ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
[[พ.ศ. 2225]] ฟอลคอนแต่งงานกับดอญา มารี กีมาร์ ([[ท้าวทองกีบม้า]]) ซึ่งภายหลัง เป็นผู้ประดิษฐ์ขนมไทยหลายอย่าง
ความใกล้ชิดระหว่างเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครอง[[กรุงศรีอยุธยา]]เสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]]ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]ใน[[ลพบุรี]] และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ไว้ใจมอบอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินให้พระเพทราชาใน [[พ.ศ. 2231]]
 
== บั้นปลายชีวิต ==
พระเพทราชา เมื่อกุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ในวัยเพียง 40 ปี เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์ทรงกริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใดๆใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา [[สมเด็จบรรดาขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา]]เสด็จ ขึ้นครองราชย์โดยการ[[ปราบดาภิเษก]] ทรงพระนามว่า '''สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม''' หรือ '''สมเด็จพระเพทราชา''' และปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักร[[กรุงศรีอยุธยา]] การตีความกันไปต่าง ๆ นานาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้สมเด็จพระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารชีวิตเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นผลให้จุดยืนของกรีกในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้ นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเพทราชาพระองค์มองเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้สมเด็จพระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจจากองค์รัชทายาทได้โดยนำเอาความริษยาและความระแวงที่มีต่อฟอลคอนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มาเป็นมูลเหตุสนับสนุน
 
== อ้างอิง ==