ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชอร์ล็อก โฮมส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
แม้โฮมส์จะชอบกลั่นแกล้งตำรวจ แต่เขาก็เป็นมิตรที่ดีของ[[สกอตแลนด์ยาร์ด]]โดยเฉพาะ[[สารวัตรเลสเตรด]] และมักยกความดีความชอบในคดีให้แก่ฝ่ายตำรวจอยู่เสมอ ในตอน ''สัญญานาวี'' โฮมส์เคยบอกว่า ในบรรดาคดีที่เขาสะสาง 53 คดี เขายกความสำเร็จให้เพื่อนตำรวจไปเสีย 49 คดี คงมีแต่เพียงหมอวอตสันที่บรรยายถึงความสามารถของเขาผ่านทางบันทึกเท่านั้น
 
โฮมส์มีศัตรูตัวฉกาจ ชื่อ [[เจมส์ มอริอาร์ตี|ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ตี]] ผู้มีมันสมองปราดเปรื่องในด้านอาชญากรรม อีกทั้งยังเป็นตัวการเบื้องหลังในบางคดีที่เกิดขึ้นอีกด้วย คำพูดของโฮมส์ที่ติดปากกันดี คือ '''"ถ้าเราตัดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ ไม่ว่ามันจะดูเหลือเชื่อเพียงใด แต่มันก็เป็นความจริง"'''
 
=== ความรู้และทักษะ ===
บรรทัด 285:
เรื่องสั้น ''เชอร์ล็อก โฮมส์'' ที่ลงพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่า เชอร์ล็อก โฮมส์ มีตัวตนจริง และพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ จดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง<ref name="221B">[http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2004/01/11/AR2005041501841.html ''SHERLOCK HOLMES 101''] จาก Washingtonpost.com</ref> กล่าวกันว่า โคนัน ดอยล์ มีรายได้จากนวนิยายเรื่องนี้มากกว่างานประจำของเขาเสียอีก{{อ้างอิง}}
 
ปี [[ค.ศ. 1893]] เมื่อโคนัน ดอยล์ เริ่มคิดโครงเรื่องนิยายได้ยากขึ้น และต้องการหันไปทุ่มเทกับงานเขียนด้านอื่นที่เขาเห็นว่ามีคุณค่ามากกว่า เขาได้เขียนเรื่องสั้นตอน ''ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem) '' ให้เชอร์ล็อก โฮมส์ พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับ[[เจมส์ มอริอาร์ตี|ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ตี]]และพลัดตกเหวไป เพื่อจบบทบาทของเชอร์ล็อก โฮมส์เสีย ผลปรากฏว่า ผู้อ่านพากันต่อว่าต่อขานโคนัน ดอยล์ อย่างเคียดแค้น สมาชิกนิตยสารสแตรนด์ บอกยกเลิกสมาชิกภาพถึงกว่าสองหมื่นคน บางคนถึงกับไว้ทุกข์ให้แก่เชอร์ล็อก โฮมส์ มีจดหมายจำนวนมากส่งไปถึงโคนัน ดอยล์ เพื่อเค้นถามข้อเท็จจริงว่า โฮมส์ตกเหวไปแล้วตายจริงหรือเปล่า{{อ้างอิง}} หลังจากต้านทานแรงกดดันจากสาธารณะแปดปี ในที่สุดโคนัน ดอยล์ ทนไม่ไหว จึงปล่อยเรื่องยาว ''หมาผลาญตระกูล'' ออกมาในปี ค.ศ. 1901 ทำให้ผู้อ่านตื่นเต้นยินดีมาก แต่ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะเหตุการณ์ในเรื่อง ''หมาผลาญตระกูล'' เป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้ ข้อกังขาว่าโฮมส์ตกเหวแล้วตายหรือไม่ จึงยังมิได้ไขกระจ่าง<ref>[http://www.siracd.com/work_h_death.shtml The Death of Sherlock Holmes]</ref>
 
ในที่สุด โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องสั้นชุด "คืนชีพ" (The Return of Sherlock Holmes) ในปี ค.ศ. 1903 เป็นการตอบคำถามว่า เชอร์ล็อก โฮมส์ ยังไม่ตาย หลังจากนั้น เขาก็แต่งเรื่องยาวและเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง<ref>[http://www.channel4.com/science/microsites/S/science/life/biog_doyle.html Life Stories: Sir Arthur Conan Doyle]</ref>
บรรทัด 306:
อนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮมส์ ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสถานี[[รถไฟใต้ดิน]]ถนนเบเกอร์ นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮมส์ และวอตสัน ที่สถานทูตอังกฤษในกรุง[[มอสโก]] เป็นผลจากความโด่งดังของโฮมส์ที่นำไปจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์ใน[[ประเทศรัสเซีย]]<ref name="Holmes in Russia">[http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/6607249.stm Moscow honours legendary Holmes] จาก bbc.co.uk</ref>
 
ที่ไมริงเงิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮมส์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮมส์ด้วย เมืองนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ โดยแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง คือ [[น้ำตกไรเชินบัค]] ซึ่งเป็นสถานที่ที่โฮมส์ต่อสู้กับมอริอาร์ตี้ตีจนพลัดตกเหวไป<ref>[http://www.bluebookski.com/bluebook9/Switzerland_Meiringen.htm Spotlight On Meiringen]</ref>
 
=== อิทธิพลต่องานอื่น ===