ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์ ตัตลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
หลังจบการศึกษาที่โรงเรียนศิลปะเปนซา ตัตลินได้กลับไปศึกษาที่โรงเรียนจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมมอสโก และได้รู้จักคุ้นเคยกับศิลปิน[[อาว็อง-การ์ด]]หลายคน เช่น the Vesnin brothers, the Burluk brothers, Natalia Goncharova, Mikhail Larionov<ref>โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2552.</ref>
 
ค.ศ. 1913 ตัตลินได้เดินทางไป[[กรุงปารีส]] และได้เข้าเยี่ยมชมสตูดิโอของ[[ปาโบล ปีกัสโซ]]<ref name="name"/> ซึ่งขณะนั้นงานที่จัดว่าเด่นสะดุดตามากที่สุดคือ กีตาร์ (Guitar, ค.ศ. 1912-1913) ซึ่งสร้างขึ้นจากแผ่นเหล็กและเส้นลวด ลักษณะแบบประติมากรรมนูนสูง แขวนอยู่บนผนังห้อง ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประติมากรรมโดยการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ขึ้นมา (Constructiedconstructed Sculpturesculpture) และมีความสำคัญต่อแนวคิดต่อต้านธรรมชาติ (Anti Naturalismantinaturalism)
 
ตัตลินได้รับอิทธิพลแนวความคิดแบบ[[บาศกนิยม]]มาผสมผสานประยุกต์ในการเลือกใช้วัสดุสร้างงาน และได้สร้าง The Bottle ออกมาในปี 1913 ภาพวาดของเขาได้รับแรงบันดาลใจจาก[[โกลด มอแน]] และ[[ปอล โกแก็ง]]ด้วย คือภาพ The Nude (1913) แล้วพัฒนาผลงานไปในลักษณะ[[สถาปัตยกรรม]]มากกว่า[[จิตรกรรม]]หรือ[[ประติมากรรม]] โดยให้ความสำคัญกับการเลือกชนิดวัสดุและเป็นวัสดุจากอุตสาหกรรมตามอุดมการณ์ของ [[Constructivismลัทธิเค้าโครง]] (constructivism) <ref> http://max.mmlc.northwestern.edu/mdenner/Drama/visualarts/Constructivism/24thirdinternational.html |Constructivism. Retrieved 2014-11-29. </ref>
 
ในปี ค.ศ. 1915 เขาได้นำเอาแผ่นโลหะมาสร้างประติมากรรมแขวนนามธรรมชื่อ Counter-reliefs ซึ่งได้รับอิทธิพลจากบาศกนิยมยุคสังเคราะห์ ตัตลินแสวงหาความจริงในแง่ของวัตถุ เขาได้กลายเป็นผู้นำศิลปินลัทธิเค้าโครง (constructivism) ในรัสเซีย และเป็นคณะกรรมการปฏิรูปสถาบันศิลปะของสหภาพโซเวียต ตัตลินเริ่มรู้สึกว่างานประเภทนี้ยังไม่เพียงพอสำหรับสังคมใหม่ เขาและเพื่อนศิลปินเห็นว่าจำต้องนำเอาการคิดค้นและประสบการณ์ของศิลปินมาใช้สร้างวรรค์ชี้นำสังคม ศิลปินสามารถสอนให้ผู้สนใจได้รู้จักธรรมชาติของวัตถุและวิธีการนำมันมาใช้ พวกเขาเองสามารถเข้าไปยังโรงงานและพัฒนาแนวทางการออกแบบใหม่ เช่น เตาผิงที่มีประสิทธิภาพราคาถูก เสื้อผ้าสำหรับใส่ในฤดูหนาว เข้ากับบรรยากาศก่อน[[การปฏิวัติรัสเซีย]]
ตัตลินได้วางแผนสร้างอนุสาวรีย์นานาชาติที่สาม (The movement to the Third International) หรือ Tatlin’s tower ในปีค.ศ. 1919-1920<ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Tatlin%27s_Tower |Honour, H. and Fleming, J. (2009) A World History of Art. 7th edn. London: Laurence King Publishing, p. 819. ISBN 9781856695848</ref> หอสูงขนาดสองเท่าของ[[ตึกเอ็มไพร์สเตต]]แห่งนครนิวยอร์ก ด้วยเหล็ก แก้ว โลหะและกระจกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล อนุสาวรีย์นี้เปรียบเสมือนโครงสร้างกระดูกเหล็ก สร้างคล้ายศูนย์ควบคุมยานอวกาศ การวางตำแหน่งของห้องเล็ก ๆ ในโครงส้รางนี้จะถูกสลับที่กันปีละครั้ง เพื่อจำลองการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ห้องเลขาธิการจะถูกสลับตำแหน่งทุก 28 วัน การออกแบบจึงซับซ้อนเพื่อรองรับวัตถุประสงค์นี้ ซึ่งความฝันแบบอุดมคติของตัตลินไม่สอดคล้องกับนโยบายของ[[เลนิน]] ผู้นำสหภาพโซเวียต ที่มุ่งไปที่การขยายตัวทางการค้าและผลผลิต ดังนั้นในไม่ช้าศิลปะรัสเซียจึงสูญเสียอิสระที่จะค้นหาความหมายใหม่ แม้เป็นเพียงแบบจำลอง แต่อนุสาวรีย์นานาชาติที่สามถือเป็นงานก่อสร้างที่ทำงานได้สมบูรณ์และเป็นสัญลักษณ์ของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในอุดมคติยุคใหม่