ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิมองโกล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 141:
 
== การสู้รบระหว่างมองโกลกับอียิปต์ ==
'''ฮูลากู''' (หลานชายคนหนึ่งของ[[เจงกิสข่าน]]) ปกครองอาณาจักรมองโกลอิลข่านตอนช่วงนี้อยู่ระหว่างสมัยของมังกุข่าน นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นคนที่คุ้มดีคุ้มร้ายด้วย โดกุซ คอดูน ภรรยาของเขาซึ่งเป็นคริสเตียนในเผ่าเคเรสต์จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลในราชสำนัก ในปี ค.ศ. 1258 ฮูลากูได้ยกทัพมาทำลายนครบัฆดาดจนราพณาสูร และประชาชนชาวบัฆดาดทุกคนยกเว้นคริสเตียนถูกฆ่าตายหมด หลังจากนั้น ฮูลากูก็ถอนทัพกลับไปยังเมืองหลวงใกล้ทะเลสาบอูรมีอะฮฺในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิรอน โดยมอบความไว้วางใจในการปฏิบัตการทางทหารในขั้นต่อไปให้กับขุนทัพเจนศึกของเขาชื่อ คิตบูกา เป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้นดินแดนและเมืองต่าง ๆ ของมุสลิมถูกพวกมองโกลตีรุกครั้งแล้วครั้งเล่าและสถานการณ์ของประเทศ[[มุสลิม]]ใน[[เอเชียตะวันตก]]ก็มีทีท่าว่าจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะปรากฏว่าพวกมองโกลและพวกคริสเตียนได้รวมกำลังกันเข้ารุมตีมุสลิม ดังจะเห็นได้จากเมื่อตอนที่พวกมองโกลยกทัพมาทำลายเมืองบัฆดาดนั้น กษัตริย์[[คริสเตียน]]แห่ง[[จอร์เจีย]] และ[[อาร์เมเนียอาร์มีเนีย]]ก็มีส่วนร่วมด้วย และในตอนที่กองทัพของพวกเหล่านี้ยกเข้ามาใน[[ซีเรีย]]นั้น พวกมองโกลก็ได้เสนอให้พวกครูเสดเป็นพันธมิตรกับตนในการต่อสู้กับมุสลิม
 
อาศัยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของตนเอง พวกมองโกลมีปรัชญาการเมืองอย่างง่าย ๆ ว่า เพื่อนของตนจะต้องเป็นบริวารของตน และคนที่ไม่ยอมเป็นบริวารนั้นคือศัตรู กษัตริย์แห่งจอร์เจียและอาร์มีเนียได้ยอมรับอธิปไตยของพวกมองโกล แต่พวกขุนนางคริสเตียนไม่ยอมรับสภาพเช่นนั้นด้วย พวกขุนนางเหล่านี้ได้สังเกตว่าพวกมองโกลนั้นคิดแต่จะพิชิตซึ่งท่าเดียว และพวกนี้ก็เคยทำทารุณกับคนคริสเตียนในทางยุโรปตะวันออกเหมือนกับที่เคยทำกับคนมุสลิมมาแล้ว นอกจากนั้น พวกขุนนางคริสเตียนยังได้สังเกตเห็นว่า พวกเจ้าชายและเจ้าหญิงมองโกลซึ่งเป็นคริสเตียนนั้นเป็นพวกนิกายเนสโทเรียนและมีทีท่าว่าจะสนับสนุนพวกกรีกออร์โธดอกซ์ในการต่อต้านพวกโรมันคาทอลิก เมื่อรู้ดังนี้ พวกครูเสดจึงถอนตัวออกจากความเป็นพันธมิตรกับพวกมองโกล กองทหารของคิตบูกาและกองทหารคริสเตียนแห่ง[[จอร์เจีย]] [[อาร์เมเนียอาร์มีเนีย]] และ[[อันติออค]] ได้รุกเข้าไปใน[[ซีเรีย]]และฟิลิสตีน ([[ปาเลสไตน์]]) โดยมีพวก[[คริสเตียน]]ในท้องถิ่นให้การสนับสนุน นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ที่มุสลิมในอาณาเขตนี้พบว่าตัวเองกลายเป็นคนกลุ่มน้อยที่กำลังถูกกดขี่ปราบปราม ดังนั้น พวกนี้จึงคิดที่จะต่อต้านแก้แค้นพวกมองโกลขึ้นมาบ้าง
 
ถึงแม้ความหวังจะน้อยก็ตาม แต่พวกมุสลิมเองก็ยังมีความคิดที่จะต่อต้านมองโกลอยู่ ในทางตะวันตกขณะนั้น ปรากฏว่าอียิปต์ซึ่งมีสภาพคล้ายกับรัฐทหารภายใต้การนำของ ซัยฟุคดีน กุตูซ ได้กลายเป็นแหล่งลี้ภัยของพวกมุสลิมที่หลบลี้หนีภัยมาจากที่ต่าง ๆ ทั้งนี้รวมทั้งบรรดาหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ และบรรดาทหารทั้งหลายด้วย