ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิจิตร เกตุแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37:
หลังทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน นายวิจิตรได้เข้ารับตำแหน่ง อุปนายก เลขาธิการ และนายกสมาคมฯ ตามลำดับ โดยในช่วงแรกที่รับตำแหน่งนายกสมาคมฯ นายวิจิตรยังได้ร่วมกับ ''บิ๊กหอย-[[ธวัชชัย สัจจกุล]]'' ผลักดัน[[ดรีมทีม|ทีมชาติไทยชุดดรีมทีม]] ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในยุคนั้น <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4747 สมาคมฟุตบอล ถึงทางสามแพร่ง สำหรับวิจิตร เกตุแก้ว] โดย สันทิฎฐ์ สมานฉันท์ จากนิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539</ref> และในปี [[พ.ศ. 2545]] นายวิจิตร ได้ร่วมกับ ''บังยี-[[วรวีร์ มะกูดี]]'' เสนองบประมาณแก่สมาคมฯ และ[[ฟีฟ่า]]บริจาคที่ดินร่วมด้วย เป็นจำนวน 20 ไร่ เพื่อสร้าง[[ศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ]] ซึ่งเป็นที่เก็บตัวนักฟุตบอลทีมชาติไทย 12 ชุด อย่างเป็นทางการ ขึ้นเป็น[[ที่สุดในประเทศไทย|แห่งแรกในประเทศไทย]]<ref>[http://www.fat.or.th/inter_training.asp ศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ]</ref>
 
ทั้งนี้ ในวาระการดำรงตำแหน่งของนายวิจิตร [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|ทีมชาติไทย]]ได้รับการจัด[[อันดับโลกฟีฟ่า]] มีอันดับสูงสุดในประวัติฟุตบอลไทย โดยสูงสุดที่อันดับ 43 ของโลก (ก.ย. 2541)<ref>[http://www.fifa.com/associations/association=tha/ranking/gender=m/index.html]
เมื่อวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2546]] มีกลุ่มผู้สนับสนุนฟุตบอลทีมชาติไทย จำนวน 15 คน นำโดย นาย[[พินิจ งามพริ้ง]] ประธานชมรม[[เชียร์ไทยดอตคอม]] แสดงป้ายผ้า สวมเสื้อที่สกรีนข้อความขับไล่ รวมถึงการตะโกนประท้วงบน[[อัฒจันทร์]] [[สนามราชมังคลากีฬาสถาน]] ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอล[[เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก]] นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง[[สโมสรฟุตบอลบีอีซีเทโรศาสน]]ของไทย กับสโมสรจาก[[สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์]] เพื่อขับไล่นายวิจิตร แต่เหตุการณ์ก็จบลงด้วยดี โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ให้สัมภาษณ์ขอโทษนายวิจิตรผ่าน[[หนังสือพิมพ์]] พร้อมให้เหตุผลในการประท้วงว่า "คุณวิจิตร เป็นผู้ใหญ่แล้ว การกระทำเพื่อการขับไล่นายวิจิตรนั้น ทำให้คุณวิจิตรเสียชื่อเสียง" และยังให้สัญญาว่าจะไม่ยอมให้มีการประท้วงขับไล่นายกสมาคมฯ อีก ซึ่งนายวิจิตรก็มิได้ติดใจเอาความกับกลุ่มผู้ประท้วงแต่อย่างใด
<ref>[http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=2000000040985 พินิจ งามพริ้ง ชายผู้กล้าท้าทายสมาคมฟุตบอลฯ (ผู้จัดการ)]</ref>