับ[[เทศบาลเมืองบางบัวทอง|ย่านตัวอำเภอบางบัวทอง]]โดยตรง
 
== รายละเอียดเส้นทาง ==
ถนนชัยพฤกษ์ช่วงแรกมีเส้นทางเริ่มต้นจาก[[ถนนแจ้งวัฒนะ]] [[ตำบลปากเกร็ด]] อำเภอปากเกร็ด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในลักษณะทางยกระดับตัดข้าม[[แยกปากเกร็ด|ทางแยกปากเกร็ด]] ข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] (ด้วย[[สะพานพระราม 4]]) บริเวณท่าน้ำปากเกร็ด เข้าเขต[[ตำบลบางตะไนย์]] ไปทางทิศเดิม จากนั้นเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อยก่อนข้ามคลองบ้านแหลมเหนือ (คลองวัดอินทาราม) เข้าเขต[[ตำบลคลองพระอุดม (อำเภอปากเกร็ด)|ตำบลคลองพระอุดม]] ไปทางทิศเดิม ข้าม[[คลองพระอุดม]] ข้ามคลองบางภูมิเข้าเขต[[ตำบลบางพลับ]] ตรงไปทางทิศเดิม จนสิ้นสุดเส้นทางที่ทางแยกต่างระดับสาลีโขฯ ซึ่งเป็นจุดบรรจบกับ[[ถนนราชพฤกษ์]] ระยะทางทั้งหมด 4.85 กิโลเมตร<ref name=">กรมทางหลวงชนบท". สำนักงานบำรุงทาง. กลุ่มพัฒนาระบบบริหารงานบำรุง. ''โครงข่ายทางหลวงชนบท ตุลาคม 2554.'' [ม.ป.ป.]: 2555, หน้า 0 - 1/1.</ref>
 
ส่วนถนนชัยพฤกษ์ช่วงที่ 2 มีเส้นทางต่อจากถนนชัยพฤกษ์ช่วงแรกบริเวณทางแยกต่างระดับสาลีโขฯ ไปทางทิศตะวันตก ข้ามคลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) แล้วเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนเบาบาง ข้ามคลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) เข้าเขตตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง ตัดผ่านพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านภัทราวรรณและทางหลวงชนบท นบ.4012 (แยกทางหลวงหมายเลข 3215 - บ้านลำโพ) เข้าเขตตำบลพิมลราช จากนั้นแนวเส้นทางจะเบนไปทางทิศตะวันตกแล้วข้ามคลองลำโพเข้าเขตตำบลบางบัวทอง ก่อนจะไปบรรจบกับ[[ถนนบางกรวย-ไทรน้อย]]ที่ทางแยกสามวัง (ห่างจาก[[แยกบางบัวทอง|ทางแยกบางบัวทอง]]ไปทางทิศตะวันออก 789 เมตร) รวมระยะทางจากทางแยกต่างระดับสาลีโขฯ ถึงทางแยกสามวังประมาณ 3.76 กิโลเมตร