ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกาะนาแวสซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
แม้ว่าทางการเฮติจะได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้มาก่อนแล้ว แต่เกาะนาแวสซาก็ถูกสหรัฐอเมริกาอ้างสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1857 โดยปีเตอร์ ดังกัน (Peter Duncan) กัปตันเดินเรือชาวอเมริกัน และกลายเป็นเกาะแห่งที่สามที่ถูกสหรัฐอเมริกาอเมริกาเข้าครอบครองภายใต้[[รัฐบัญญัติกลุ่มเกาะปุ๋ยขี้นก]] (Guano Islands Act) ที่ถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1856 โดยสาเหตุที่อเมริกาเข้าครอบครองเกาะแห่งนี้ก็เป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของปุ๋ยขี้นกนั่นเอง หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ขุดปุ๋ยขี้นกไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865 ถึง ค.ศ. 1898 แม้ว่าเฮติจะคัดค้านการผนวกดินแดนของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ แต่สหรัฐอเมริกาก็ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของเฮติมาตลอด และในปี ค.ศ. 1857 ก็ครอบครองเกาะแห่งนี้ในฐานะดินแดนที่ถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ถูกรวมเข้ากับรัฐใดรัฐหนึ่ง และไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นคอยปกครอง (unincorporated unorganized territory)
 
ในช่วงกลางศตวรรษคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า 19 ปุ๋ยขี้นกฟอสเฟตเป็นเป็นปุ๋ยที่การเกษตรของอเมริกาใช้เป็นหลัก ดังกันได้โอนย้ายกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ค้นพบไปยังนายจ้าง ซึ่งเป็นพ่อค้าปุ๋ยขี้นกชาวอเมริกันในจาเมกา ซึ่งได้ขายต่อให้กับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งนามว่า บริษัทฟอสเฟตนาแวสซา (Navassa Phospate Company) ใน[[บอลทิมอร์]] ภายหลัง[[สงครามกลางเมืองอเมริกา]] บริษัทได้สร้างเหมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยค่ายสำหรับจุคนงานผิวดำจาก[[รัฐแมริแลนด์]]จำนวน 140 คน บ้านสำหรับหัวหน้างานผิวขาว ร้านช่างเหล็ก คลัง และโบสถ์ 1 หลัง การทำเหมืองเริ่มขึนในปี ค.ศ. 1865 โดยคนงานจะขุดปุ๋ยขี้นกโดยใช้ระเบิดและพลั่วเจาะ (pickaxe) จากนั้นจะลำเลียงโดยรถรางไปยังอ่าวลูลู (Lulu) เพื่อลำเลียงปุ๋ยขี้นกลงเรือของบริษัทนามว่า เอสเอส โรแมนซ์ (SS Romance) ต่อไป โดยบริเวณที่พักอาศัยในอ่าวลูลูถูกเรียกว่า ลูลูทาวน์ ซึงเป็นเมืองที่เคยปรากฏอยู่ในแผนที่ในสมัยนั้น ต่อมาได้มีการขยายรางให้เข้าไปในเกาะมากยิ่งขึ้น
 
เนื่องจากการขนส่งปุ๋ยขี้นกเป็นงานที่ใช้แรงคนเพียงอย่างเดียว และยังเป็นการทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ร้อนจัด ประกอบกับสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไปของเกาะก็ไม่อำนวยต่อการอยู่อาศัย ทำให้ในที่สุดคนงานได้ก่อการจลาจลบนเกาะในปี ค.ศ. 1889 ส่งผลให้มีหัวหน้างานเสียชีวิตไป 5 คน ภายหลังการจลาจลเรือรบของสหรัฐอเมริกาได้ขนส่งคนงาน 18 คนกลับไปยังบอลทิมอร์เพื่อขึ้นศาลในข้อหาฆาตกรรมใน 3 คดี โดยสมาคมลับชาวผิวดำนามว่า The Order of Galilean Fisherman ได้ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือคนงานในการต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยแก้ต่างว่าคนงานได้กระทำลงไปเพื่อเป็นการป้องกันตนเองหรือเกิดจากการบันดาลโทสะ และยังได้โต้แย้งว่าสหรัฐอเมริกาไม่มีอำนาจตุลาการที่เหมาะสมในการตัดสินคดีความใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนเกาะ ท้ายที่สุดแล้วคดีก็ได้ไปถึงชั้นศาลสูงสุดในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1890 ซึ่งศาลมีคำตัดสินว่ารัฐบัญญัติกลุ่มเกาะปุ๋ยขี้นกนั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และให้ประหารชีวิตคนงานเหมือง 3 คนในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1891 ภายหลังการตัดสินของศาล ได้มีการยื่นฎีกาโดยโบสถ์ชาวผิวดำทั่วประเทศและลูกขุนผิวขาวสามคนจากทั้งสามคดี ไปยังประธานาธิบดี[[เบนจามิน แฮร์ริสัน]] ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินให้เหลือเพียงการจำคุกในที่สุด
บรรทัด 19:
หลังจากนั้นก็ได้มีการทำเหมืองปุ๋ยขี้นกบนเกาะนาแวสซาอีกครั้ง แต่ในขนาดที่เล็กลงมาก สงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1898 ส่งผลให้บริษัทต้องอพยพคนออกจากเกาะและเข้าสู่ภาวะล้มละลายในที่สุด เจ้าของใหม่ของเกาะตัดสินใจที่จะคืนเกาะให้กลับคืนสู่ธรรมชาติในปี ค.ศ. 1901
 
เกาะนาแวสซากลับมามีความสำคัญอีกครั้งภายหลังการเปิดคลองปานามาในปี ค.ศ. 1904 ซึ่งส่งผลให้การเดินเรือระหว่างชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกากับคลองปานามาต้องผ่านช่องแคบเวสต์เวิร์ด (Westward Passage) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคิวบากับเฮติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีประภาคารบนเกาะนาแวสซาซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการเดินเรือผ่านช่องแคบแห่งนี้ ในที่สุดสำนักงานประภาคารของแห่งสหรัฐอเมริกา (US Lighthouse Service) ก็ได้สร้างประภาคารนาแวสซาไอแลนด์ไลต์ สูง 162 ฟุต (46 เมตร) ขึ้นบนเกาะในปี ค.ศ. 1917 ที่ระดับความสูง 395 ฟุตหรือ 120 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยมีผู้ดูแลและผู้ช่วยสองคนคอยทำหน้าที่ดูแลรักษาอยู่บนเกาะ จนกระทั่งได้มีการติตตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติให้กับประภาคารในปี ค.ศ. 1929 จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลประภาคารคอยประจำอยู่บนเกาะ และภายหลังจากที่สำนักงานประภาคารถูกยุบรวมเข้ากับหน่วยป้องกันชายฝั่งของแห่งสหรัฐอเมริกา (US Coast Guard) หน่วยป้องกันชายฝั่งจึงกลายเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลซ่อมแซมประภาคารแห่งนี้ โดยมีการตรวจสภาพปีละสองครั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งหน่วยสังเกตการณ์บนเกาะ และหลังจากสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือได้ถอนกำลังออกไป และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่มีผู้อาศัยอยู่บนเกาะ ในปี ค.ศ. 1930 ได้มีการสำรวจทางวิทยาศาสตร์โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อศึกษาชีวิตบนเกาะและในทะเลโดยรอบ
 
ในช่วงปี ค.ศ. 1903 ถึง 1917 เกาะแห่งนี้เป็นดินแดนที่ขึ้นอยู่กับฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาในอ่าวกวนตานาโม และในช่วง ค.ศ. 1917 ถึง ค.ศ. 1996 เกาะได้ถูกโอนมาให้หน่วยป้องกันชายฝั่งเป็นผู้ดูแล ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 1996 เกาะได้รับการดูแลโดยกระทรวงกิจการภายในของสหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1996 หน่วยป้องกันชายฝั่งได้รื้อประภาคารออกเพื่อโอนการดูแลไปยังกระทรวงกิจการภายใน